Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3625
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Chutima SODAMAK | en |
dc.contributor | ชุติมา โสดามรรค | th |
dc.contributor.advisor | SUTEE KUNAVICHAYANONT | en |
dc.contributor.advisor | สุธี คุณาวิชยานนท์ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts | en |
dc.date.accessioned | 2022-06-14T08:06:53Z | - |
dc.date.available | 2022-06-14T08:06:53Z | - |
dc.date.issued | 1/7/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3625 | - |
dc.description | Master of Fine Arts (M.F.A.) | en |
dc.description | ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) | th |
dc.description.abstract | Today, the methods of artistic creation by Thai artists have become more diverse in terms of the presentation, whether through the artist's unique techniques or the use of materials and media in the creation. Installation art is an artistic movement that developed from conceptual art. This form of art gained huge popularity in Thai contemporary art. However, installation artworks in Thailand are not clearly categorized. Thus, the researcher applied the theory proposed by Mark Rosenthal as a criterion to categorize art installations in Thailand and gain a better understanding of them. The theory identifies two types of installations 1. Filled – Space Installation consists of two specific forms: enchantments and impersonations and 2. Site-Specific Installation consists of two specific forms: interventions and rapprochements. The researcher thus used the theory to categorize installation arts by Thai artists. The purpose of this thesis is to categorize installation art from data collection by using Mark Rosenthal's theory and show examples of 34 installation artworks by 19 Thai artists in the innovative learning media about installation art in Thailand in the format of an infographic. The learning media “Assemble, Attach, Arrange, Place” is divided into 3 sections. Art students and the general public can obtain information and understand more about Thailand’s installation art. The researcher decided to show only the two most matched examples of works per category to make the learning media more concise and enable media users to study more quickly. After studying the data, creating an innovative learning media series “Assemble, Attach, Arrange, Place”, and disseminating learning materials through Facebook Group named Art Theory Silpakorn University, it is found through the random distribution of the survey that users who are 10 art students and 10 people representing the general public have a very good understanding of the content in all 3 episodes. When looking at the survey structure, it consisted of 1. the content, 2. the learning media design, and 3. the experience after using the learning media. It is shown that participants have an average score of no less than 80 percent of understanding in all parts. Therefore, it can be concluded that the users of “Assemble, Attach, Arrange, Place” have a very good understanding of installation artworks shown through this learning media. Users also have easier access to information about art installations in Thailand through infographics. In addition, this learning media allows users to apply the knowledge gained as a basis for categorizing installation artworks in Thailand. | en |
