Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3879
Title: | THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES THE USE OF DIGITAL TECHNOLOGY FOR TEACHING AND LEARNING WITH INFOGRAPHICS THAT AFFECTS DIGITAL LITERACY OF STUDENT TEACHERS FACULTY OF EDUCATION SILPAKORN UNIVERSITY การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Authors: | Patsuda YABOONWAN ภัทรสุดา ยะบุญวัน Siwanit Autthawuttikul ศิวนิต อรรถวุฒิกุล Silpakorn University. Education |
Keywords: | กิจกรรมการเรียนรู้ สื่ออินโฟกราฟิก การรู้ดิจิทัล learning activities infographic digital literacy |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were: The objectives of this research were 1) to develop learning activities on the application of digital technology for teaching with infographic, 2) to compare digital literacy among students teachers Before and after participating in the learning activities on the application of digital technology for teaching with infographics 3) to study the results of media design for teaching and learning that affect digital literacy of students teachers and 4) to study the satisfaction of students teachers The research samples used in were students teachers, first semester, academic year 2021 who enrolled in course Language and Digital Technology for Learning To determine the sample group was obtained by the Simple Random Sampling method using the lottery method. The study groups were randomly selected from 3 groups of 50 students, consisting of the Department of Social Studies, Early Childhood Education and Art Education.
The research instruments were 1) interview form with experts as a guideline for developing learning activities on the digital technology for teaching and learning with infographics. 2) a lesson plans activities on the digital technology for teaching and learning with infographics. 3) Infographics on the application of digital technology for teaching and learning. 4) Measuring Digital literacy 5) An evaluation form for teaching media design and 6) a questionnaire on satisfaction with learning activities on the digital technology for teaching and learning with infographics that affects digital literacy of students teachers .
The research result reveals that: 1) The results of digital literacy of students teachers Before and after participating in learning activities. The digital literacy scores after participating in the activity were significantly higher than the pre-activity test scores with a statistically significant difference at 0.01 2) The results of a study of media design for teaching and learning of students teachers overall is at a good level. 3) The results of a study of satisfaction with learning activities on the digital technology for teaching and learning with infographics. with the highest level of opinion การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก 3) เพื่อศึกษาผลงานการออกแบบสื่อสําหรับการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคต้น ปีการศึกษา 2564 ที่ลงในรายวิชาภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ดําเนินการกําหนดกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้กลุ่มเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เลือกทั้งหมด 3 กลุ่ม จํานวน 50 คน ประกอบด้วย สาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และสาขาวิชาศิลปศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่อการเรียนการสอนอินโฟกราฟิก 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่อการเรียนการสอนอินโฟกราฟิก 3) สื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอน 4) แบบวัดการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) 5) แบบประเมินผลงานการออกแบบสื่อสําหรับการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่อการเรียนการสอนอินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก ผลคะแนนการวัดผลการรู้ดิจิทัลหลังเข้าร่วมกิจกรรม (หลังเรียน) สูงกว่าคะแนนการทดสอบก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม (ก่อนเรียน) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ผลการศึกษาผลงานการออกแบบสื่อสําหรับการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีภาพรวม อยู่ในระดับดี และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับการเรียนการสอนด้วยสื่ออินโฟกราฟิก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3879 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620620134.pdf | 8.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.