Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3372
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNapapath PITCHAYAKAMINen
dc.contributorณปภัช พิชญคามินทร์th
dc.contributor.advisorNalin Petchinen
dc.contributor.advisorนลิน เพ็ชรอินทร์th
dc.contributor.otherSilpakorn University. Musicen
dc.date.accessioned2021-07-20T08:28:56Z-
dc.date.available2021-07-20T08:28:56Z-
dc.date.issued2/7/2021
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3372-
dc.descriptionMaster of Music (M.Mus)en
dc.descriptionดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)th
dc.description.abstractThe objectives of this research are as follows: 1. To study the problems and obstacles encountered by operating a music theater business in the present. 2. To study and Analyze the needs of customers in selecting musical theater. 3. To create strategies to develop the music theater business consistent with the current situation with the Covid-19 epidemic. This study is mixed-method research divided into two parts; Qualitative and Quantitative Research. In the Qualitative Research, the study is applied in-depth interviews from three executives of the musical theater business in Thailand; 1. Ms. Eua Arthon Wongsiri 2. Ms. Sudapim Phopakti and 3. Mr. Chayanun Tepwaninkorn. In the Quantitative Research, the data was collected by 400 questionnaires from the musical theater audiences. The statistics used to analyze the data consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation. According to the study results, the researcher found that As the producers always focus on the plays' quality which affects the audience's feelings, they need to spend some amount. Moreover, the income from the ticket sales is not good enough to make profits and expand any projects as expected which is very common for medium to small cast musical plays. Another key problem is the audience. Most Thai people are not interested in watching the musical play, and it is obvious the Thai audiences are found only in the city. Also, some theaters or organizations are not funded enough, so the owners have to spend limited personal money on the investment. The last problem is the Covid-19 epidemic which obstructs the plays and cannot be performed in the theater. And then, the needs of customers in selecting musical was found in the most important of 4 factors such as 1. Voice and performance quality of the actors. 2. Interesting contents and various roles. 3. Ticket price is reasonable considered by performance quality. 4. The songs sang by the actors are smooth and suitable for the role. Those important issues led to this research and it was applied by the key strategy "DO-SAM" which consisted of 5 topics: 1. Distancing 2. Online Streaming 3. Sponsorship Marketing 4. Acceptation 5. Musical Synchronization The results of the research will be able to be used as strategies to revise and develop a musical theater to be more consistent with the current situation. In the future, the researcher expects further improvement until the musical theater business is successful in a way of income. We may be able to see new musical play forms taking place.  en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการประกอบธุรกิจละครเวทีรูปแบบมิวสิคัล 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าในการตัดสินใจรับชมละครเวทีรูปแบบมิวสิคัล 3.เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจละครเวทีรูปแบบมิวสิคัลในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีโรคระบาด Covid-19 ซี่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) แบ่งออกเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reasearch) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากหนึ่งในกลุ่มคนที่เป็นผู้บริหารธุรกิจละครเวทีแบบมิวสิคัลในประเทศไทย จำนวน 3 รายคือ 1. คุณ เอื้ออาทร วงศ์ศิริ 2. คุณ สุดาพิมพ์ โพธิภักติ 3. คุณ ชยานันต์ เทพวนินกร ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยทำการเก็บแบบสอบถามจำนวน 415 ฉบับ จากผู้รับชมการแสดงละครเวทีในรูปแบบมิวสิคัล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญจากการประกอบธุรกิจละครเวทีในรูปแบบมิวสิคัลในประเทศไทยคือ ต้นทุนในการผลิตและค่าโปรดักส์ชั่นนั้นสูงมาก แต่รายได้จากการขายบัตรนั้นยังไม่มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดกำไรเพื่อไปต่อยอดในด้านนี้ให้สมบูรณ์แบบอย่างที่ผู้ประกอบการคาดหวัง ปัญหาต่อมา เกิดจากการที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยนิยมการดูละครเวทีมากเหมือนในต่างประเทศ ซึ่งกลุ่มผู้จะถูกจำกัดอยู่แค่ในตัวเมือง  อีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญคือ บางบริษัทหรือบางองค์กรไม่ได้รับเงินสนับสนุนที่มากพอ ทำให้ต้องใช้งบประมาณส่วนตัวที่มีอย่างจำกัดในการสร้างละครเวที และปัญหาสุดท้ายคือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19  ทำให้โรงละครไม่สามารถเปิดทำการแสดงได้ ต่อมา เป็นผลการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าในการตัดสินใจรับชม พบว่า ปัจจัยที่ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญใน 4 อันดับแรกคือ 1.คุณภาพเสียงและการแสดงของนักแสดง 2. เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ มีบทบาทหลากหลายและน่าติดตาม 3. คุณภาพของการแสดงเหมาะสมกับราคาบัตรที่ซื้อ 4. บทเพลงที่ขับร้องโดยนักแสดงมีความไพเราะ และเหมาะสมกับบทบาท ทั้งหมดที่กล่าวมา คือประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดงานวิจัยเรื่องนี้และตามมาด้วยกลยุทธ์สำคัญ “DO-SAM”  ซึ่งมีทั้งหมด 5 หัวข้อประกอบไปด้วย 1. Distancing  2. Online Streaming (3. Sponsorship Marketing  4. Acceptation 5. Musical Synchronization  โดยผลการวิจัยในครั้งนี้จะสามารถนำไปเป็นกลยุทธ์เพื่อที่จะแก้ไขและพัฒนาละครเวทีในรูปแบบมิวสิคัลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถต่อยอดได้ จนประสบความสำเร็จและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราอาจได้เห็นละครเวทีรูปแบบมิวสิคัลใหม่ๆเกิดขึ้นในอนาคตth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจth
dc.subjectละครเวทีรูปแบบมิวสิคัลth
dc.subjectDEVELOPMENT AND SOLUTION BUSINESSen
dc.subjectMUSICAL THEATER BUSINESSen
dc.subject.classificationBusinessen
dc.titleDEVELOPMENT AND SOLOTION STRATEGIES OF MUSICAL THEATER BUSINESS IN THAILANDen
dc.titleกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาธุรกิจละครเวทีรูปแบบมิวสิคัลในประเทศไทยth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621020004.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.