Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4094
Title: AESTHETIC OF KHON: SENSORY INTERACTION DESIGN FOR INTELLECTUAL STIMULATION
สุนทรียรสแห่งโขน : การออกแบบผัสสสัมพันธ์เพื่อขยายผลมิติทางปัญญา
Authors: Yathana PAKAWATTANAKOSON
ญาฐณา ภควัตธนโกศล
Supavee Sirinkraporn
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: สุนทรียรส / โขน / ออกแบบ / ผัสสสัมพันธ์ / การตีความ / ศิลปกรรมร่วมสมัย / ศิลปกรรมสมัยใหม่
AESTHETIC / KHON / SENSORY / DESIGN / CONTEMPORARY ART / MODERN ART
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   This study aimed to 1) study and analyze Ramakien play to find the aesthetic of the Khon using the principle of Sansakirt literature 2) to study and analyze the patterns of Khon perception and the future demand for Khon among new generations 3) to conduct research, develop the core knowledge, conceptual framework for creating contemporary art on the basis of aesthetic and scientific principles that can improve mental and intellectual level of new generations and 4) to design and create new prototype contemporary art that is suitable for new generation and can provide satisfaction during and after use. The tools used in this study were 1) questionnaires about experience in learning Khon, satisfaction level, and future expectations 2) a questionnaire for the Khon experts on Khon performance and the perception in Sanskrit literature 3) a questionnaire to evaluate the effectiveness and satisfaction of the draft designed product and prototype designed product and 4) a set of 1 creative draft prototype, which was Royal Icing Cookies, and three prototypes products, which were 1) Macaroons 2) Tea and home café beverage and 3) snack and beverages in a contemporary art style namely Ne-Ra-Mit-Sa-Na-Yod Ton Jong-Ta-non. The results found that: 1) The Ramakien drama used for the Khon performance contained all nine types of aesthetic in Sanskrit literature. For the Khon drama, each episode had its own unique and differences based on its aesthetic type. The aesthetics of the perception of the play to the Khon performance in the form of Thai dances were the passing of authors’ imagination in an abstract way through dance moves, music, dresses, props, back stages, and lights, which the audience can perceive those through the senses of sight and hearing in such a beautiful, exquisite concrete form. 2) At the moment, Khon awareness patterns in the target audience were primarily concerned with participation. The target group was interested in communication patterns that promote the understanding as well as aesthetics perception, and also the changes in the presentation style that can feel and be accessible. The target group wanted to change the way they perceived Khon performance in the future so that it could be more engaging with the audience throughout activities such as drinking, eating, listening, feeling, and hearing 3) Through the use of five perception ways, create new Khon performance learning experiences that represent the meaning of Khon in a touchable, friendly, and connected to the learner's previous experience. These can be accomplished by employing techniques developed from or imitating real-world experiences, as well as a variety of perceptions based on feeling aesthetic relationship design, aesthetics relationships, and psychology. All of this could be used as conceptual framework for creating new contemporary art on the basis of aesthetic and scientific principles, which can promote mental and intellectual levels for the new generations, as well as for creating a form of Khon learning experience in which learners feel happy while their brain develops, particularly their analytical, thinking, or critical thinking, while maintaining the sense of such aesthetics. 4) The first step in designing and creating contemporary art is transmission of Khon drama to a contemporary art form based on artistic and visual arts principles, which later became a touchable contemporary art work while retaining the important uniqueness of Khon performance. is the design and creation of new contemporary art. using food and beverages to appeal to the five senses. This was accomplished by developing concrete works to abstract works from unraveling and decreasing until the work shown was not in the form of drama, mottle, tradition, but the way of life that the target audience feels familiar with through the chemical property such as water, carbohydrates, protein, or chemicals that benefit their health, or the physical property such as color, shape, taste, smell, texture while shewing, food processing, plate decoration, environment and ambience that were perfectly combine. These can effectively enhance and support Khon learning. All of this resulted in a suitable and effective work. According to the satisfaction on new modern art results, the prototype work, Ne-Ra-Mit-Sa-Nad Ton Jong Ta Non, was at a high level with an average of 4.03. For the quiality, on the other hand, was in the highest level with an average of 4.21.