Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/385
Title: การพัฒนาตัวแบบยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง
Other Titles: : DEVELOPMENT OF THE STRATEGIC QUALITY MANAGEMENT FOR CREATIVE TOURISM OF SUAN PHUENG MODEL
Authors: ชิณโชติ, ปิรันธ์
CHINACHOT, PIRUN
Keywords: การจัดการคุณภาพ
การท่องเที่ยว
รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์
QUALITY MANAGEMENT
TOURISM MANAGEMENT
CREATIVE TOURISM
Issue Date: 27-Jun-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และจัดองค์ประกอบและตัวแบบของยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง (2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาตัวแบบยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง โดยการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ใช้การวิเคราะห์เอกสาร จากนั้นจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวด้านการท่องเที่ยวได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และนักวิชาการ ในอำเภอสวนผึ้ง จำนวน 17 คน เพื่อข้อมูลพื้นฐาน แบบแผน และรูปแบบ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง ลำดับต่อมา เป็นการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อให้ได้ทราบถึง แนวโน้มขององค์ประกอบประเด็นตัวแบบยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจโดยนำแบบสอบถามใช้กับนักท่องเที่ยวผู้เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่สวนผึ้ง จำนวน 300 คน ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) จากนั้นจึงสังเคราะห์นโยบายแนวทางที่เป็นประเด็นยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้งด้วยการจัดประชุมเชิงนโยบาย (Policy Meeting) ผลการวิจัย พบว่า ยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพเพื่อตัวแบบการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง จะเป็นแนวทางที่จะสามารถช่วยพัฒนาของการท่องเที่ยวของสวนผึ้ง จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการส่งเสริมสินค้าหรือบริการ รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ คงรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน นำมาซึ่งแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยว ในกลุ่มลูกค้าคุณภาพ ให้สามารถมาท่องเที่ยว และเรียนรู้ สร้างความประทับใจในการท่องเที่ยว เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งชุมชน และผู้ลงทุน ทำให้การท่องเที่ยวในอำเภอสวนผึ้งนั้นเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอ องค์ประกอบของยุทธศาสตร์ ใน 9 องค์ประกอบ ในชื่อ PESS+DIMPE โดยองค์ประกอบภายนอกเป็นองค์ประกอบการจัดการคุณภาพได้แก่ 1) ผลงาน 2) ประสิทธิภาพ 3) มาตรฐาน 4) ความพึงพอใจ และองค์ประกอบภายใน การ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง ได้แก่ 5) พื้นที่ท่องเที่ยว 6) นวัตกรรม 7) บุคลากร 8) กระบวนการ 9) เศรษฐกิจ The purposes of this study were 1) To study the context of creative tourism and the model for strategic factors of strategic quality management for creative tourism of Suan Phueng. 2) To proposed the policy of development of the strategic quality management for creative tourism of Suan Phueng. This research included with qualitative and quantitative method as a mix methodology research. For qualitative study, begin with documentary analysis then in-depth interview with 17 stakeholders who related with tourism in Suan Phueng, Ratchaburi, for the result of basic information, pattern, and context of creative tourism. Next, to focus group with the stakeholders who related with tourism in Suan Phueng, Ratchaburi. For the result of the trend for the factors of strategic quality management for creative tourism of Suan Phueng model. For quantitative research, use questionnaires to survey 300 samples then analyzed factors with confirmatory factor analysis method. Last, analyzed the policy of the strategic quality management for creative tourism of Suan Phueng, with the policy meeting method. The study found that the strategic quality management for creative tourism of Suan Phueng model will be the way to improve the tourism in Suan Phueng with collaboration of all stakeholders to promote tourism activities, products and services also conserving the nature and local culture at the same time. These will increase the number of quality tourist who will satisfy from learning and improve their skills by travelling in creative destination. The improvement of tourism in Suan Phueng will create economic prosperity to all stakeholders’ leads tourism sustainability to Suan Phueng. Then researcher proposed 9 factors of PESS+DIMPE which included, external factors 1) Performance 2) Efficiency 3) Standard 4) Satisfaction; and internal factors, 5) Destination 6) Innovation 7) Man 8) Process 9) Economic
Description: 56604922 ; สาขาวิชาการจัดการ -- ปิรันธ์ ชิณโชติ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/385
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ปิรันธ์.pdf87.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.