Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3841
Title: | EFFECTS OF EDUCATION DIGITAL GAME AS BASED ON ROBERT GAGNE’S UPON READING COMPREHENSION ABILITY OF FRIST GRADE STUDENTS ผลของเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | Chanchai SUKSAN จันทร์ฉาย สุขสาร Pornpimon Rodkroh พรพิมล รอดเคราะห์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | ความสามารถในการอ่านจับใจความ เกมดิจิทัลเพื่อการศึกษา แนวคิดของ Robert Gagne’s READING COMPREHENSION ABILITY EDUCATION DIGITAL GAME ROBERT GAGNE’S CONCEPT |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were : 1) to compare the reading comprehension ability of first grade before and after using education digital game based on Robert Gagne’s and 2) to study the students’ satisfactions towards the education digital game. The samples were 32 first grade students in semester 2 of the academic year 2020 who studied in Wat Ratchasittharam School under Bangkok Yai District office, Bangkok. They were selected with the simple random sampling method by using the school as the sampling unit.
The research instruments included 1) the education digital game based on Robert Gagne’s, 2) lesson plans, 3) the reading comprehension test, and 4) questionnaires of student’s satisfactions towards education digital game based on Robert Gagne’s. The data were analyzed by using mean (M), standard deviation (SD) and independent t-test.
The findings were as follows.
1. The students who learned through education digital game based on Robert Gagne’s had post-reading comprehension abilities scores higher than pre-reading comprehension abilities scores at .05 level of significance.
2. The students satisfaction toward education digital game based on Robert Gagne’s was at the high level (M = 2.90, SD = 0.32). การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s งานวิจัยนี้มีแบบแผนการวิจัยขั้นต้น (Pre Experimental Research) โดยเป็นการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวมีการสอบก่อนและหลัง (The One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดราชสิทธาราม สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบการอ่านจับใจความ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเกมดิจิทัลเพื่อการศึกษาตามแนวคิดของ Robert Gagne’s อยู่ในระดับมาก (M = 2.90, SD = 0.32) |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3841 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60263305.pdf | 5.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.