Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3359
Title: OUTCOMES OF INTRAVENOUS FIBRINOLYTIC AGENT IN ACUTE ISCHEMIC STROKE PATIENTS AT NAN HOSPITAL
ผลลัพธ์ของการใช้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันณ โรงพยาบาลน่าน
Authors: Nalinorn KUARIYAKUL
นลินอร คูอาริยะกุล
PORNWALAI BOONMUANG
พรวลัย บุญเมือง
Silpakorn University. Pharmacy
Keywords: โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
ยาละลายลิ่มเลือด
ผลลัพธ์ที่ดีทางคลินิก
ภาวะเลือดออกในสมองที่แสดงอาการ
ACUTE ISCHEMIC STROKE
THROMBOLYTIC AGENT
GOOD OUTCOME
SYMTOMATIC INTRACEREBRAL HEMORRHAGE
Issue Date:  18
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Introduction: Ischemic stroke has increasing trends in Thailand and around the globe. Alteplase is approved thrombolytic agent for the treatment of acute ischemic stroke in Stroke Fast Track Strategy.This study aimed to determine the clinical outcomes of alteplase in acute ischemic stroke patients at Nan hostpital. Method and Results: This retrospective study collected data from acute ischemic stroke patients admitted at Nan hospital between January 2012 and December 2019. A total of 246 patients were included. 142 patients were in alteplase group and 104 patients were treated without alteplase. At twenty-four hours, 48.94 percentage in alteplase group had a favorable outcome (NIHSS score declined greater than or equal to 4 points) compared with 26.51 percentage in without alteplase group [OR 2.66 (95%CI 1.48-4.97), p-value = 0.001]. At 1, 3 and 6 months of followed up, good clinical outcome (Barthel index greater than or equal to 95 points) did not differ significantly between the alteplase and without alteplase groups [OR 1.58 (95%CI 0.83-3.00), p-value=0.163, OR 1.21 (95%CI 0.71-3.38), p-value=0.623 and OR 2.00 (95%CI 0.88-4.55), p-value=0.096), respectively]. At discharge, the Modified Rankin Scale 0-1 was higher with alteplase than without alteplase groups (OR 3.56 (95%CI 1.85-6.84, p-value =0.000). Intracerebral hemorrhage occurred in 19.01% of patients receiving alteplase.  Factors associated with good clinical outcomes were male sex, NIHSS more than 15 and Brain CT scan finding of ischemic change before treatment. Conclusion:Alteplase reduced severity and disability of patients with acute ischemic stroke within hospital admission. However, intracerebral hemorrhage should be closely monitored.
อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดพบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยและจังหวัดน่านซึ่งพบอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โรงพยาบาลน่านจึงมีการพัฒนาแนวทางเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน (stroke fast track) ซึ่งรวมถึงการให้การรักษาด้วยยา alteplase การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากการรักษาด้วยยา alteplase ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลน่าน เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิผลของการรักษา, อาการไม่พึงประสงค์, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางการรักษา, อุบัติการณ์การเกิดผลลัพธ์การรักษา, อัตราการรอดชีวิต, อัตราอันตราย (Hazard ratio) และวันนอนเฉลี่ยต่อรายของผู้ป่วยใน (length of stay; LOS) ของการรักษาด้วยยา alteplase ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก เวชระเบียนผู้ป่วยใน และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาได้แก่ 1) ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 2)ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน 3)เข้ารับการรักษาตัวแบบผู้ป่วยในด้วยสาเหตุเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลน่าน ผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามแต่การรักษาที่ได้รับ ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับยา alteplase และกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานโดยไม่ได้รับยา alteplase การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยโปรแกรม SPSS version 27 ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์การวิจัยทั้งหมด 246 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยา alteplase จำนวน 142 ราย (ร้อยละ 57.72) และผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา alteplase แต่ได้รับการรักษามาตรฐาน จำนวน 104 ราย (ร้อยละ 42.28) กลุ่มที่ได้รับยา alteplase มีคะแนน NIHSS ที่ลดลงมากกว่า 4 คะแนน ใน 24 ชั่วโมงแรก มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา (ร้อยละ 48.94 และร้อยละ 26.51 ตามลำดับ, OR 2.66 (95%CI 1.48-4.97, p-value =0.001)) เมื่อติดตามที่ 1, 3 และ 6 เดือน พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา alteplase มีค่า Barthel index มากกว่าหรือเท่ากับ 95 คะแนนไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับยา [(OR 1.58 [(95%CI 0.88-3.00, p-value =0.163), OR 1.21 (95%CI 0.57-2.57, p-value =0.623), OR 2.00 (95%CI 0.88-4.55, p-value =0.096) ตามลำดับ] แต่ผู้ป่วยที่ได้รับยา alteplase มี Modified Rankin Scale 0-1 ขณะจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [OR 3.56 (95%CI 1.85-6.84), p-value =0.000] ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา alteplase เกิดเลือดออกในสมองร้อยละ 19.01 ปัจจัยที่พบว่าสัมพันธ์ต่อการเกิดผลลัพธ์ที่ดี ได้แก่ เพศชาย, ระดับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองประเมินโดยคะแนนประเมิน NIHSS ก่อนการรักษาที่สูงกว่า 15 คะแนนและการมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมองซึ่งเกิดจากสมองขาดเลือดเฉียบพลันก่อนการรักษาโดยประเมินจากการทำ Computer tomography (CT) scan ปัจจัยที่พบว่าสัมพันธ์ต่อการเกิดเลือดออกในสมองที่แสดงอาการรุนแรง ได้แก่ การมีอายุมากกว่า 80 ปี และการมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อสมองซึ่งเกิดจากสมองขาดเลือดเฉียบพลันก่อนการรักษาโดยประเมินจากการทำ CT scan ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่าการได้รับยา alteplase ช่วยลดความรุนแรงในระยะเฉียบพลันได้ แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกในสมอง
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3359
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61351201.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.