Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3521
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sawitree CHODOK | en |
dc.contributor | สาวิตรี โชดก | th |
dc.contributor.advisor | Orapin Sirisamphan | en |
dc.contributor.advisor | อรพิณ ศิริสัมพันธ์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Education | en |
dc.date.accessioned | 2022-02-01T04:46:04Z | - |
dc.date.available | 2022-02-01T04:46:04Z | - |
dc.date.issued | 26/11/2021 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3521 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were to 1) develop the local instructional model by using oral history to enhance historical empathy for secondary students 2) evaluate the effectiveness of local instructional model by using oral history to enhance historical empathy for secondary students. The sample consisted of 18 students in Tenth grade of Paknamchumphon Wittaya school during the first semester of 2021 academic year, who have studied in the subject of local history as an additional course in the field of history. This research applying the process of research and development (R&D) and collaboration with the instructional system design (ADDIE model). The instruments of this research were : 1) handbook of the local instructional model by using oral history to enhance historical empathy for secondary students 2) lesson plans 3) achievement test in subject of local history 4) evaluation form of historical empathy for secondary students 5) student’s satisfaction questionnaire. The data were analyzed by mean (x̄) standard deviation (S.D.), dependent samples t-test at a significant .05 level and content analysis. The finding of the research revealed the following : 1. The local instructional model by using oral history to enhance historical empathy for secondary students was named “ECCA Model” had the index of objective congruence (IOC) between 0.75 – 1.00. It’s consisted of 4 components : principles, objectives, learning process involves 4 steps, namely 1) Engage in the local historical empathy (E) 2) Construct image to the local historical empathy (C) 3) Construct the local historical understanding (C) 4) After learning review the local historical empathy (A) and condition related with instructional model implementation, which were social system, support system and responsiveness. 2. The study of the effectiveness of the local instructional model by using oral history revealed that 2.1) The student’s achievement test in subject of local history after learning with the instruction model higher than before learning with the instructional model at a significant .05 level 2.2) The development of historical empathy for the students were increased respectively 2.3) Student’s satisfaction toward the instructional model was at highest level. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปากน้ำชุมพรวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน ที่เรียนในรายวิชา ส30261 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มวิชาประวัติศาสตร์ ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ร่วมกับแนวคิดแบบจำลองการออกแบบการสอนเชิงระบบ (Instructional Design: ADDIE Model) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) แผนการจัดการการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 4) แบบบันทึกการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจับพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา มีชื่อว่า ECCA Model มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.75-1.00 มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (E: Engage in the local historical empathy) ขั้นที่ 2 สร้างมโนภาพการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (C : Construct image to the local historical empathy)) ขั้นที่ 3 สร้างความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (C : Construct the local historical understanding) และขั้นที่ 4 สะท้อนการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (A : After learning review the local historical empathy) และเงื่อนไขการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ซึ่งประกอบด้วย ระบบสังคม ระบบสนับสนุน และหลักการตอบสนอง 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพบว่า 2.1) ผลการเรียนรู้รายวิชา ส30261 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) พัฒนาการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกันภายหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีพัฒนาการสูงขึ้นเป็นลำดับ 2.3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น | th |
dc.subject | แนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่า | th |
dc.subject | การรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน | th |
dc.subject | LOCAL INSTRUTIONAL MODEL | en |
dc.subject | ORAL HISTORY | en |
dc.subject | HISTORICAL EMPATHY | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | The Development of Local History Instructional Model by Using Oral History to Enhance Historical Empathy for Secondary Students. | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตามแนวคิดประวัติศาสตร์บอกเล่าเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
58262905.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.