Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3539
Title: PERSONNEL MANAGEMENT AND JOB MOTIVATION OF TEACHER IN SCHOOLUNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 8
การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
Authors: Nawaphat CHEEDCHAN
นวพัชญ์ ฉีดจันทร์
Sakdipan Tonwimonrat
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์
Silpakorn University. Education
Keywords: การบริหารงานบุคคล / แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
Personnel Management / Job Motivation
Issue Date:  26
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to identify : 1) Personnel management of school under the Secondary Education Service Area Office 8 2) job motivation of teacher in school under the Secondary Education Service Area Office 8 and 3) the relationship between Personnel management of school and job motivation of teacher  in school under the Secondary Education Service Area Office 8. The samples were 48 schools under the Secondary Education Service Area Office 8. The respondents in each school were a school administrator/an acting school administrator, and teacher, in total of 192 persons. The instrument employed for data collection was a questionnaire about Personnel management of school based on Castetter concept and job motivation of teacher based on Herzberg , Mausner and Snyderman. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Person Product Moment Correlation Coefficient. The research findings were as follows: 1. The Personnel management of school under the Secondary Education Service Area Office 8 as a whole and an individual, were at a high level. The arithmetic mean ranking from maximum to minimum were as follows ; 1) Appraisal  2) Development 3) Selection 4) Induction 5) Security 6) Continuity 7) Information  8) Manpower  9) Negrotiation 10) Recruitment and 11) Compensation 2. The job motivation of teacher in school under the Secondary Education Service Area Office 8  as a whole and an individual, were at a high level. The arithmetic mean ranking from maximum to minimum were as follows ; 1) Interpersonal Relations with superior 2) Interpersonal Relations with peers 3) Advancement 4) Job Security 5) Status 6) Company policy and administration 7) Supervision teachnical 8) Interpersonal Relations with subordinate 9) Responsibility 10) Personal Life 11) Salary 12) Achievement 13) Work Itself 14) Possibility of Growth 15) Recognition and 16) Working Conditions 3. The Personnel management of school and job motivation of teacher in school under the Secondary Education Service Area Office 8. The overall were found to correlated as a high level and 0.01 level of statistical significance.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8  2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8   3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 48 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) รองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานโรงเรียน จำนวน 1 คน 3) ครู จำนวน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนตามแนวทางของคาสเต็ทเทอร์ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ตามแนวทางของเฮอร์ซเบอร์ก เมาส์เนอร์ และ สไนเดอร์แมน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ความถี่  ร้อยละ มัชณิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8  ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับมัชณิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2) ด้านการพัฒนา 3) ด้านการคัดเลือก 4) ด้านการนำเข้าสู่หน่วยงาน 5) ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน 6) ด้านความต่อเนื่อง 7) ด้านข้อมูลสารสนเทศ  8) ด้านการวางแผนกำลังคน 9) ด้านการเจรจาต่อรอง 10) ด้านการสรรหา และ 11) ด้านสิ่งตอบแทน 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับมัชณิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1) ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน 2) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 3) ด้านความก้าวหน้าในงาน 4) ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน 5) ด้านสถานะทางอาชีพ 6) ด้านนโยบายในการบริหารงาน 7) ด้านวิธีการบังคับบัญชา 8) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา 9) ด้านความรับผิดชอบ 10) ด้านชีวิตความเป็นอยู่ส่วนตัว 11) ด้านเงินเดือน 12) ด้านความสำเร็จ 13) ด้านลักษณะของงาน 14) ด้านโอกาสก้าวหน้าในอนาคต 15) ด้านการยอมรับนับถือ และ 16) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3. การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ทั้งโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Description: Master of Education (M.Ed.)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3539
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61252320.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.