Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSupreechaya CHABCHAIen
dc.contributorสุปรีชญา จับใจth
dc.contributor.advisorSAMNIANG LEURMSAIen
dc.contributor.advisorสำเนียง เลื่อมใสth
dc.contributor.otherSilpakorn University. Archaeologyen
dc.date.accessioned2022-06-14T08:05:08Z-
dc.date.available2022-06-14T08:05:08Z-
dc.date.issued1/7/2022
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3621-
dc.descriptionMaster of Arts (M.A.)en
dc.descriptionศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.abstractThe aims of this thesis are as follows: 1. to transliterate and translate Śakuntalopākhyāna into Thai 2. to analyze the content and rhetoric of Śakuntalopākhyāna 3. to analyze influences, social reflections, culture, and traditions in Śakuntalopākhyāna. The text used in the study is M.N. DUTT. The thesis procedures started by searching data related to Śakuntalopākhyāna, transliteration of the text from Devanagari script into Thai, translating the content from Sanskrit into Thai, analysis of Śakuntalopākhyāna content in terms of the writing system, literary values, influences, social reflections, culture and tradition, discussion, and conclusion.  The results revealed that Śakuntalopākhyāna is the story inserted in the Adi Parva of Mahābhārata. It consists of 325 śloka, classified in the Itihasa genre. The content of Śakuntalopākhyāna in the Mahābhārata is therefore realistic with the belief that Itihasa may be true. It has a sequential storytelling strategy, and the plot is not complicated. The story is portrayed by inserting a dialogue with content about dharma principles and religious practices throughout the story. It has outstanding literary value. It also inserts reflections on Hindu society such as caste society, the hierarchy of angels and special status, religious ritual requirements, the importance of children, the importance of wife, and many proverbs that can be applied in daily life. Śakuntalopākhyāna influenced the creation of other works such as being adapted from the original by Kālidāsa into a dance drama that is very famous and has been distributed almost all over the world. In Thailand, Śakuntalā is mentioned in the inscription of Prasat Phnom Rung 8, there are royal scripts on Śakuntalā and the paintings of King Rama VI, contemporary Thai music, and India also has modern literature that mocks the socialist system of men and promotes women's rights with the protagonist Śakuntalā.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อปริวรรตและแปลศกุนตโลปาขยานจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย 2.เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาและวรรณศิลป์ 3.เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคม วัฒนธรรมและประเพณีในศกุนตโลปาขยานและอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์อื่นๆ โดยใช้ต้นฉบับจากหนังสือวรรณคดีสันสกฤตเรื่องมหาภารตะ ฉบับของ M.N. DUTT โดยมีขั้นตอนการศึกษาคือ ศึกษาที่มาและขอบเขตเนื้อหาของศกุนตโลปาขยานในมหาภารตะ ปริวรรตศกุนตโลปาขยานจากอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทย และแปลความหมายจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย จากนั้นศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากศกุนตโลปาขยานในมหาภารตะ ในด้านเนื้อหา คุณค่าทางวรรณศิลป์ อิทธิพล ภาพสะท้อนทางสังคม วัฒนธรรมและประเพณีในศกุนตโลปาขยาน แล้วอภิปรายและสรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าศกุนตโลปาขยาน คือ อุปาขยานเรื่องศกุนตลา เป็นเรื่องแทรกอยู่ในอาทิบรรพของมหาภารตะ มีจำนวน 325 โศลก จัดอยู่ในวรรณกรรมประเภทอิติหาสะ เนื้อหาของศกุนตโลปขยานในมหาภารตะจึงเกิดความสมจริงด้วยความเชื่อที่ว่าวรรณกรรมประเภทอิติหาสะอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ใช้กลวิธีการดำเนินเรื่องแบบลำดับตามเวลา มีลักษณะของเค้าโครงเรื่องที่ไม่ซับซ้อน มีการพรรณนาเรื่องราวโดยสอดแทรกบทสนทนาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักธรรมะและข้อปฏิบัติต่างๆ ตลอดทั้งเรื่อง มีคุณค่าทางวรรณศิลป์โดดเด่น ทั้งยังสอดแทรกภาพสะท้อนสังคมฮินดู เช่น สภาพสังคมแบบวรรณะ ลำดับชั้นของเทวดาและสถานะพิเศษ ข้อกำหนดในพิธีกรรมทางศาสนา ความสำคัญของบุตร ความสำคัญของภรรยา และหลักข้อคิดมากมายที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อิทธิพลของศกุนตโลปาขยานส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านอื่นๆ ถูกดัดแปลงจากต้นฉบับโดยกาลิทาสให้เป็นวรรณคดีบทละครเรื่อง อภิชฺญานศากุนฺตลมฺ ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากและได้รับการเผยแพร่ไปเกือบทั่วทุกมุมโลก ส่วนในประเทศไทยพบการกล่าวถึงศกุนตลาในจารึกปราสาทพนมรุ้ง บทพระราชนิพนธ์และภาพวาดฝีพระหัตถ์ในรัชกาลที่ 6 และเพลงวงสุนทราภรณ์ ทั้งยังปรากฏวรรณกรรมสมัยใหม่ในอินเดียที่ส่งเสริมสิทธิสตรีของอินเดียโดยแสดงออกผ่านตัวละครเอกชื่อศกุนตลาth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectศกุนตโลปาขยานth
dc.subjectมหาภารตะth
dc.subjectวรรณคดีสันสกฤตth
dc.subjectศกุนตลาth
dc.subjectŚakuntalopākhyānaen
dc.subjectMahābhārataen
dc.subjectSanskrit literatureen
dc.subjectŚakuntalāen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleAn Analytical Study of Śakuntalopākhyāna in Mahābhārataen
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์ศกุนตโลปาขยานในมหาภารตะth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60116207.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.