Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3348
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPradthana KIMPORNen
dc.contributorปรารถนา กิมพรth
dc.contributor.advisorRAPEEPUN CHALONGSUKen
dc.contributor.advisorระพีพรรณ ฉลองสุขth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Pharmacyen
dc.date.accessioned2021-07-20T07:48:15Z-
dc.date.available2021-07-20T07:48:15Z-
dc.date.issued18/6/2021
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3348-
dc.descriptionMaster of Pharmacy (M.Pharm)en
dc.descriptionเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)th
dc.description.abstractThe purposes of this research were to develop the drugs distribution system for inpatients-department at Ratchaburi Hospital. The action research was conducted in inpatient dispensing room and inpatient ward at Ratchaburi Hospital from From 1 September 2019 to 31 December 2020. There were two study phases Including 1) Invastigation and development of inpatient-drug distribution system by brainstorming meeting. 2)Implementation and evaluation the actions. The sample group was the doctor order sheets for inpatients-department only of 400 card, which doctors ordered to make a return drug including order stop taking medication, order discharge and order to change dosing. Both before the system improvement from 1 September 2019 to 30 September 2019 and after the system improvement from 31 October 2020 to  31 December 2020. The data were analyzed using Chi-square statistics to compare the results of the before and after using the inpatient-drug distribution systems. From a brainstorming meeting including pharmacists and nurses, it was found that the return drug was a problem in the drug distribution system. Based on the results of the brainstorming meeting, five improvements have been established to reduce drug return problems and develop the drug distribution system Including 1) Adjusting cycle of drug administration of nurses on ward. 2) Adjusting the injection dosing schedule from the inpatient-dispensing room.  3) Adjusting tablet dispensing schedules from the inpatient-dispensing room. Establishing a drug return guideline for practitioners in drug return system. 5) Preparation of drug notification record.  After the improvements were applied in the development of inpatient-drug distribution systems, the researcher analyzed the comparative data before and after the development of the inpatient-drug distribution system. There was a statistically significant difference (p<0.01). After the development of the drug distribution system of inpatient, the accuracy of the drug return process was increased when compared to before the development systems. In conclusion, the development of inpatient-drug distribution systems increased the accuracy of the drug return process; however, continuous assessment and further study may be needed to maximize the patient safety.en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลราชบุรี โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการปฏิบัติการ (action research) ในงานบริการห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน และแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีขั้นตอนการวิจัย 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษากระบวนการกระจายยาและพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลราชบุรี โดยใช้การประชุมระดมความคิดของตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับระบบการกระจายยา และกระบวนการคืนยาสำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่ เภสัชกรและพยาบาล ระยะที่ 2 การนำระบบการกระจายยาผู้ป่วยใน ที่ได้รับการพัฒนาแล้วมาทดลองใช้ และประเมินผล โดยเก็บข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างสำเนาใบสั่งแพทย์ (doctor order sheet) ของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยในโรงพยาบาลราชบุรี ที่แพทย์มีคำสั่งหยุดการใช้ยา ให้ผู้ป่วยกลับบ้าน และเปลี่ยนแปลงขนาดการใช้ยา จำนวน 400 ใบ ทั้งก่อนปรับปรุงระบบตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 และ หลังปรับปรุงระบบตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ chi-square เพื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาก่อน และหลังการใช้ระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน จากการประชุมระดมความคิดเห็นของตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับระบบการกระจายยา และกระบวนการคืนยา  สำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่ เภสัชกรและพยาบาล พบว่า ยาคืนเป็นปัญหาสำคัญในระบบการกระจายยา จากผลการประชุมระดมความคิดเห็น  สามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดปัญหาการคืนยา และพัฒนาระบบการกระจายยา ได้ออกมา 5 แนวทาง ดังนี้ 1. การปรับวงรอบการบริหารยาของพยาบาลบนหอผู้ป่วย  2.การปรับตารางการจ่ายยาฉีดจากห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน 3. การปรับตารางการจ่ายยาเม็ด จากห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน 4. การจัดทำแนวทางการคืนยาให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการคืนยา และ 5. การจัดทำใบบันทึกแจ้งการให้ยา ภายหลังจากนำแนวทางข้างต้นมาใช้ในการพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยในแล้ว ทางผู้วิจัยจึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อน และหลังการพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยหลังการพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน  มีความถูกต้องของกระบวนการคืนยา เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน  สรุปได้ว่าการพัฒนาระบบการจ่ายยาผู้ป่วยใน สามารเพิ่มความถูกต้องของกระบวนการคืนยาได้ แต่ต้องติดตามรายงานผลอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลเป็นระยะเพื่อให้เกิดความปลอดภัยด้านยาสูงสุดth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectกระบวนการกระจายยาผู้ป่วยในth
dc.subjectการคืนยาth
dc.subjectการพัฒนาระบบth
dc.subjectวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการth
dc.subjectIn-patient drugs distribution systemen
dc.subjectReturn drugen
dc.subjectSystem developmenten
dc.subjectAction researchen
dc.subject.classificationMedicineen
dc.titleDevelopment of In-patient drugs distribution system at Ratchaburi Hospitalen
dc.titleการพัฒนาระบบการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลราชบุรีth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58352311.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.