Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3503
Title: Development and Role of Buddhism in Southeast Asia, during 1st-7th Century A.D.
พัฒนาการและบทบาทของพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-12 
Authors: Atiphat PAIBOOL
อธิพัฒน์ ไพบูลย์
Saritpong Khunsong
สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: พุทธศาสนา
พัฒนาการ
บทบาท
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Buddhism
development
rule
Southeast Asia
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is focused on the development and role of Buddhism in Southeast Asia during the 1-7 century A.D. through archaeological evidence and the lens of Indianization theory. The result demonstrates that during the first haft of the first millennium A.D. the maritime trade route across the Bay of Bengal has increased dramatically, because Indian people have developed their social structure into a state-level - motivated the luxury and lavish goods requirement from overseas. Consequently, Buddhist monks and Hindu brahmin had used those growths to travel to Southeast Asia. Buddhism in Southeast Asia did not originate exclusively from one center in India, which distinguished into three origins and three periods. 1) South India region under the influence of Amaravati arts (ca. 5th- 6th century A.D.) 2) North India region under the influence of Gupta art (ca. 6th-7th century A.D.) 3) The region of Western India under the influence of post-Gupta art (ca. 7th-8th century A.D.) By those various roots of Indian Buddhism, as a result, Buddhism in Southeast Asia is also diverse. Chinese documents referring to more than one sect of Buddhism coexists in Southeast Asia. Consequently, Buddhism had influenced Southeast Asian society with new cosmology, and Indian social structure ushered to early Indianized states of Southeast Asia in the first century A.D.
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการและบทบาทของพุทธศาสนาที่มีต่อรัฐแรกเริ่มในเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-12 ผ่านหลักฐานทางโบราณคดีและแนวคิดภารตวิภัฒน์ (Indianization) พบว่า วัฒนธรรมอินเดียทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูได้เข้ามายังเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับการเติบโตของการค้าข้ามคาบสมุทรของพ่อค้าชนชาติต่าง ๆ เช่น ชาวอินเดียและจีน ทั้งนี้พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิได้มีที่มาจากที่ใดที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่มีที่มาจากหลายภูมิภาคของอินเดีย จำแนกได้ 3 แหล่งที่มาและ 3 ช่วงเวลา ดังนี้ 1) อินเดียภาคใต้ ภายใต้อิทธิพลศิลปะอมราวดี อายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 10 ถึงพุทธศตวรรษที่ 11 2) อินเดียภาคเหนือ ภายใต้อิทธิพลศิลปะคุปตะ อายุประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 3) อินเดียภาคตะวันตก ภายใต้อิทธิพลศิลปะหลังคุปตะ อายุระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 การมีที่มาจากหลายภูมิภาคของอินเดีย ทำให้พุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายตามไปด้วย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่หลากหลายและข้อความในเอกสารจีนที่อ้างถึงพุทธศาสนา ปรากฏอยู่ร่วมกันมากกว่าหนึ่งนิกายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพุทธศาสนาจึงได้เข้ามาตั้งมั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งอิทธิพลต่อสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนเกิดการนำชุดความคิดใหม่ เช่น ระบบศีลธรรม จักรวาลวิทยาแบบพุทธศาสนา รวมทั้งรูปแบบการเมืองการปกครอง มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสังคมดั้งเดิม ท้ายที่สุดจึงเกิดการยกระดับสภาพสังคมเป็นสังคมระดับรัฐ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3503
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61101203.pdf27.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.