Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3826
Title: | THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BASED ON BRAIN-BASED LEARNING (BBL) WITH MOTION GRAPHIC MEDIA TO ENHANCE READING AND SPELLING OF STUDENTS IN PRATOM 2 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 |
Authors: | Pharita GARAPARP ภริตา การะภาพ Sitthichai Laisema สิทธิชัย ลายเสมา Silpakorn University. Education |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน การใช้สื่อโมชันกราฟิก การอ่านสะกดคำ LEARNING ACTIVITIES BASED ON BRAIN-BASED LEARNING MOTION GRAPHIC MEDIA READING AND SPELLING |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to 1)develop learning activities based on brain-based learning (BBL) and motion graphic media to enhance reading and spelling abilities in Thai language, 2) compare reading and spelling abilities in Thai language of students in pratom 2 both before and after studying with learning activities based on brain-based learning (BBL) and motion graphic media to enhance reading and spelling abilities in Thai language, 3) explore satisfaction on learning activities based on brain-based learning (BBL) and motion graphic media to enhance reading and spelling abilities in Thai language of students in pratom 2,the sample in this research was selected from 22 students in pratom 2 of Wat Lat Tan school by Simple random sampling. The instruments of this study were 1) a structure interview 2) the learning plan for enhancing reading and spelling abilities by motion graphic media, 3) learning activities based on brain-based learning (BBL) by motion graphic media, 4)The test for evaluating reading and spelling abilities, 5) the satisfaction surveys for motion graphic media, Mean, Standard Deviation, Dependent t-test statistic were used for data analysis.
The results of this research were as follows : 1) The quality of motion graphic media about content in Thai language was overall very good (X= 4.98, S.D.= 0.12) The quality of motion graphic media about design was overall very good (X= 4.92, S.D.= 0.16) The quality of learning activities based on brain-based learning (BBL) was overall very good (X= 4.94, S.D.= 0.23) 2) Reading and spelling abilities by learning activities based on brain-based learning (BBL) and motion graphic media to enhance reading and spelling abilities after studying were statistically significant higher than before studying at 0.01. 3) The satisfactions of students on content, design, benefit of motion graphic media were overall high (X= 2.61, S.D.= 0.03) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลาดตาล จำนวน 22 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในการส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำ โดยใช้สื่อโมชันกราฟิก 3) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานด้วยสื่อโมชันกราฟิก 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านสะกดคำตามมาตรา 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อโมชันกราฟิก การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) ด้านเนื้อหาทางภาษาไทย มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (X= 4.98, S.D.= 0.12) ด้านการออกแบบสื่อโมชันกราฟิก มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (X= 4.92, S.D.= 0.16) และด้านกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (X= 4.94, S.D.= 0.23) 2) ความสามารถในการอ่านสะกดคำตามมาตราตัวสะกดสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่าด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบสื่อโมชันกราฟิก และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 2.61, S.D.= 0.03) |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3826 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60257406.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.