Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3727
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Phimphakanit PARISANYUTANON | en |
dc.contributor | พิมภัคคนิจ ปริสัญญุตานนท์ | th |
dc.contributor.advisor | Janeyut Lorchai | en |
dc.contributor.advisor | เจนยุทธ ล่อใจ | th |
dc.contributor.other | Silpakorn University. Architecture | en |
dc.date.accessioned | 2022-07-18T07:28:51Z | - |
dc.date.available | 2022-07-18T07:28:51Z | - |
dc.date.issued | 1/7/2022 | |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3727 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | This dissertation aims to raise questions about “mobile architecture” that the researcher intends to study its definition and categorization under the relationship between the physical framework of architecture and the imaginary framework. It uses the configurative components in architecture, namely space and structure, together with the transformative components, which can turn immobile architecture into a mobile architecture, namely flexibility and mobility, analyze the meaning, relationships, and factors that cause the relationship of the components. Considering the relative components is needed to lead to the creation of a theoretical framework that explains the combination of components in this dissertation. The theoretical framework is applied to analyze the relationship between the perceived potential of architectural components and the combination of architectural components. The results showed a group of correlations divided according to concordance and contradiction. The relationship group can be synthesized and demonstrates the differences in precision and distortion that exist between the perceived potential of the components and the combination of components. Those precision and distortion is a research scope derived from architectural components and considered as a conceptual framework for the specific classification of the relationship between perceived dynamics in human and architectural components. It demonstrates the relationship between the abstracted ideas and the concrete evidence of the components in an architectural-historical timeline that also shows the issues came from a scope of humans-architecture related and how they act as the core in the process of utilizing the dynamics in human and architecture to define and categorize mobile architecture. The key conclusion of defining and categorizing mobile architecture is to be done by studying and analyzing the relationship between the dynamic potential of architectural components and humans through a process, comprises a scope of dynamics under the physical framework of architecture and the imaginary perception framework. | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ที่มีจุดมุ่งหมายในการตั้งคำถามเกี่ยวกับ “Mobile Architecture” ซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาไทยเฉพาะในวิทยานิพนธ์นี้ว่า “สถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อน” ที่ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาการนิยามความหมายและการจำแนกหมวดหมู่ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบทางกายภาพของสถาปัตยกรรม โดยใช้องค์ประกอบการก่อรูปที่ปรากฏในสถาปัตยกรรม ได้แก่ พื้นที่ทางสถาปัตยกรรม และโครงสร้าง รวมกับองค์ประกอบการแปรเปลี่ยนซึ่งเป็นความสามารถในการทำให้สถาปัตยกรรมตายตัวกลายเป็นสถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อน ได้แก่ ความยืดหยุ่น และการเคลื่อนที่ วิเคราะห์ความหมาย ความสัมพันธ์ และปัจจัยในการทำให้เกิดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ควบคู่กับองค์ประกอบสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่การสร้างกรอบความคิดด้านทฤษฎี ซึ่งเป็นกรอบในการอธิบายรูปแบบสถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อนในวิทยานิพนธ์นี้ จากกรอบความคิดเชิงทฤษฎี นำไปใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ศักยภาพขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและรูปแบบสถาปัตยกรรม ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่แบ่งออกตามความสอดคล้องและขัดแย้งกัน โดยกลุ่มความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถนำไปสังเคราะห์ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของความชัดตรงและการบิดเบือนที่มีอยู่ระหว่างการรับรู้ศักยภาพขององค์ประกอบและรูปแบบสถาปัตยกรรม ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ที่แสดงความชัดตรงและการบิดเบือนนั้น สามารถนำไปใช้สรุปเป็นขอบเขตการวิจัยที่มาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และถือเป็นกรอบความคิดการวิจัยในการจัดกลุ่มจำเพาะของความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ศักยภาพการปรับเคลื่อนในมนุษย์และศักยภาพการปรับเคลื่อนในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม แสดงให้เห็นโครงสร้างความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในเชิงทฤษฎีที่เป็นนามธรรม เปรียบเทียบกับลักษณะทางกายภาพขององค์ประกอบที่เป็นรูปธรรมในห้วงเวลาทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม โดยในระหว่างยุคสมัย พบว่า มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อนซึ่งเป็นขอบเขตที่มาจากมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นแกนในกระบวนการใช้ศักยภาพการปรับเคลื่อนขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและศักยภาพการปรับเคลื่อนของมนุษย์ เพื่อนิยามและจำแนกสถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อน ข้อสรุปสำคัญในตอนท้าย คือ การนิยามและจำแนกสถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อนสามารถกระทำได้ด้วยการศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการปรับเคลื่อนขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและศักยภาพการปรับเคลื่อนของมนุษย์ ผ่านกระบวนการซึ่งมีขอบเขตการปรับเคลื่อนที่มาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และขอบเขตการปรับเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มาจากมนุษย์ ภายใต้กรอบทางกายภาพของสถาปัตยกรรมและกรอบการรับรู้ทางจินตภาพ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Silpakorn University | |
dc.rights | Silpakorn University | |
dc.subject | สถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อน, พื้นที่ทางสถาปัตยกรรม, โครงสร้าง, ความยืดหยุ่น, การเคลื่อนที่ | th |
dc.subject | MOBILE ARCHITECTURE SPACE STRUCTURE FLEXIBILITY MOBILITY | en |
dc.subject.classification | Engineering | en |
dc.title | MOBILE ARCHITECTURE: A DEFINITION THROUGH A RELATIONSHIP BETWEEN FLEXIBILITY AND MOBILITY IN SPACE AND STRUCTURE | en |
dc.title | สถาปัตยกรรมขยับ-ปรับ-เคลื่อน: นิยามบนความสัมพันธ์ความยืดหยุ่นและการเคลื่อนที่ในพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620230016.pdf | 18.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.