Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4181
Title: | The effectiveness of family pharmacist interventions on cardiovascular risk in patients with diabetic kidney disease in Primary Care Cluster, Angthong2 hospital. ประสิทธิผลของการให้กระบวนการการดูแลโดยเภสัชกรครอบครัวต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยไตเรื้อรังจากเบาหวาน คลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลอ่างทอง2 |
Authors: | Papassara WANNATHONG ปภัสรา วรรณทอง Wiwat Thavornwattanayong วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ Silpakorn University. Pharmacy |
Keywords: | เภสัชกรครอบครัว เภสัชกรรมปฐมภูมิ ปัญหาเกี่ยวกับยา Family Pharmacist Intervention primay care pharmacy drug related problem |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Patients with diabetic kidney disease (DKD) have a high cardiovascular risk (CV risk). The purpose of this study was to assess the effectiveness of Family Pharmacist Intervention (FPI), comparing this with Usual Care (UC) on clinical outcomes, health, quality of life outcome (EQ5D5L) and drug using outcomes consisting of drug related problem (DRP), drug related suffering (DRS) and drug system problems in a primary setting (DSP).
This study was conducted among a randomized control trial of 96 patients with DKD who were treated at Angthong2 hospital primary care unit. Patients were randomly assigned to receive FPI (n=48) or UC (n=48). The baseline outcome was not significantly different between the two groups. Results were obtained during June to March 2020. FPI was provided to the FPI group once a month for 6 months. This was a family medicine concept that emphasized patient centered care, with effective communication and aimed to find common ground regarding management between patients and pharmacist. The results, the FPI group had clinical outcomes that were, on average, for systolic blood pressure, diastolic blood pressure and total cholesterol – significantly lower than the UC group. However, other clinical outcomes (HbA1C, FBS, LDL, HDL, eGFR and %Thai CV risk) were not different, but the trend changing in FPI group were in a better direction. In addition, the mean of %Thai CV risk of FPI after intervention was lower than the baseline, while the UC group was not different. For the Quality of Life outcome, the FPI group had a mean of utility scores different to the UC group (0.927±0.086 and 0.892±0.100 in FPI group and UC group respectively, p=0.044). With drug using outcome, we found 157 DRPs in FPI group (75.8% were resolved) and 43 DRPs in UC group (41.9% were resolved). In addition DRS and DSP were found in the FPI group, and there were 84 DRSs with the most DRS among patients who got stress and anxiety about drug using (50% of all DRSs). There were 34 DSPs with the most DSPs found in continuing care management in community problems (58.9% of all DSPs).
In conclusion, FPI is an important intervention to explore DRPs, DRSs and DSPs by the pharmacist to resolve them. Eventually, the effectiveness of FPI was greater than UC in some clinical outcomes regarding to CV risk factors and quality of life. ผู้ป่วยไตเรื้อรังจากเบาหวานมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูง การดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวจึงมีความสำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการการดูแลโดยเภสัชกรครอบครัว (Family Pharmacist Intervention; FPI) กับการได้รับบริการตามปกติ (Usual care; UC) โดยศึกษาผลลัพธ์ด้านคลินิกที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และการทำงานของไตผลลัพธ์คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (วัดด้วย EQ5D5L) และผลลัพธ์ด้านการใช้ยา ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับยา (DRP) และในกลุ่มที่ได้รับ FPI มีการศึกษาความทุกข์จากการใช้ยา (DRS) และปัญหาที่เกิดจากระบบยา (DSP) การศึกษานี้เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มในผู้ป่วยไตเรื้อรังจากเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลอ่างทอง2 จำนวน 96 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม FPI จำนวน 48 ราย และกลุ่ม UC จำนวน 48 ราย ทำการศึกษาตั้งแต่มิถุนายน 2562 ถึงมีนาคม 2563 ซึ่งผลด้านคลินิกเริ่มต้น ได้แก่ ความดันโลหิต, HbA1C, Total cholesterol; TC, LDL, eGFR และ %Thai CV risk รวมถึงค่าอรรถประโยชน์ระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้กระบวนการให้ FPI ดำเนินการเดือนละ1 ครั้ง นาน 6 เดือน โดยยึดตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขระหว่างเภสัชกร และผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่าทางด้านคลินิก กลุ่ม FPI มีค่าเฉลี่ยของ SBP, DBP และ TC ต่ำกว่ากลุ่ม UC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่สำหรับผลทางคลินิกอื่น ได้แก่ HbA1C, FBS, LDL, HDL, eGFR พบว่าไม่แตกต่างกันแต่กลุ่มที่ได้รับ FPI มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีกว่า และมีการลดลงของ %Thai CV risk มากกว่ากลุ่ม UC ส่วนด้านคุณภาพชีวิตพบว่าค่าเฉลี่ยของค่าอรรถประโยชน์ กลุ่ม FPI สูงกว่ากลุ่ม UC (0.927±0.086 และ 0.892±0.100 ตามลำดับ ที่ p=0.044) และผลลัพธ์ด้านการใช้ยาพบว่ากลุ่ม FPI ค้นพบDRP 157 ปัญหา และกลุ่ม UC 43 ปัญหา แก้ไขได้ร้อยละ75.8 และ 41.9 ตามลำดับ DRPที่พบมากที่สุดในกลุ่ม FPI คือ ความร่วมมือในการรักษา (ร้อยละ43.9 ของ DRPทั้งหมด) และกลุ่ม UC คือ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม (ร้อยละ 39.5 ของ DRPทั้งหมด) นอกจากนี้ในกลุ่ม FPI มีการศึกษา DRS และ DSP พบว่าผู้ป่วยเกิด DRS 84 ปัญหา โดยผู้ป่วยเครียด หรือกังวลใจในการใช้ยาพบมากที่สุด (ร้อยละ 50.0 ของ DRS ทั้งหมด) ส่วน DSP พบ34 ปัญหา โดยปัญหางานจัดระบบดูแลต่อเนื่องด้านยาในชุมชนพบมากที่สุด (ร้อยละ 58.9 ของDSPทั้งหมด) จากการศึกษาสรุปผลได้ว่า FPI เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เภสัชกรค้นพบปัญหาการใช้ยา ความทุกข์จากการใช้ยา รวมถึงปัญหาเชิงระบบยาของหน่วยปฐมภูมิที่เกิดกับผู้ป่วย และกลุ่มที่ได้รับ FPI มีประสิทธิผลดีกว่ากลุ่ม UC ในด้านผลลัพธ์ทางคลินิกที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดบางประการ และด้านคุณภาพชีวิต |
Description: | Master of Pharmacy (M.Pharm) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4181 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60362303.pdf | 4.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.