Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3930
Title: | An Evaluation on Health Products Advertising on Television Problems Management of Food and Drug Administrationand Office of The National Broadcastingand Telecommunications Commission การประเมินการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ |
Authors: | Wachiraporn NAKSINGH วชิราภรณ์ นาคสิงห์ SURASIT LOCHIDAMNUAY สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย Silpakorn University. Pharmacy |
Keywords: | โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการปัญหาโฆษณา การประเมิน health product advertising advertising problem management Evaluation |
Issue Date: | 26 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to evaluate the problems management on health products advertising on television of food and drug administration (FDA) and office of the national broadcasting and telecommunications commission (NBTC) by using the CIPP model including context evaluation, input evaluation, process evaluation, and product evaluation. It is descriptive research. The quantitative and qualitative data were collected in the sample group, which are 49 officers involved in the problems management and performance data. Data were analyzed by descriptive statistics and open-ended response analysis.
Context evaluation result, the sample group had opinions at a high level, the cooperation of FDA and NBTC in managing the problems of health products advertising is necessary and consistent with the context. Input evaluation result, the whole sample group had opinions at a medium level, the sample group of FDA had opinions at a medium level while the sample group of NBTC had opinions at a high level, the disadvantages are the lack of sufficient staff, workplace, and database, especially the FDA. Process evaluation result, the sample group had opinions at a high level. However, the process of document transmittal, monitoring, and evaluation of success should be improved. Product evaluation result, the whole sample group had opinions at a high-level, cooperation of the FDA and NBTC in managing health product advertising problems broadcast on television make it fast and able to clearly handle more illegal advertising in comparison with before there was cooperation but some of the illegal advertising is repetitive.
The evaluation results showed that the cooperation of the FDA and NBTC in managing health product advertising problems on television was consistent with the context and process suitability is at a high level. Therefore, there should be continued action. However, it should consider supporting more inputs, comprehensive and decisive enforcement of legal penalties, and expanding the scope of cooperation with other relevant agencies to increase the efficiency of consumer protection. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) โดยใช้ตัวแบบ CIPP ประกอบด้วยการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 49 คน และข้อมูลผลการดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลปลายเปิด ผลการประเมินด้านบริบท กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยความร่วมมือของ อย. และ กสทช. ในการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพมีความจำเป็น และสอดคล้องกับสภาวการณ์แวดล้อม ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มตัวอย่างของ อย. มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างของ สำนักงาน กสทช. มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงคือด้านความพอเพียงของบุคลากร ด้านสถานที่ และฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงาน อย. ผลการประเมินด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรับปรุงด้านกระบวนการส่งต่อข้อมูล การกำกับติดตาม และการประเมินผล ผลการประเมินด้านผลผลิต ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมาก การจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ออกอากาศผ่านสื่อโทรทัศน์ โดยความร่วมมือของ อย. และ กสทช. มีความรวดเร็ว และสามารถจัดการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนมีความร่วมมือ แต่ยังพบปัญหาการโฆษณาผิดกฎหมายที่ซ้ำซาก ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า การจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางโทรทัศน์ของ อย. และ สำนักงาน กสทช. มีความสอดคล้องกับสภาวการณ์แวดล้อมและมีความเหมาะสมด้านกระบวนการในระดับมาก จึงควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรพิจารณาสนับสนุนปัจจัยนำเข้าเพิ่มเติม บังคับใช้บทลงโทษตามกฎหมายอย่างครอบคลุมและเด็ดขาด และขยายขอบข่ายความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3930 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60362307.pdf | 5.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.