Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3672
Title: | HUMAN CAPITAL DEVELOPMENT GUIDELINE FOR INTERNATIONAL HOTEL CHAINS AFTER COVID-19 PANDEMIC. แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 |
Authors: | Phinyada PEETIWAN ภิญญดา ปีติวรรณ RACHANON TAWEEPHOL ระชานนท์ ทวีผล Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | การพัฒนา ทุนมนุษย์ ธุรกิจโรงแรมเครือข่าย ไวรัสโควิด-19 Development Human capital International hotel chains COVID-19 |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | COVID-19 pandemic caused a lot of manning loss. Therefore, hotel businesses must prepare to develop human capital to meet the needs of customers in the future. This research aims to (1) study the limitations and obstructions on human capital development in international hotel chains during the COVID-19 pandemic (2) study about human capital development strategy analysis in international hotel chains after the COVID-19 pandemic and (3) study the rate of opinion towards analyzed human capital development guidelines after the COVID-19 pandemic. By using Mixed Method Research, starting from an in-depth interview with 9 people who are in charge of the human development process in international hotel chains in Bangkok, followed by collecting a questionnaire from the samples which contain 100 samples from hoteliers in international hotel chains and 15 samples from a university professor who is in charge of hotel and tourism management school and has sent a trainee to an international hotel chain.
The result found that (1) limitations and obstructions on human capital development consist of 4 factors: unable to arrange face-to-face training as usual, manning loss, unclear communication, and the operating costs are adjusted to suit the situation. (2) Human capital: Social capital, Emotional capital, and Intellectual capital have to develop all together and pay attention to Upskills and Reskills by considering individual capability. And (3) The overview on the rate of opinion towards analyzed human capital development guidelines are high. Social capital development has priority on encouraging employees to have morals and ethics while working. Emotional capital development has priority on encouraging employees to listen and respect their colleagues’ opinions in order to improve the shortcomings. Intellectual capital development has priority to be flexible according to individual needs and preferences. The results of this research can be applied as a guideline for defining the human capital development process of the organization. It can also be used as a guideline for labor standards in the service industry in the future. การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียบุคลากรเป็นจำนวนมาก ธุรกิจโรงแรมจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการในอนาคต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (2) ศึกษาการวิเคราะห์กลยุทธ์การพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อของไวรัสโควิด-19 และ (3) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นการวิจัยด้วยเทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนบุคลากรที่มีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาทุนมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติ เขตกรุงเทพมหานคร 9 คน จากนั้นจึงเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกับตัวแทนกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานและมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาทุนมนุษย์ภายในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายนานาชาติ 100 คน และคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเอกชนที่ประสานงานกับทางโรงแรมในเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อส่งนักศึกษาเข้าฝึกงาน ซึ่งเป็นคณาจารย์ที่อยู่ในหลักสูตรการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว 15 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ ประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่ การไม่สามารถจัดฝึกอบรมแบบเผชิญหน้าได้ตามปกติ การสูญเสียพนักงานจำนวนมาก การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับทักษะอาชีพที่ไม่ชัดเจน และต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (2) กลยุทธ์การพัฒนาทุนมนุษย์ต้องได้รับการพัฒนาไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ทุนทางสังคม ทุนด้านความฉลาดทางอารมณ์ และทุนทางปัญญา และมีการให้ความสำคัญกับการยกระดับทักษะความเป็นมืออาชีพ และการเสริมสร้างทักษะใหม่ให้เหมาะสมกับงานที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องคำนึงถึงการฝึกอบรมตามความต้องการและความเหมาะสมเฉพาะบุคคล และ (3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ทั้ง 3 ด้าน มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทุนทางสังคมพบว่า มีการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานมากที่สุด ทุนด้านความฉลาดทางอารมณ์พบว่า มีการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้พนักงานรับฟังและเคารพข้อคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานเพื่อนำมาปรับปรุงข้อบกพร่องมากที่สุด และด้านทุนทางปัญญาพบว่า มีการให้ความสำคัญกับการปรับทิศทางการฝึกอบรมพัฒนาทุนมนุษย์ตามความต้องการและความเหมาะผสมเฉพาะบุคคลมากที่สุด ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการกำหนดขั้นตอนการพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร และยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานของแรงงานในอุตสาหกรรมบริการได้ในอนาคต |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3672 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631220107.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.