Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3960
Title: | OTOP NAWATWITHI COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENT MODEL FOR SUSTAINABLE COMMUNITY DEVELOPMENT รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน |
Authors: | Wanlop WANNAOSOTE วัลลภ วรรณโอสถ Santidhorn Pooripakdee สันติธร ภูริภักดี Silpakorn University. Management Sciences |
Keywords: | การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ทุนวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน COMMUNITY-BASED TOURISM MANAGEMENT COMMUNITY ENGAGEMENT CULTURAL CAPITAL OTOP NAWATWITHI TOURISM COMMUNITY SUSTAINABLE COMMUNITY DEVELOPMENT |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: |
OTOP Nawatwithi community-based tourism management model for sustainable community
development aimed to 1) study the components of OTOP Nawatwithi community-based tourism management,
2) examine OTOP Nawatwithi community-based tourism management that influences the sustainable community development, 3) study OTOP Nawatwithi community-based tourism management that influences the sustainable community development through the community engagement, 4) study OTOP Nawatwithi community-based
tourism management that influences the sustainable community development through cultural capital, and
5) develop the OTOP Nawatwithi community-based tourism management model. The present research was a
mixed-methods research. A questionnaire was administered to collect quantitative data, and a focus-group interview was conducted to collect qualitative data.
For the quantitative research, the research samples were representatives from 400 OTOP Nawatwithi tourism communities (presidents/vice presidents) all over the country. The research samples were categorized based on the capacity of their communities, resulting in four groups of OTOP innovative tourism communities, namely Attractive: A, Brighten: B, Case Study: C, and Delivery Products: D. For the qualitative research, a focus-group interview with eight experts was conducted. The experts were asked to determine major variables and additional variables associated with OTOP Nawatwithi community-based tourism management. The eight experts were selected based on their expertise and knowledge in tourism, community-based tourism, OTOP Nawatwithi community-based tourism management, or their engagement in organizing activities for tourism communities or providing supports and supervision to OTOP Nawatwithi tourism communities.
The findings revealed that 1) the OTOP Nawatwithi community-based tourism management consists of four components, which are creative service for tourism, participatory communication for tourism, resource capitals for tourism, and business structure for tourism. 2) The OTOP Nawatwithi community-based tourism management influences sustainable community development. 3) Community engagement is a partial moderator variable of the OTOP Nawatwithi community-based tourism management that influences sustainable community development. 4) Cultural capital is a partial moderator variable of the OTOP Nawatwithi community-based tourism management that influences sustainable community development. 5) The model of community-based tourism management for sustainable community development is the CHAMP Model, which consists of Community resources, Harmonization, Accountability, Monetary support, and People engagement. รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ครั้งนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถี 2. เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 3. เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีที่มีอิทธิพล ต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน 4. เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีที่มีอิทธิพล ต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านทุนวัฒนธรรม และ 5. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีเพื่อ การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัย ได้ดำเนินการจัดการการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยเล่มนี้ คือตัวแทนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี (ประธาน/รองประธาน ชุมชน) จำนวน 400 ชุมชนทั่วประเทศ โดยผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามศักยภาพของชุมชน สามารถแบ่งชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ชุมชนท่องเที่ยวดาวเด่น (Attractive: A) 2. ชุมชนท่องเที่ยวดาวรุ่ง (Brighten: B) 3. ชุมชนโดดเด่น เฉพาะด้าน (Case Study: C) 4.ชุมชนสินค้า OTOP (Delivery Products: D) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้จัดการสนทนากลุ่มกับ ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 8 คน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกตัวแปรหลักและเสนอตัวแปรเสริมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถี โดยผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสนทนากลุ่มต้องมีความเชี่ยวชาญและต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้าน การท่องเที่ยว/การท่องเที่ยวโดยชุมชน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้ชุมชนท่องเที่ยว หรือมีส่วนช่วยสนับสนุนดูแลชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถี มีทั้งหมด 4 กลุ่มได้แก่ ด้านการบริการเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว ด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยว ด้านทุนทาง ทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว และด้านโครงสร้างกิจการเพื่อการท่องเที่ยว 2. การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 3.การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นตัวแปรกลางแบบบางส่วนของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน OTOP นวัตวิถีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 4.ทุนวัฒนธรรม เป็นตัวแปรกลางแบบบางส่วนของการจัดการการท่องเที่ยว โดยชุมชน OTOP นวัตวิถีที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน 5.รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนา ชุมชนอย่างยั่งยืน คือ CHAMP Model ซึ่งประกอบไปด้วย ทรัพยากรของชุมชน (Community Resources) การทำงานแบบ เชื่อมประสาน (Harmonization) ความรับผิดชอบตามพันธะสัญญาและมุ่งเน้นด้านจริยธรรม (Accountability) การสนับสนุน ทางการเงิน (Monetary Support) และสมาชิกในชุมชน (People Engagement) |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3960 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60604907.pdf | 4.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.