Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3478
Title: | THE RESIDENT OF MIND ที่พำนักแห่งจิต |
Authors: | Nittaya HERNMEK นิตยา เหิรเมฆ PHATYOS BUDDHACHAROEN พัดยศ พุทธเจริญ Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | พื้นที่, จิต Place Mind |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This thesis “The resident of mind” is based on the concept of creating a balanced aesthetic harmony with regards to the “place” where the “mind” resides governed by conscience, and refers to the mutual relationship between body and mind. The physical body is an assumed outer shell housing sensitive and subtle energy that is subjected to change at all times. The mind is the master that commands the body while the body is merely its servant. Therefore the nature of the two are different and coexists mutually in the form of a “human being”. The human mind can be considered to have, among others, three important features: desire, compassion and wisdom, which form part of a person’s life. We rely on each other in times of both suffering and happiness aroused by the different feelings that seek satisfaction as a result of desire or greed, such as love, infatuation and craving that can lead to fear, suspicion and confusion. Consequently, the mind becomes unpredictable and fluctuates between resistance, acceptance and confrontation. Therefore, keeping the three features (desire, compassion and wisdom) in balance means having a positive mind with emphasis on wisdom to control and moderate compassion and desire.
Desire is a basic natural human impulse. But to what extent, how much or how little one desires, depends on the wisdom and strength of one’s mind. Emotional desires could involve feelings of wanting physical or material satisfaction, but not everything could be easily attained. Figuratively, this is like the mind being embraced by the illusion of warmth all around in every direction. If we look deep into the essence of it, we can see that the mind has been deceived into believing that it is infinite when in fact it is only a tiny fraction of the whole at the scale of the universe. In other words, it is like society being crowded with material growth and development full of hidden truths that are both good and bad, depending on the circumstances of the context that has no boundaries to restrict the mind. The body is therefore a sanctuary without walls, and this “residence of the mind” is an illusion that is represented in this work by forests which can be mysterious at times and safe at others. However if we consider it carefully, it is actually a deception created to satisfy one’s own desire. The image of a forest with water, trees and plants, is a metaphor for the body that embraces the mind to give it warmth and peace which not all people are able to experience. This is the place that I longed for with a desire to be surrounded by love and compassion. Love is a sentiment to be obtained for one’s self while compassion is a feeling to be given to others. Freedom is also another desire of all human beings. In this context, to be free is to liberate the mind so that it may be at peace. In creating and producing such image, I