Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3933
Title: | FACTORS RELATED TO RECEIVE FOOD SERIAL NUMBER OF ONE TAMBON ONE PRODUCT TRADERS IN KANCHANABURI PROVINCE ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับเลขสารบบอาหารของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี |
Authors: | Sasikan KLONGROTPONG ศศิกานต์ กลึงโรจน์พงษ์ Namfon Sribundit น้ำฝน ศรีบัณฑิต Silpakorn University. Pharmacy |
Keywords: | ผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี เลขสารบบอาหาร ONE TAMBON ONE PRODUCT KANCHANABURI FOOD SERIAL NUMBER |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This study aimed to determine the factors related to receive food serial number of one tambon one product traders in Kanchanaburi. The population of this study consisted of food and beverage product traders who registered with Provincial community development office of Kanchanaburi. Data were collected by using a developed mail questionnaire and were analyzed using descriptive statistics and the Chi-square test. Results showed that the response rates are estimated from 138 cases, 24.38%. The respondents were between 51-60 years old 39.1%. The education level was high school 33.3%. The operation period were mostly 5-10 years 37.0%. 95.7% of food production premises not as a factory. 66.7% have the average income per year was less than 100,000 Baht. The OTOP food production could not pass the Good Manufacturing Practice (GMP) were 76.8%. Mostly type of OTOP product were ready to eat products 57.4%. The provincial market is the main market for the OTOP products 62.7%. Traders who received a food serial number on every product 16.7%. Traders who received a food serial number on some products 9.4% and traders who still not receive a food serial number 73.9%. 73.2% of the opinions were at the agree level. 45.7% had high level of knowledge. Regarding to the association between factors and receiving food serial number was being statistically significant at 95% confidence level. Personal factors were age (P-value < 0.001), education (P-value = 0.005). The food production factors were characteristic of business (P-value <0.001), the operation period (P-value <0.001), size of food production (P-value = 0.005), OTOP product income (P-value <0.001), location (P-value = 0.036), Good manufacturing practices (P-value <0.001). The product factors were type of foods (capacity P-value = 0.004, permission documents P-value = 0.039). Type of market (P-value <0.001). Promotion channel (P-value <0.001). Retail pricing (P-value = 0.012). Traders’ opinion were having a food production license is a legal and necessary (P-value = 0.033). Reasonable costs and license fees (P-value = 0.038). Knowledge (P-value = 0.001). Therefore, projects to educate target group of traders with establishing a positive attitude and providing information for food serial numbers in every district could be a strategy for helping OTOP traders and develop products to meet the standard. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับเลขสารบบอาหารของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี ประชากรของการศึกษาคือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นใหม่ส่งทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบแบบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 138 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.38 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 51-60 ปี ร้อยละ 39.1 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 33.3 โดยสถานประกอบการส่วนใหญ่มีระยะเวลาการดำเนินกิจการ 5-10 ปี ร้อยละ 37.0 เป็นแบบไม่เข้าข่ายโรงงานร้อยละ 95.7 ยอดจำหน่ายเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่า 100,000 บาท ร้อยละ 66.7 และส่วนใหญ่สถานประกอบการยังไม่ได้รับหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ร้อยละ 76.8 สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่เป็นประเภทอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีร้อยละ 57.4 มีสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นตลาดในจังหวัดร้อยละ 62.7 สถานประกอบการที่ได้รับเลขสารบบอาหารทุกผลิตภัณฑ์ร้อยละ 16.7 สถานประกอบการที่ได้รับเลขสารบบอาหารบางผลิตภัณฑ์ร้อยละ 9.4 และสถานประกอบการที่ยังไม่ได้รับเลขสารบบอาหารร้อยละ 73.9 ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยร้อยละ 73.2 ความรู้อยู่ในระดับมากร้อยละ 45.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับเลขสารบบอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ (P-value < 0.001) ระดับการศึกษา (P-value = 0.005) ปัจจัยด้านสถานประกอบการ ได้แก่ ลักษณะการดำเนินกิจการ (P-value <0.001) รายได้ (P-value = 0.008) ระยะเวลาการดำเนินกิจการ (P-value <0.001) ขนาดโรงงาน (P-value = 0.005) ยอดจำหน่ายต่อปี (P-value <0.001) สถานที่ตั้ง (P-value = 0.036) มาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีในการผลิตอาหาร (P-value <0.001) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ประเภทอาหาร (จำนวนผลิตภัณฑ์ P-value = 0.004, เอกสารการขออนุญาต p = 0.039) สถานที่จำหน่าย (P-value <0.001) ช่องทางการขาย (P-value <0.001) ราคาขายปลีกต่อผลิตภัณฑ์ (P-value = 0.012) ปัจจัยด้านความคิดเห็น ได้แก่ การมีใบอนุญาตผลิตอาหารเป็นเรื่องที่ถูกต้องและจำเป็นถึงแม้จะมีใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นแล้วก็ตาม (P-value = 0.033) ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตมีความเหมาะสม (P-value = 0.038) และปัจจัยสุดท้ายคือปัจจัยด้านความรู้ (P-value = 0.001) ดังนั้นการดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารตามกฎหมายแก่ผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย การประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลการขออนุญาตเลขสารบบอาหารแบบเชิงรุกในทุกอำเภอ อาจเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการให้ความสำคัญและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมาตรฐานต่อไป |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3933 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61352307.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.