Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/341
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | แววศรี, วาสนา | - |
dc.contributor.author | Waewsri, Wasana | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-26T03:08:16Z | - |
dc.date.available | 2017-08-26T03:08:16Z | - |
dc.date.issued | 2559-01-05 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/341 | - |
dc.description | 54403308 ; สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร -- วาสนา แววศรี | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเข้าสู่ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) และผลกระทบภายหลังจากการนำระบบ HACCP มาปฏิบัติ ของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารซึ่งประกอบด้วยโรงงานขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ รวมจำนวน 90 แห่ง จากการสำรวจพบว่า ปัญหาการเข้าสู่ระบบ HACCP ของโรงงาน มีระดับปัญหาที่แตกต่างกันตามขนาดโรงงาน โดยในขั้นตอนการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบนั้น ปัญหาที่สำคัญที่สุดของ โรงงานขนาดเล็ก และโรงงานขนาดกลาง คือ การขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์ และบุคลากรไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดทำระบบ HACCP สำหรับโรงงานขนาดใหญ่ มีปัญหาในด้านเวลา โดยเฉพาะเวลาในการจัดการด้านการเตรียมอาคาร สถานที่การผลิตต่างๆ ส่วนในขั้นตอนระหว่างการดำเนินการเข้าสู่ระบบ HACCP ปัญหาที่สำคัญที่สุดของโรงงานขนาดเล็ก คือ ปัญหาในด้านการจัดตั้งทีมงาน HACCP กล่าวคือบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบ HACCP ไม่เพียงพอ และพื้นฐานความรู้ วุฒิการศึกษา ที่ไม่เหมาะสม สำหรับโรงงานขนาดกลางและโรงงานขนาดใหญ่มีปัญหาในด้านการศึกษามาตรฐานระบบ HACCP กล่าวคือ สมาชิกทีมงาน HACCP ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบมาตรฐาน HACCP อย่างแท้จริง และความไม่ต่อเนื่องของการฝึกอบรบเกี่ยวกับระบบ HACCP จากการศึกษาผลกระทบจากการนำระบบ HACCP มาประยุกต์ใช้ภายหลังการจัดทำระบบ HACCP เป็นเวลา 1 ปี พบว่าด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางด้านจุลชีววิทยา เคมี กายภาพ ในปริมาณสินค้าที่มีการ reject/reprocess และด้านข้อร้องเรียนของลูกค้า มีการเปลี่ยนแปลงลดลงภายหลังการจัดทำระบบ HACCP เพราะผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย จึงทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์มากขึ้น This survey research aimed to investigate the problems of Hazard Analysis and Critical Control Points (HACCP) implementation and its impacts for 90 food companies in Thailand Results showed that problem level of HACCP implementation differed for different sizes of company. During the preparation stage. The most important problems for small plants and medium size plants were personnel and training, i.e., lack of experienced personnel and lack of personnel with knowledge of the HACCP system while the large factories had the most important problem in working time management, preparing the plant structure and production area. During the implementation stag. The most important problem for small plants establishing a HACCP team. Medium size and large factories had problems with understanding the HACCP. The impact of the HACCP system implemented for 1 year the food safety of the product by the number of physical , chemical , microbiological was subject to change | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม | en_US |
dc.subject | สำรวจ | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรมอาหาร | en_US |
dc.subject | HACCP | en_US |
dc.subject | SURVEY | en_US |
dc.subject | FOOD INDUSTRY | en_US |
dc.title | ปัญหาและผลกระทบการเข้าสู่ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร | en_US |
dc.title.alternative | PROBLEMS AND IMPACTS IN HACCP IMPLEMENTATION OF FOOD INDUSTRY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Industrial Technology |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.