Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3984
Title: | Lost identity ตัวตนที่หายไป |
Authors: | Tanawitch MEENETTIP ธนวิชญ์ มีเนตรทิพย์ Pishnu Supanimit พิษณุ ศุภนิมิตร Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education |
Keywords: | ตัวตนที่หายไป LOST IDENTITY |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Creative art thesis on The lost appearance aims to create the sculptures in the story of the human who was lost their appearance from the judgment of society in detail of working, body, taste, and behavior of their life. All the things have effects on human life to make humans be the other than yourself A situation like this always has lots of effects on me in many ways. From my parent, society, or people around me. When this situation has come it's too hard to avoid, and problems that come in to my life about work. Which made the humans to lost their appearance of concern and pressure all the time.
This art thesis has presented by sculpture in the story of The lost appearance. The concern and pressure in the situation have got to me. Analysis and research in the deep of my mind and the environment include the technic to present this mixed media sculpture to make the symbol of artworks by the thinking and meaning has present about strain and pressure of artworks.
The result of the art thesis has analyzed information with the objective to present the mixed-media sculpture in 3 pieces. The first name's Imprison presents the imprisonment of thinking. The second is named Incarcerated presents the dependence and the frame of society. The third is name Castaway presents drifting in life, all problems that can't fix in life, Stressful conditions, and the pressure. การสร้างสรรค์ผลงานวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง ตัวตนที่หายไป มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม จากเรื่องราวของการสูญเสียตัวตน เกิดจากสังคมที่มักจะตัดสินผู้คนจากความเป็นอยู่ หน้าที่การงาน รูปลักษณ์ภายนอกเช่น ภาพลักษณ์ บุคลิกการแต่งกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต รสนิยม รวมถึงการแสดงออกทางความคิดและทัศนคติ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำเป็นการตัดสินว่าดีงามหรือเลวร้ายและมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องไปจนถึงคนรอบข้าง ที่มีวิธีการ ในลักษณะเดียวกัน ใช้วิธีคิดส่วนตัวของตนเองชี้นำให้ผู้คนปฏิบัติตามและให้ผู้คนเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่ตนเองคิดว่าควรจะเป็น ข้าพเจ้าประสบกับสถานการณ์เช่นนี้อยู่เสมอมา ทั้งจากครอบครัว สังคม และคนรอบข้างต่างคิด กำหนดบทบาท และชี้นำการตัดสินใจแก่ข้าพเจ้า เมื่อตกอยู่สภาวะนี้ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงและปฏิเสธได้ และปัญหาที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องการทำงานภาระหน้าที่ของการทำงานและความรับผิดชอบที่กดดันความตึงเครียดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั้นข้าพเจ้าต้องพบเจออยู่เสมอมา และการทำงานร่วมผู้คนที่หลากหลาย ทำให้เกิดสภาพของการสูญเสียตัวตน ความเครียดและความกดดันอยู่ตลอดเวลา นำเนอผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบของผลงานประติมากรรม ซึ่งมีเนื้อหาในผลงานเกี่ยวกับ ตัวตนที่หายไป สภาวะความเครียดและความกดดัน ที่ได้รับจากสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตัวข้าพเจ้า การวิเคราะห์รวบรวมความรู้สึกภายในส่วนลึกจิตใจและสภาพแวดล้อม รวมถึงการหาเทคนิคที่นำมาสะท้อนความรู้สึกที่ต้องการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานโดยการใช้ประติมากรรมโดยมีวัสดุเป็นตัวสื่อสัญญะให้ตัวผลงานมีแนวคิดและมีความหมาย สะท้อนความรู้สึกถึงความเครียดและความกดดันนั้น จึงเกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ขึ้น ผลของการศึกษาและสร้างสรรค์ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานให้ ตรงต่อวัตถุประสงค์โดยแสดงออกเป็นผลงาน ประติมากรรม (sculpture) จำนวน 3 ชิ้น ดังนี้ ชิ้นที่ 1 ชื่อผลงาน “กักขัง” สะท้อนถึงการถูกกักขังทางด้านความคิด, ชิ้นที่ 2 ชื่อผลงาน “จองจำ” สะท้อนถึงการขาดอิสระ การถูกตีกรอบ, ชิ้นที่ 3 ชื่อผลงาน “ล่องลอย” สะท้อนถึงความเคว้งคว้างว่างเปล่ากับปัญหาต่างๆที่หาทางแก้ไม่ได้ สภาวะความเครียดสะสม และการถูกกดดัน ผลงานชุดนี้สื่อถึง ความเครียดและความกดดัน จากสภาพแวดล้อม สภาพสังคม สู่การสูญเสียตัวตนที่ข้าพเจ้าได้พบเจอ |
Description: | Master of Fine Arts (M.F.A.) ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3984 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
636120007.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.