dc.description.abstract | ปัจจุบันวิธีการสร้างสรรค์ศิลปะของไทยถูกพัฒนาให้มีความหลากหลายในด้านการนำเสนอผลงานมากขึ้นไม่ว่าจะด้วยเทคนิคเฉพาะตนของศิลปิน หรือการนำเอาวัสดุ และสื่ออื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ ศิลปะจัดวางจึงถือเป็นกระแสทางศิลปะที่แตกออกมาจากศิลปะมโนทัศนศิลป์ (Conceptual Art) ซึ่งเป็นนิยมอย่างมากในวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย แต่ศิลปะจัดวางยังไม่มีการจำแนกแจกแจงในเรื่องรูปแบบอย่างชัดเจน ผู้วิจัยจึงนำเอาหลักทฤษฎีของ มาร์ค โรเซนทอล (Mark Rosenthal) มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการจำแนกประเภทศิลปะจัดวางในไทยให้เกิดความเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งหลักทฤษฎีนี้ประกอบไปด้วย 1. จัดวางเติมพื้นที่ว่าง (Filled – Space Installation) ประกอบไปด้วย 2 ลักษณะคือ 1.1 จัดวางเติมพื้นที่ว่าง : ตื่นตาตื่นใจ (Filled – Space Installation : Enchantments) และ 1.2 จัดวางเติมพื้นที่ว่าง : แปลงโฉมจัดฉาก (Filled – Space Installation : Impersonations) 2. จัดวางเฉพาะที่ (Site – Specific Installation) ประกอบไปด้วย 2 ลักษณะคือ 2.1 จัดวางเฉพาะที่ : บุกรุกแทรกแซง (Site – Specific Installation : Interventions) และ 2.2 จัดวางเฉพาะที่ : สัมพันธ์กลมกลืน (Site – Specific Installation : Rapprochements) โดยผู้วิจัยได้นำเอาหลักทฤษฎีดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการจำแนกรูปแบบผลงานศิลปะจัดวางโดยศิลปินไทย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกประเภทศิลปะจัดวางจากการสืบค้นรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งยกตัวอย่างผลงานศิลปะจัดวางของศิลปินไทยจำนวน 19 ท่าน 34 ผลงาน โดยใช้ทฤษฎีของ มาร์ค โรเซนทอล เป็นเกณฑ์ในการจำแนก และสร้างนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เรื่องศิลปะจัดวางในไทย รูปแบบอินโฟกราฟิก ซึ่งสื่อการเรียนรู้ชุด “กอง ติด จัด วาง” แบ่งย่อยข้อมูลออกเป็นทั้งหมด 3 ตอน เพื่อให้นักศึกษาศิลปะรวมถึงบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องศิลปะจัดวางในไทยมากยิ่งขึ้น โดยภายในสื่อการเรียนรู้จะทำการเลือกยกตัวอย่างผลงานของศิลปินไทยที่ผู้วิจัยได้ศึกษา และเข้าข่ายศิลปะจัดวางตามหลักทฤษฎีมากที่สุด จำนวนลักษณะละ 2 ผลงาน เพื่อให้สื่อการเรียนรู้ที่ได้มีความกระชับ สามารถทำให้ผู้ใช้สื่อได้ศึกษาข้อมูลอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หลังจากการศึกษา และจัดทำนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ชุด “กอง ติด จัด วาง” ตลอดจนทำการเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ผ่าน Facebook กลุ่ม Art Theory Silpakorn University พบว่า การประเมินจากการสุ่มเก็บแบบประเมินผู้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่เป็นนักศึกษาศิลปะ จำนวน 10 คน และบุคคลทั่วไป จำนวน 10 คน มีความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องศิลปะอยู่ในระดับดีมากทั้ง 3 ตอน เพราะเมื่อดูจากผลประเมินของผู้ใช้สื่อการเรียนรู้ตามหัวข้อแบบประเมิน ประกอบไปด้วย 1. ด้านเนื้อหา 2. ด้านการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และ 3. ภายหลังจากใช้สื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่า 80% ของทุกหัวข้อย่อยจากการประเมิน จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้ใช้สื่อการเรียนรู้ชุด กอง ติด จัด วาง สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาศิลปะจัดวางของสื่อการเรียนรู้ชุดนี้ได้อยู่ในระดับดีมาก รวมถึงผู้ใช้สื่อยังสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องศิลปะจัดวางในไทยได้ง่ายขึ้น ผ่านการออกแบบชุดสื่อการเรียนรู้รูปแบบอินโฟกราฟิกของผู้วิจัย อีกทั้งสื่อการเรียนรู้ชุดนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้สื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นหลักเกณฑ์ในการจำแนกประเภทศิลปะจัดวางในไทยต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | ศิลปะจัดวาง | th |
dc.subject | จัดวางเติมพื้นที่ว่าง | th |
dc.subject | จัดวางเฉพาะที่ | th |
dc.subject | สื่อการเรียนรู้ | th |
dc.subject | อินโฟกราฟิก | th |
dc.subject | installation art | en |
dc.subject | Filled – Space Installation | en |
dc.subject | Site – Specific Installation | en |
dc.subject | learning media | en |
dc.subject | infographic | en |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | en |
dc.title | Innovative media learning Installation art in Thailand | en |
dc.title | นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เรื่องศิลปะจัดวางในไทย | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60005202.pdf | 14.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.