Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3589
Title: | FACTORS AFFECTING DECISION TO USE SKYSCANNER APPLICATIONOF THAI TOURISTS IN BANGKOK ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscannerของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตกรุงเทพมหานคร |
Authors: | Pattiya LUEMORN ภัททิยา ลือมอญ AMARIN TAWATA อมรินทร์ เทวตา Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | การตัดสินใจเลือกใช้บริการ การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ Decision used Service Technology Acceptance Quality of Electronic Services |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objectives of this research were to investigate 1) level of decision used service, technology acceptance and quality of electronic services. 2) the acceptance of technology that affects decision used service and 3) study quality of electronic services that affect decision used Skyscanner application of Thai tourists. the quantitative research using to questionnaire tool collect data with 400 people Thai tourists who have used Skyscanner application which sample were selected using purposive sampling and the statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression.
The result were found that 1) level of the acceptance of technology at highest level by the most average was the perceived usefulness, followed by perceived ease of use and the perceived of fun respectively. Level of quality of electronic services at highest level by the most average was the achieving goals, the followed by privacy, the system capability respectively and level of decision used service at highest level by the most average was the intentions, followed by interests and needs and decision used service respectively. 2) The factors acceptance of technology was perceived ease of use and perceived of fun has positive effect decision used Skyscanner application of Thai tourists; and 3) the factors quality of electronic services was the achieving goals, the system capability and the privacy has positive effect decision used Skyscanner application of Thai tourists statistically significant 0.05. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ การยอมรับเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ และ 3) ศึกษาคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscannerในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscanner จำนวน 400 คน ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งพบว่า ด้านการรับรู้ประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการรับรู้ใช้งานง่าย และด้านการรับรู้ถึงความสนุก ตามลำดับ ระดับคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพบว่า ด้านการบรรลุเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านความสามารถของระบบ และด้านความมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ และระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพบว่า ด้านความตั้งใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสนใจ ด้านความต้องการ และด้านการตัดสินใจใช้บริการ ตามลำดับ 2) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ใช้งานง่าย และด้านการรับรู้ถึงความสนุก มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscanner ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 3) ปัจจัยคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านความสามารถของระบบ และด้านความเป็นส่วนตัว มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชัน Skyscannerในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 |
Description: | Master of Business Administration (M.B.A.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3589 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61602344.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.