have chosen to use woodcut and relief printing technique to convey about the infinite mind in connection with the laws of nature. Once we understand about nature, we can overcome our desires and feelings as “wisdom begets virtue” and will allow us to rationalize. It is intended that this notion is to be shared through compassion and encouragement for those who are in distress and despair so that they may overcome all obstacles and have the strength to continue in life awakened by the peacefulness and tranquility that resides within the mind.
วิทยานิพนธ์หัวข้อ “ที่พำนักแห่งจิต” เป็นการสร้างเอกภาพทางสุนทรียภาพแห่งพื้นที่อันมีนัยเป็นวิหารจิตคือที่อยู่ที่พำนักของจิตที่อยู่ในกำกับ “สติ” ซึ่งสื่อสาระนามธรรมถึงความสัมพันธ์ในแบบที่เกื้อหนุนหรือค้ำจุนกันและกันระหว่าง “กาย” กับ “จิต” ที่หลอมรวมผสานเข้าด้วยกันก่อรูปเกิดเป็น “มนุษย์” หรือ “ร่างกาย” ซึ่งร่างกายหรือ“รูปกาย” คือ “ร่างสมมติ” เป็นเปลือกนอกที่ห่อหุ้มพลังงานที่อ่อนโยนอ่อนไหวและโยกโคลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา “จิต” เป็น “นาย” คือผู้ที่ใช้ร่างกายให้เป็นไปตามเจตจำนง “ร่างกาย” เป็นเพียง “บ่าว” ดังนั้นจิตจึงมีธรรมชาติที่แตกต่างจากกาย จิตของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ภาคที่กอปรด้วย คือ “จิต” ภาคตัณหา ภาคน้ำใจ และภาคปัญญา โดยนัยเหล่านี้นั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่จะขาดเสียมิได้ ทว่าจิตพึ่งพาอาศัยและมีสัมพันธ์ต่อกันทั้งยามทุกข์ (suffering) และยามสุข (happiness) ตามสิ่งกระทบเร้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ที่มุ่งแสวงหาแต่ความพึงพอใจให้กับร่างกายอันเป็นอารมณ์แห่งความอยากหรือความโลภซึ่งเป็นความปรารถนาในความรัก ความหลง ความโหยหา ทว่าระคนไปด้วยความสับสน ความหวาดกลัวหวาดระแวง ที่ปรุงแต่งทำให้ “จิต” แปรผกผันหรือกลายเป็นชีวิตที่ผสมผสานไว้ด้วยรูปแบบที่หลากหลายเข้าด้วยกันรวมถึงการตั้งรับ การยอมรับและกล้าเผชิญหน้าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย เพราะมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยจิตทั้งสามภาคดังกล่าว แต่ความพอดีอย่างเป็นดุลยภาพของจิตทั้งสามภาคย่อมก็คือ ลักษณะของจิตที่ดีและทั้งนี้ควรขึ้นอยู่กับจิตภาคปัญญาเป็นสำคัญที่จะคอยควบคุมจิตภาคอื่น ๆ ให้เป็นความสมดุล อนึ่ง ความอยากความต้องการล้วนเป็นพื้นฐานแห่งธรรมชาติภายใต้จิตสำนึกทั้งสิ้น ทว่าจะมีมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปแต่ละคน ขึ้นอยู่ที่ความเข้มแข็งของจิต (ภาคปัญญา) จิตภาคตัณหาจึงมีนัยเป็นความคิดของอารมณ์ความอยากในความต้องการความสุขทางร่างกายแต่ก็หาใช่ทุกสิ่งที่โหยหาแล้วจะได้มาโดยง่าย และโดยนัยนี้จึงอุปมาเปรียบพื้นที่ที่จิตแฝงร่วมอยู่เป็นเหมือนสภาพที่ถูกโอบล้อมไว้ด้วยความอบอุ่น หากแต่ภาพที่เห็นนั้นเป็นเพียงบริบทแห่งความลวงที่มีทั้งซ้ายและขวา ทั้งบนและล่าง ดังรูปสมมาตร (symmetry) หากสำรวจพิจารณาด้วยจิตให้กว้างและลึกเข้าไปถึงแก่นแท้โครงสร้างภายในย่อมจะเห็นว่าสภาพของจิตนั้นถูกรูปลวงห้อมล้อมนำพาจิตให้เตลิดไปสู่สภาวะอนันต์ (infinity) ซึ่งเป็นเพียงหน่วยย่อยหรือเศษเสี้ยว (fragment) ของพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีขนาดเป็นเอกภพเปรียบได้ดังบริบทของสังคมที่ซ้อนทับด้วยความเจริญทางวัตถุและมีความจริงที่เร้นแฝงกายซุกซ่อนอยู่ เป็นได้ทั้งดีและร้ายขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยภายนอกที่เป็นเพียงรูปกายห่อหุ้มอยู่รอบด้าน ไร้ซึ่งกำแพงขวางกั้นทางแห่ง “จิต” ในอีกนัยหนึ่งแล้ว “กาย” ก็เปรียบเสมือนเป็นดั่ง “วิหาร” พื้นที่ที่ถูกห้อมล้อมด้วยเสาทั้งสี่ทว่าไร้สิ่งปิดกั้นรอบด้านและนัยดังกล่าว “ที่พำนักแห่งจิต” นี้จึงเป็นเพียงภาพแทนแห่งมายา “ความลวง” ที่ถูกปรุงแต่งสร้างขึ้นให้มีกายภาพที่ละม้ายคล้ายคลึงกับความเป็นธรรมชาติของผืนป่า บ้างลี้ลับ บ้างให้รู้สึกถึงความปลอดภัยเมื่อได้เห็นหรือได้อยู่ภายในอาณาบริเวณสถานที่นั้น ทว่าหากสำรวจเพ่งพินิจด้วยสติปัญญาหรือทบทวนในสิ่งเสมือนจริงจะพบว่า “ความจริง” มันคือสิ่งลวงที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเพื่อความต้องการของตนเองทั้งสิ้น ภาพสมมติแห่งผืนป่า พื้นน้ำและสภาพแวดล้อมที่อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ต่าง ๆ โดยนัยนี้เป็นกลวิธีแห่งทัศนศิลป์หรือกุศโลบายของการสร้างกายภาพเชิงสภาวะหรือวิถีแห่งจิตที่เจตนาสื่อสาระการรับรู้ถึงสิ่งที่ห่อหุ้มจิตไว้นั่นคือ “กาย” ได้สุขสงบหรือสภาพที่ได้รับการบ่มเพาะซึ่งเป็นกลวิธีของการสร้างสรรค์ผลงานที่อาศัยใช้กายภาพของพื้นที่ป่าที่รกชัฏไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ อันเป็นสิ่งแวดล้อมที่น้อยคนจะได้สัมผัสโดยตรง เป็นเรื่องราวเนื้อหาแห่งจินตภาพถึงสถานที่ที่ข้าพเจ้าเองเฝ้าถวิลหา สถานที่อันกอปรไว้ด้วยจิตเจตนาบริสุทธ์ระหว่างความรักและความเมตตาซึ่งนัยทั้งสองนี้มิใช่สิ่งเดียวกัน เพราะความรักมีจุดมุ่งหมายมาเพื่อตัวเรา แต่ความเมตตานั้นเพื่อผู้อื่น ดังนั้นอิสรภาพจึงเป็นความปรารถนาของมนุษย์ และ “อิสรภาพ” โดยนัยนี้ย่อมคือความสุขสงบแห่งจิตนั่นเอง และด้วยเจตนาของการสร้างสรรค์ที่ให้รู้สึกถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับความเชื่อความศรัทธาในประเด็นเรื่อง “ธรรมะ ธรรมชาติ” หรือสร้างเอกภาพทางสุนทรียภาพแห่งดุลยภาพพื้นที่จิตอันกอปรด้วย “สัจจะ สุนทรียะ และธรรมะ” โดยจินตนาการสร้างรูปแทนเชิงสมมติให้เป็นเสมือนหรือมีความละม้ายที่สอดคล้องกับการเป็นสิ่งที่สมมาตรกันห้อมล้อมไว้ด้วยสภาพแวดล้อมแห่งผืนป่าทั้งซ้ายและขวา บนและล่าง อันสะท้อนกันและกันจนเสมือนประหนึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่โดยหลอมรวมกายและจิตให้เป็นพื้นที่แห่งสัณฐาน “จิต” ที่มั่นคงหนักแน่นหากทว่าประณีตงดงามและให้ความรู้สึกที่อิสระ ตื่นอยู่ เบิกบาน และสงบเย็นหรือผ่อนคลายโดยอาศัยกระบวนการทางทัศนศิลป์งานศิลปะภาพพิมพ์กระบวนการพิมพ์ภาพพิมพ์ผิวนูน (Relief Printing Process) หรือเทคนิคแม่พิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นเครื่องมือและกลวิธีเฉพาะของตนเองในการสร้างเอกภาพทางสุนทรียภาพแห่งพื้นที่สภาวะจิตใจ “สภาวะอนันต์แห่งจิต” ที่อยู่ในกำกับด้วยสติรวมถึงเป็นอนุสติแก่ตนเองและเพื่อนมนุษย์ในสังคมให้พึงตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสัจธรรมอันเป็นเรื่องธรรมดาแห่งความจริงและต้องอยู่ร่วมกับมันให้ได้อย่างผู้เชื่อมั่นในศักยภาพแห่งสติปัญญาของมนุษย์ เชื่อมั่นในกฎธรรมชาติที่ตายตัวและเป็นเหตุเป็นผลที่จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติอย่างผู้เคารพนอบน้อมต่อธรรมชาติและเมื่อเราเข้าใจเราย่อมจะไม่เกิดอารมณ์หรือโยกโคลงไปตามอารมณ์แห่งความปรารถนาต่าง ๆ รู้ว่า ทุกสิ่งเป็นไปเพราะต้องเป็นไป ดังเช่น “คุณธรรมเกิดจากปัญญา” เหตุผลมักจะถูกจำกัดด้วยอารมณ์ ถ้ามนุษย์ตั้งอยู่แต่ในเหตุผล พฤติกรรมของมนุษย์ย่อมมาจากมูลเหตุเช่นเดียวกันกับธรรมชาติและแบ่งปันหลักคิดโดยนัยนี้ด้วยความเมตตาไปยังผู้ที่ประสบปัญหาหรือกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคเพื่อจักได้มีสติและมีกำลังใจขับเคลื่อนดำเนินชีวิตต่อไปอย่างผู้รู้ตื่น รู้เบิกบานและสงบเย็นในที่พำนักแห่งจิตตนเอง |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3478 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60003211.pdf | 8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.