Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3748
Title: | ANALYSIS OF THE MURAL PAINTING IN WAT MUANG, BANG PAHAN DISTRICT, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA : TRADITIONAL THAI PAINTING BY LOCAL ARTISTS DURING THE REIGN OF KING RAMA V วิเคราะห์จิตรกรรมฝาผนัง วัดม่วง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา :จิตรกรรมไทยประเพณีสมัยรัชกาลที่ 5 ฝีมือช่างชาวบ้าน |
Authors: | Siraporn KAWINSUPORN ศิรพร กวินสุพร SAKCHAI SAISINGHA ศักดิ์ชัย สายสิงห์ Silpakorn University. Archaeology |
Keywords: | จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมไทยประเพณี วัดม่วง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา MURAL PAINTINGS THAI TRADITIONAL PAINTING WAT MUANG PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this study is to explore the mural paintings of Wat Muang, Bang Pahan district, Phra Nakhon Si Ayutthaya by analyzing contents, expressions, techniques, and styles. It is especially important to investigate artistic influence passed on from royal craftsmen to local artists. This could result in changes in Thai mural paintings into something with unique characteristics. Besides, it could reflect social and cultural changes in this period.
The results of the study suggested that the mural paintings of Wat Muang, Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya demonstrate details and drawing techniques which significantly reflect traditional Thai paintings by royal craftsmen outside capital area during the reign of King RAMA V. The paintings reflect early idealistic of Buddhist scriptures which were not common anymore in the capital area, such as the placement of Trailokya mural painting behind a Buddha statue, the temptation of Mara in front of a Buddha statue, and biography of Buddha and allegory on each side of a Buddha statue. Moreover, the mural paintings of Wat Muang show drawing techniques, contents and other illustrations which employed methods found in early Thai traditional painting combined with Western technique, like perspective.
Mural paintings of Wat Muang impressively represent society and culture during the reign of King RAMA V which was the era of changes. The paintings show a reflection of society and cultures in the capital which are royal traditions, the new dress style of courtiers, the arrival of Western technology, and the improvement of hygiene practices in Bangkok. They also include common way of life and culture in the central region community into the paintings, such as Malai chant at a funeral, the use of folding-book manuscripts before the arrival of Western style books, and local ways of living, including cooking, basketry, buffalo raising that reflects an agricultural or rural society, and public health system. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังวัดม่วง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแสดงออกในงานจิตรกรรม เทคนิคและรูปแบบศิลปกรรม โดยเฉพาะศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลทางศิลปะที่ได้รับมาจากงานช่างหลวงซึ่งเป็นการถ่ายทอดอิทธิพลจากราชสำนักมาสู่งานช่างชาวบ้าน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในงานจิตรกรรมฝาผนังของไทยจนเป็นลักษณะพิเศษ และอาจเป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น จากการศึกษาพบว่าจิตรกรรมฝาผนังวัดม่วง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อหา และเทคนิคการเขียนที่แสดงออกในงานจิตรกรรม ซึ่งสามารถสะท้อนภาพงานจิตรกรรมไทยประเพณี “นอกพระนคร” ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นอย่างดี โดยแสดงเรื่องราวในคัมภีร์พุทธศาสนาตามแบบอุดมคติเดิม ซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้วในพระนคร เช่น การเขียนภาพไตรภูมิโลกสัณฐานที่ผนังสกัดหลัง ภาพมารผจญที่ผนังสกัดหน้า ด้านข้างเป็นภาพพุทธประวัติและชาดก นอกจากนี้ยังพบว่างานจิตรกรรมฝาผนังวัดม่วงมีเทคนิควิธีการเขียน เรื่องราว รวมถึงภาพประกอบอื่นๆ ที่มีแบบแผนของงานจิตรกรรมไทยประเพณีดั้งเดิม และผสมผสานเทคนิคแบบตะวันตกอย่างเช่นการแสดงทัศนียวิสัยไว้ในงานจิตรกรรม งานจิตรกรรมที่วัดแห่งนี้ยังสามารถสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี โดยแสดงให้เห็นถึงภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่มาจากเมืองหลวง เช่น พระราชประเพณีต่างๆ รูปแบบการแต่งกายแบบใหม่ของข้าราชบริพารในราชสำนัก การเข้ามาของเทคโนโลยีแบบตะวันตก และกฎเกณฑ์ด้านสุขอนามัยที่เปลี่ยนแปลงไปในกรุงเทพฯ และยังเขียนภาพวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในชุมชนภาคกลางที่ตนคุ้นเคยสอดแทรกเข้าไปในงานจิตรกรรมด้วย เช่น การสวดพระมาลัยในงานศพ การใช้สมุดไทยก่อนที่จะมีหนังสือแบบตะวันตกเข้ามา และภาพวิถีชีวิตพื้นบ้านเช่น การทำอาหาร การจักสาน การเลี้ยงควายที่สะท้อนสังคมเกษตรกรรมหรือชนบท และระบบสาธารณสุข เป็นต้น |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3748 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60107206.pdf | 15.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.