Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNaruemon JITUEAen
dc.contributorนฤมล จิตรเอื้อth
dc.contributor.advisorVIROJ JADESADALUGen
dc.contributor.advisorวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์th
dc.contributor.otherSilpakorn University. Management Sciencesen
dc.date.accessioned2022-06-16T01:15:53Z-
dc.date.available2022-06-16T01:15:53Z-
dc.date.issued1/7/2022
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3659-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstract  The purpose of this research were 1) to test the influences of Creative Work Behavior Management on the Effectiveness of Innovation of Food Processing Business in Thailand 2) to test the influences of Creative Work Behavior Management on the Organizational Performance of Food Processing Business in Thailand 3) to test the influences of Effectiveness of Innovation on Organizational Performance of Food Processing Business in Thailand 4) to test the influences of Creative Transformational Leadership, Organic Organizational Structure, and Information Technology Management Capabilities on the Creative Work Behavior Management of Food Processing Business in Thailand and 5) to study the guidelines for developing the Creative Work Behavior Management of Food Processing Business in Thailand. The mixed methods research methodology was used in the study by complying with the Explanatory Sequential Design; started by using quantitative approach to study the causal relationship of Creative Work Behavior Management of Food Processing Business in Thailand.Quantitative data were gathered by using the questionnaire which were responded by business owner or chief executive or human resources executive of 510 food processing business.Structural Equation Modeling was conducted for analyzing the causal model with empirical data and Path Analysis for testing the hypotheses Followed by the qualitative approach by using phenomenological approach that was based on in-depth interviews with 9 key informants who are chief executive or human resources executive of food processing Business in Thailand, who are engaged in creative work behavior management activities. Considered by seven organizations that have received awards for organizational management and development by using knowledge and creativity to create innovations that benefit the economy and society. And is the management of the business size that varies with the number of employees, namely 50 people, 50-200 people, and more than 200 people, including industries in cities and industries in the provinces. The results of hypotheses test revealed that 1) Creative Work Behavior Management has a positive direct influence on the Effectiveness of Innovation 2)Creative Work Behavior Management has a positive direct influence on the Organizational Performance 3) Effectiveness of Innovation has a positive direct influence on the Organizational Performance 4) Creative Work Behavior Management has a positive indirect influence on the Organizational Performance, with the Effectiveness of Innovation as a mediator variable 5) Creative Transformational Leadership has a positive direct influence on Creative Work Behavior Management 6) Organic Organizational Structure has a positive direct influence on Creative Work Behavior Management, and 7) Information Technology Management Capabilities has a positive direct influence on Creative Work Behavior Management. Structural equation model analysis found that the hypotheses model was congruent with empirical data. In this study, the chi-square was 87.34, the degrees of freedom was 112 at the level of significance 0.05 (p-value) was 0.95, the relative chi-square was 0.77, CFI was 1.00, NFI was 0.98, GFI was 0.98, AGFI was 0.97, and RMSEA was 0.00 The qualitative research results could explain and elaborate on the quantitative findings.The contributions of this research can explain the causality of Creative Work Behavior Management of Food Processing Business in Thailand that have the knowledge-based view theory and the contingency theory as the foundation theories for integrating and constructing the variables and conceptual framework. Furthermore, the research results can be used to develop the creative work behavior management. This will enable the food processing business to be effective for innovation and lead to good performance for the organization in the future.en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการจัดการ พฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อประสิทธิผลของนวัตกรรมของธุรกิจอาหารแปรรูปในประเทศไทย 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์การของธุรกิจอาหารแปรรูปในประเทศไทย 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของประสิทธิผลของนวัตกรรมที่มีต่อ ผลการดำเนินงานขององค์การของธุรกิจอาหารแปรรูปในประเทศไทย 4) เพื่อทดสอบอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต และความสามารถในการจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีต่อการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของธุรกิจอาหารแปรรูปในประเทศไทย และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของธุรกิจอาหารแปรรูป ในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ออกแบบแผนการวิจัย เป็นแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (Explanatory Sequential Design) โดยเริ่มด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อ ทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของธุรกิจ อาหารแปรรูปในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจจำนวน 510 ธุรกิจ ใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการ โครงสร้างเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์เส้นทาง เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฎการณ์วิทยา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของอาหารแปรรูป ในประเทศไทย จำนวน 9 ท่าน ที่มีการดำเนินกิจกรรมในการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ พิจารณาจากองค์การที่ได้รับรางวัลด้านการบริหารและพัฒนาองค์การโดยการใช้ความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม และเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ของขนาดกิจการที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันตามจำนวน พนักงาน คือ จำนวนไม่เกิน 50 คน จำนวน 50-200 คน และจำนวนมากกว่า 200 คน รวมถึง เป็นอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเมืองและอุตสาหกรรมที่อยู่ในต่างจังหวัด ผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า 1) การจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิผลของนวัตกรรม 2) การจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพล ทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์การ 3) ประสิทธิผลของนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์การ 4) การจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์การโดยมีประสิทธิผลของนวัตกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน 5) ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ 6) โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิตมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ 7) ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการจัดการพฤติกรรม การทำงานเชิงสร้างสรรค์ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า โมเดลตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่ามีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 87.34 ที่องศาอิสระเท่ากับ 112 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value) เท่ากับ 0.95 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 0.77 ค่าดัชนี วัดระดับความกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีความกลมกลืนเชิงเปรียบเทียบกับรูปแบบ อิสระ (NFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีระดับความกลมกลืน ที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 และค่าดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของ การประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกค่า แสดงว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถอธิบายยืนยันและขยายผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลการศึกษามีความชัดเจนและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ประโยชน์จากการวิจัยนี้ สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของ ธุรกิจอาหารแปรรูปในประเทศไทย โดยมีทฤษฎีพื้นฐานในการวิจัยคือทฤษฎีฐานความรู้และทฤษฎี การบริหารเชิงสถานการณ์ใช้ในการบูรณาการ เพื่อพัฒนาตัวแปรหลักคือการจัดการพฤติกรรมการทำงาน เชิงสร้างสรรค์และการพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัย โดยสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาด้านการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ขององค์การ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจอาหารแปรรูป เกิดประสิทธิผลของนวัตกรรมและนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดีให้เกิดขึ้นแก่องค์การต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์th
dc.subjectภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์th
dc.subjectโครงสร้างองค์การแบบมีชีวิตth
dc.subjectความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศth
dc.subjectประสิทธิผลของนวัตกรรมth
dc.subjectผลการดำเนินงานขององค์การth
dc.subjectCreative Work Behavior Managementen
dc.subjectCreative Transformational Leadershipen
dc.subjectOrganic Organizational Structureen
dc.subjectInformation Technology Management Capabilitiesen
dc.subjectEffectiveness of Innovationen
dc.subjectOrganizational Performanceen
dc.subject.classificationBusinessen
dc.titleCREATIVE WORK BEHAVIOR MANAGEMENT OF FOOD PROCESSING BUSINESS IN THAILANDen
dc.titleการจัดการพฤติกรรมการทำงานเชิงสร้างสรรค์ของธุรกิจอาหารแปรรูปในประเทศไทยth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59604907.pdf15.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.