Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4075
Title: AN ASSESSMENT OF SUSTAINABLE CAMPUS PLANNING OF SILPAKORN UNIVERSITY SANAM CHANDRA PALACE CAMPUS DISTRICT, NAKHON PATHOM PROVINCE 
การประเมินความยั่งยืนทางด้านการวางผังของย่านมหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
Authors: Waraporn VICHIANCHAT
วราพร วิเชียรชาติ
Sineenart Sukolratanametee
สินีนาถ ศุกลรัตนเมธี
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ย่าน
มหาวิทยาลัย
ย่านมหาวิทยาลัย
NEIGHBORHOOD
UNIVERSITY
UNIVERSITY NEIGHBORHOOD
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Silpakorn University, Sanam Chandra Campus, Nakhon Pathom Province, is part of the Sanam Chandra Palace which is an important historic site of Nakhon Pathom Province.  The university has approved the 20-year master plan aiming for its sustainable environment that, in theory, has to incorporate the environment of the campus and its vicinity, including local developmental plans. This research aims to assess environmental sustainability of Silpakorn University, Sanam Chandra Campus using LEED-ND’s criteria for Smart Location and Linkage (SLL) and Neighborhood Pattern and Design (NPD) for an outdoor evaluation at the field study.  The result will lead to recommendations for improving the campus’s environmental design to achieve environmental sustainability. The assessment results show that the campus area passes all prerequisite criteria of Smart Location and Linkage (SLL) scoring 22 out of 28 credits, which indicates its potential in its smart Location and linkage.  However, it does not pass a prerequisite criterion of Neighborhood Pattern and Design (NPD), i.e., NPD P1: Walkable Streets.  It also scores merely 18 out of 41 credits, indicating its low potential in sustainable pattern and design due to the lack of continuous sidewalks to facilitate variety of purposes and destinations. The recommendations towards the campus’s sustainable environment consists of (1) improving sidewalks and bicycle paths to meet their standards, including adding new sidewalks to conver at least 90% of the total road; (2) having new buildings or improving existing ones to face sidewalks and having shallow setbacks; (3) transforming parking lots in front of buildings into the multipurpose yard to reduce the obstruction of pedestrians. plazas and Providing free public transportation on campus as substitution for parkings space; and (4) increasing connectivities at ground level to various services and facilities in the university area.
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่พระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยฯ ได้มีการวางผังแม่บท 20 ปีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่ได้หมายถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายในขอบเขตของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแผนพัฒนาส่วนท้องถิ่น และการออกแบบของพื้นที่ใกล้เคียงด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยเลือกใช้เกณฑ์ LEED-ND หมวดที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด (SLL) และรูปแบบและการออกแบบย่านชุมชน (NPD) มาประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารของพื้นที่ศึกษา เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาย่านมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ให้บรรลุผลความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป ผลการประเมินพบว่าพื้นที่ศึกษาในระดับย่านผ่านเกณฑ์บังคับทั้งหมดในหมวดที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด (SLL) และผลเกณฑ์คะแนนได้ 22 คะแนน จาก 28 คะแนน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่มีศักยภาพทางด้านที่ตั้งและการเชื่อมต่อที่ชาญฉลาด แต่ไม่ผ่านเกณฑ์บังคับหมวดรูปแบบและการออกแบบย่านชุมชน (NPD) ในเกณฑ์ NPD P1 (Walkable Streets) และผลการประเมินเกณฑ์คะแนนในหมวดนี้ได้ 18 คะแนน จาก 41 คะแนน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ศึกษามีศักยภาพต่ำทางด้านรูปแบบและการออกแบบของย่านชุมชนที่ยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ศึกษาในระดับย่าน ขาดทางเท้าที่ต่อเนื่องที่เชื่อมต่อไปยังสิ่งอำนวยความสะดวกและการใช้งานที่หลากหลาย ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาพื้นที่ศึกษาเพื่อความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย (1) การปรับปรุงสร้างเส้นทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยานให้มีขนาดความกว้างที่เกณฑ์กำหนดหรือการวางแผนสร้างเส้นทางดังกล่าวในอนาคตในร้อยละ 90 ของเส้นทางการสัญจรทั้งหมด (2) กำหนดให้อาคารก่อสร้างใหม่หรือปรับปรุงหันหน้าไปยังเครือข่ายทางสัญจรและมีระยะทางเข้าอาคารใกล้กับทางเท้า (3) การลดพื้นที่ลานจอดรถด้านหน้าอาคารปรับเปลี่ยนให้เป็นลานอเนกประสงค์ เพื่อลดการขัดขวางการสัญจรของผู้เดินเท้า พร้อมทั้งการจัดการเพิ่มรอบบริการขนส่งสาธารณะและไม่เก็บค่าบริการในพื้นที่ศึกษาเพื่อทดแทนที่จอดรถที่หายไป และ (4) การเพิ่มทางแยกการเชื่อมต่อ อาจจะลดการปิดกั้นอาคารชั้นแรกที่สามารถเชื่อมไปยังสถานที่บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ในพื้นที่มหาวิทยาลัย ฯ
Description: Master of Landscape Architecture (M.L.A.)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4075
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60060205.pdf11.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.