Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4109
Title: | The Development of Science Process Skill and Scientific Creativity Taught By Inquiry-Based Learning for Fifth Grade Students การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
Authors: | Maliwan JANBANG มลิวัลย์ จันทร์บาง Siriwan Vanichwatanavorachai ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย Silpakorn University. Education |
Keywords: | ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ Inquiry-based learning Science process skill Creative science |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objective of this research were 1) to examine the scientific achievement of fifth-grade students in science subjects before and after using the inquiry-based learning instruction,
2) to investigate the science process skills of fifth-grade students before and after implementing inquiry-based learning, 3) to study the scientific creativity of fifth-grade students before and after using inquiry-based learning methods. 4) to study fifth-grade students' attitude toward the inquiry-based learning instruction. The study participants were eight fifth-grade students from Watradsamugkee School in BangLen district, Nakhon Pathom province, during the second semester of the 2021 academic year. The experiment took 18 hours to complete. One Group Pretest - Posttest Design was used for the research. The data was analyzed using percentages (%), average scores (X ̅), and standard deviations (S.D.).
The results of this research were as follows:
1) The average scientific achievement of fifth-grade students in science topics increased considerably after using inquiry-based learning instruction.
2) Remarkably, students' scientific process abilities improved after implementing inquiry-based learning instruction.
3) Fifth-grade students' scientific creativity after implementing inquiry-based learning was also significantly at the high level.
4) Overall, fifth-grade students' opinions toward inquiry-based learning instruction was excellent. การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 3) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดราษฎร์สามัคคี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 8 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ใช้เวลา 18 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย One Group Pretest - Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 3) ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก 4) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้หลังการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด |
Description: | Master of Education (M.Ed.) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4109 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60263324.pdf | 6.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.