Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3692
Title: The comtemporary worldview in Isaan folk tales
โลกทัศน์ร่วมสมัยในนิทานพื้นบ้านอีสาน
Authors: Sakorn WONGRATCHASI
สาคร วงษ์ราชสีห์
PREECHA THAOTHONG
ปรีชา เถาทอง
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: โลกทัศน์อีสานร่วมสมัย
นิทานพื้นบ้านอีสาน
ศิลปะพื้นบ้านอีสาน
Comtemporary worldview
Isaan folk tales
Isaan folk art
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   Thesis under the name of “The Contemporary Worldview in Isaan Folk Tales” is the creation of visual art in the style of mixed - media in various forms such as 2 - dimension, 3 dimensions, and installation. The artworks were created to portray the story of 11 Isaan folk tales which are Phu Sangkasa – Ya Sangkasi, Thao Phadangnagai, Phraya Khankag, Khulunangaua, Thao Gumgadum, Nang Hma Khaw, Nang Phom Hom, Gongkhanwnoi Kha Mea, Thao Kumpra Pheenoi, Jumpa Si Thon, and Sithon – Manorah. The information is collected, noted and analyzed from online resources, books, and interviewing sessions with people from Baan Tung Boh, Bankuh, Napho, Buriram. The information may not be perfectly presented because part of it came from targets’ memory. However, thought, belief, and imagination are integrated with the tales. Those stories from villagers also naturally related to the creator of this thesis. The style of the artworks is inspired by Isaan’s folk art called Hoobtam, Buddhist pulpit, and Bunghong (Isaan lantern) which disappear with time. The creator has been studied those styles from Baan Tung Boh, Bankuh, Napho, Buriram; moreover, developed it into his artistic identity by using objects from his hometown such as bamboo, soil, tree roots, cocoon, and death animal that left from the haunting seasons. Furthermore, unused household items that are fragile and non-durables such as galvanized zinc tray, dish, spindle, rice box, and others became part of the artworks as well. All objects were installed and formed into memory space that are slowly fading away from the villagers and the artist himself. Therefore, the roll of diary is played through the artworks which refer to an ongoing story and at the same time fading away. Thus, “The Contemporary Worldview in Isaan Folk Tales” presents the view of the creator’s life, tradition, culture, and people both remain living and death ones. The artworks also project past, present, and future of this world events that related to the cycle of birth, remain, and disappear which Isaan folk art, Isaan folk tales, villagers, and the creator’s family are involved. As mentioned previously, ideas, belief, and imagination are showed through such fragile and ephemeral form of art that indicated to its core idea. The meaning occurred by collaging those fragments to create an incomplete story, yet, build to the new context. Only to remind as one said “Once, in the moment that remains some parts may disappear”. Eventually, style and unique technique are showed though the creator’s identity under this thesis.
ผลงานวิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้อ “โลกทัศน์ร่วมสมัยในนิทานพื้นบ้านอีสาน” เป็นการสร้างสรรค์ผลงานทัศน์ศิลป์ในรูปแบบศิลปะสื่อผสม 2 และ 3 มิติ และศิลปะจัดวาง ที่มีเนื้อหาและเรื่องราวเกี่ยวข้องกับนิทานพื้นบ้านอีสานทั้งหมด 11 เรื่อง อันได้แก่ ปู่สังกะสา - ย่าสังกะสี, ท้าวผาแดงนางไอ่, พญาคันคาก, ขูลูนางอั้ว, ท้าวก่ำกาดำ, นางหมาขาว, นางผมหอม, ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่, ท้าวกำพร้าผีน้อย, จำปาสี่ต้น และสีทน - มโนราห์ โดยส่วนหนึ่งของข้อมูลได้มาจากการสืบค้นในระบบอินเตอร์เน็ตและในหนังสือ และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จดบันทึก ข้อมูลจากความทรงจำของผู้คนในพื้นที่บ้านทุ่งบ่อ ตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และประมวลออกมาเป็นข้อมูลจากความทรงจำของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์และถูกต้องตามความเป็นจริงนัก แต่ก็ทำให้เห็นถึงความคิด ความเชื่อ และจินตนาการ ที่สอดแทรกอยู่ในนิทานพื้นบ้านอีสานและเรื่องเล่าของชาวบ้านที่มีร่วมกันกับผู้สร้างสรรค์เอง โดยได้ศึกษาค้นคว้ารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะพื้นบ้านอีสานในพื้นที่บ้านทุ่งบ่อ ในพื้นที่ตำบลบ้านคู และในพื้นที่ตำบลนาโพธิ์ อำเภอโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ อันได้แก่ ฮูปแต้มอีสาน ธรรมาสน์อีสาน และบั้งโฮง (โคมไฟอีสาน) ซึ่งนับวันกำลังสูญหายไปตามกาลเวลา นำรูปแบบมาพัฒนาต่อยอดสู่การสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการใช้วัสดุและวัตถุในท้องถิ่นของผู้สร้างสรรค์ อันได้แก่ ไม้ไผ่ รังไหม ดิน รากไม้ สัตว์ที่ตายไปแล้วที่ชาวบ้านหามาได้จากการทำมาหากินตามฤดูกาล ฯลฯ รวมไปถึงวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ในครอบครัวและของชาวบ้านที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ชามและถาดสังกะสี กระสวย ก่องข้าว ฯลฯ ที่มีความเปราะบางและไม่คงทนถาวร นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน จัดวาง ประกอบสร้างเป็นพื้นที่ของสิ่งที่กำลังจะเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวบ้านและตัวผู้สร้างสรรค์เองอย่างช้า ๆ เปรียบดั่งการจดบันทึกเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดำรงอยู่ และกำลังเลือนหายไปในเวลาเดียวกัน "โลกทัศน์ร่วมสมัยในนิทานพื้นบ้านอีสาน" จึงเป็นการนำเสนอให้เห็นถึงโลกทัศน์ในห้วงคำนึงของผู้สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และผู้คน ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และได้เสียชีวิตไปแล้ว นำเสนอให้เห็นถึงความเป็นไปของโลกที่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตนั้นได้มีการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเลือนหายไป ทั้งในนิทานพื้นบ้านอีสาน ศิลปะพื้นบ้านอีสาน และผู้คนในหมู่บ้านและในครอบครัวของผู้สร้างสรรค์เอง แสดงออกผ่านความคิด ความเชื่อ และจินตนาการ ก่อเกิดเป็นผลงานศิลปะที่มีความเปราะบาง พร่าเลือน และไม่คงทนถาวร อันเป็นแก่นสาร สาระ และความหมายที่ได้นำเสนอ ด้วยการนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบรวม ปะติดปะต่อ ซ้อนทับ จนเกิดเป็นเรื่องราวซึ่งอาจจะขาดหายไปบ้างบางในส่วนเข้าด้วยกันในบริบทใหม่อีกครั้ง เพียงเพื่อจะย้ำเตือนให้รู้สึกว่า “ทุกสิ่งที่เคยดำรงอยู่ ณ ช่วงเวลาขณะหนึ่ง อาจเลือนหายไปแล้วในห้วงเวลาเดียวกันนี้” โดยมีเนื้อหา รูปแบบ และเทคนิควิธีการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์ผ่านผลงานวิทยานิพนธ์ในชุดนี้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3692
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61004211.pdf21.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.