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา และวิเคราะห์บทละครรามเกียรติ์ เพื่อค้นหาสุนทรียรสโขน ด้วยหลักของรสวรรณคดีสันสกฤต 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบ การรับรู้โขนความพึงพอใจ และความต้องการในอนาคตต่อโขนของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน 3) เพื่อวิจัย สร้างองค์ความรู้ กรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมร่วมสมัยบนพื้นฐานหลักการของ สุนทรียศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาระดับจิตใจและสติปัญญาให้กับคนรุ่นใหม่ และ 4) เพื่อการออกแบบและผลิตงานศิลปกรรมร่วมสมัยต้นแบบที่มีความเหมาะสมกับคนรุ่นใหม่และ เกิดความพึงพอใจในระหว่าง และหลังการใช้งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามประสบการณ์การเรียนรู้โขน ความพึงพอใจ และความคาดหวัง ในอนาคต 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโขนที่มีต่อการแสดงโขนและรสวรรณคดีสันสกฤต 3) แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของร่างต้นแบบผลงาน และผลงานงานต้นแบบ 4) แบบประเมินคุณภาพของร่างต้นแบบผลงานและผลงานงานต้นแบบและ 5) ชุดผลงานสร้างสรรค์ ร่างต้นแบบ จำนวน 1 ชิ้นงาน คือ คุกกี้รอยัลไอซิ่ง (Royal Icing Cookies) ทศกัณฐ์ลงสวน และ ผลงานต้นแบบ จำนวน 3 ชิ้นงาน คือ 1) คุกกี้ขนาดเล็ก มาการอง (Macaroons) หนุมานจองถนน 2) เครื่องดื่ม ชา (Tea) เครื่องดื่มคาเฟ่ที่บ้าน (Home Cafe) และ 3) อาหารว่างเครื่องดื่มรูปแบบ งานศิลปกรรมร่วมสมัย เนรมิตรสนายฏ ตอนจองถนน ผลการวิจัย พบว่า 1) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้สำหรับการแสดงโขน พบรส ตามวรรณคดีสันสกฤตทั้ง 9 รส สำหรับบทละครโขนที่นำมาใช้แสดงในแต่ละตอนนั้นจะมีความ โดดเด่นแตกต่างกันออกไปของรสตามวรรณคดีสันสกฤต ซึ่งสุนทรียรสของการรับรู้บทละคร สู่การแสดงโขนในรูปแบบนาฏศิลป์ไทย คือการถ่ายทอดจินตนาการจากผู้ประพันธ์บทในรูปแบบ นามธรรมผ่านทางลีลาท่ารำ เพลงดนตรี เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง ตลอดจนฉาก แสงสีเสียงนั้นออกมาให้ผู้ชมได้รับรู้ผ่านผัสสะได้ การมองเห็น และการได้ยินอย่างเป็นรูปธรรม ที่มีความสวยงามวิจิตรบรรจง 2) รูปแบบการรู้โขนในปัจจุบันกลุ่มเป้าหมาย จะคำนึงถึงการมีส่วนร่วมมาเป็นอันดับแรก โดยกลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญกับรูปแบบการสื่อสารที่ส่งเสริมความเข้าใจ พร้อมกับการรับรู้สุนทรียรส ของโขนไปด้วยกัน และรูปแบบการนำเสนอจะเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สามารถสัมผัสและเข้าถึงได้ ในอนาคตกลุ่มเป้าหมายต้องการปรับรูปแบบการรับชมโขนโดยให้ผู้ชม มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่น การดื่ม การกิน การฟัง การสัมผัส และการได้ยิน เป็นต้น 3) การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้โขน ผ่านการตีความ แทนความหมายของโขนให้จับต้องได้ เป็นมิตร เชื่อมต่อกับประสบการณ์ก่อนหน้าของผู้เรียน ผ่านการใช้ผัสสะทั้ง 5 ที่หลากหลาย เชื่อมต่อ กับประสบการณ์ก่อนหน้าของผู้เรียน ด้วยเทคนิคที่สร้างหรือเลียนแบบประสบการณ์จริงของโลกและใช้ประสาทสัมผัสทีหลากหลาย บนพื้นฐานหลักการออกแบบผัสสะสัมพันธ์ สุนทรียศาสตร์สัมพันธ์ และหลักจิตวิทยา สามารถใช้เป็นกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมร่วมสมัยบนพื้นฐานหลักการของสุนทรียศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาระดับจิตใจและสติปัญญาให้กับ คนรุ่นใหม่ สร้างรูปแบบปราบการณ์การเรียนรู้โขนที่ผู้เรียนมีความสุขและสมองเจริญเติบโตด้วยดี โดยเฉพาะในเรื่องของกระบวนการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) โดยยังต้องกลิ่นอาย หรือ 4) การออกแบบและผลิตงานศิลปกรรมร่วมสมัย ต้นแบบ ผู้วิจัยได้เริ่มวิเคราะห์และค้นหาการถ่ายทอดบทละครโขนรูปแบบงานศิลปกรรมร่วมสมัย ด้วยหลักการทางองค์ประกอบศิลป์ และหลักทัศนศิลป์ ออกมาเป็นงานศิลปกรรมร่วมสมัยที่สามารถ จับต้องได้ และคงเอกลักษณ์ที่สำคัญของการแสดงโขนเอาไว้ ผ่านผัสสะทั้ง 5 ด้วยอาหารและ เครื่องดื่ม ภายใต้ความคิด รักษาแก่นเดิม เพิ่มเติมความงามและคุณค่าใหม่ จากการพัฒนาผลงาน เชิงรูปธรรม สู่งานเชิงนามธรรม จากการคลี่คลายและค่อย ๆ ลดทอน จนไม่ปรากฏผลงาน ในรูปลักษณะละคร คติ ประเพณีนิยม แต่เป็นวิถีชีวิตที่กลุ่มเป้าหมายคุ้นเคยผ่านคุณสมบัติ ทางสารเคมี เช่น น้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และ คุณสมบัติ ทางกายภาพ เช่น สี รูปทรง รส กลิ่น พื้นผิวสัมผัสเมื่อยามบดเคี้ยว การแปรรูปอาหาร ตลอดจนการจัดตกแต่งภาชนะ สภาพแวดล้อมและการสร้างบรรยากาศให้ผสมผสานอย่างลงตัว ช่วยสร้างเสริบสนับสนุนอรรถรสการเรียนรู้ได้โขนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความพึงพอใจที่มีต่อ ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ผลงานต้นแบบ เนรมิตรสนาฏย ตอนจองถนน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03) และคุณภาพผลงานศิลปกรรมสมัยใหม่ผลงานต้นแบบ เนรมิตรสนาฏย ตอนจองถนน อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.21)
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4094
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620430013.pdf14.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.