Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/423
Title: | ผลของการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณยาสมุนไพรของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
Other Titles: | EFFECT OF THE MODIFIED HERBAL MEDICINE BUDGETING FOR THE COMMUNITY HOSPITALS IN SURAT THANI PROVINCE. |
Authors: | ชุติเวทคู, โศภิษฐ์ CHUTIWETKOO, SOPIT |
Keywords: | ระบบงบประมาณ สมุนไพร บริหารเวชภัณฑ์ โรงพยาบาล BUDGET SYSTEM HERBAL INVENTORY MANAGEMENT HOSPITAL |
Issue Date: | 12-Jul-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Study) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการบริหารเวชภัณฑ์ยาสองระบบงบประมาณของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 19 แห่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ระบบงบประมาณยาสมุนไพรที่ใช้งบอุดหนุนสมุนไพรซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จัดสรรจากงบ UC รวมของทุกรพช. (“ระยะงบอุดหนุน”) ซึ่งดำเนินการในช่วง เดือนพฤษภาคม 2555 – เมษายน 2556 กับระบบงบประมาณที่โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบมูลค่าเบิกจริงของหน่วยงานตน ( “ระยะปรับทวนงบ”) ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม 2556 – เมษายน 2557 เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการบริหารเวชภัณฑ์รายเดือนของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและผลการบริหารเวชภัณฑ์แต่ละช่วงเวลาของแต่ละโรงพยาบาลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการบริหารเวชภัณฑ์และทดสอบสมมติฐานหรือความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของสัดส่วนการซื้อยาจากสมุนไพร, สัดส่วนการเบิกใช้ยาจากสมุนไพร และอัตรายาคงคลัง ในสองช่วงเวลาที่ดำเนินระบบงบประมาณแตกต่างกัน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Dependent t-test และ Wilcoxon’s Sign Rank Test ผลการบริหารเวชภัณฑ์เมื่อปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณฯ พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีมูลค่าคลังยารวมเฉลี่ยลดลงในระยะปรับทวนงบ และเป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 9 โรงพยาบาล เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จัดซื้อยารวมเฉลี่ยมูลค่าลดลง เป็นการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7 โรงพยาบาล แต่มีเพียง 4 โรงพยาบาลเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเบิกใช้ยารวมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ 1 ใน 4 มีมูลค่าเบิกใช้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ผลวิเคราะห์แยกประเภทยาพบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าซื้อและเบิกใช้เฉลี่ยของยาแผนปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ซื้อและเบิกใช้ยาจากสมุนไพรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ผลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยรวมทุกรพช.ของร้อยละการซื้อและเบิกใช้ยาจากสมุนไพร พบว่าซื้อลดลงจากร้อยละ 19.57 เป็น 5.85 (p-value <0.001) และใช้ลดลงจากร้อยละ 16.91 เป็น 8.13 (p-value <0.001) ตามลำดับ เช่นเดียวกัน ค่าเฉลี่ยอัตรายาคงคลังรวมทุกรพช.ในระยะปรับทวนงบเทียบกับระยะงบอุดหนุนเดิม เปลี่ยนแปลงลดลงจาก 2.70 เดือน เป็น 2.35 เดือน (p-value <0.001) สรุปได้ว่า ผลการบริหารเวชภัณฑ์ยาของรพช.ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อปรับเปลี่ยนระบบเบิกจ่ายงบประมาณยาจากสมุนไพร ดังนั้น การนำผลลัพธ์การบริหารเวชภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นข้อพิจารณาและติดตามร่วมในการจัดสรรและดำเนินนโยบายเบิกจ่ายงบประมาณค่ายาจากสมุนไพร จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าเหมาะสมของการจัดการทรัพยากรได้ The research is a survey study comprising 19 community hospitals of Surat thani province. The objective of the study was to determine, how alternation of budget system have an effect on drug inventory management system. Comparison between 2 budget systems was done i.e. 1) promoting system (common fund was granted from each hospital budget to promote use of herbal medicine; May 2012 – April 2013) and 2) revision period (each community hospitals spend their own budget for herbal medicine; May 2013-April 2014). Financial data as well as monthly inventory management system data were recovered from data records. Comparison between proportion of herbal drug purchasingand proportion of herbal drug dispensing among 19 community hospitals was done. Inferential statistics such as dependent t-test and wilcoxon’s sign rank test were used to analyze collected data. The analysis revealed that, both average stock value and average purchasing value decreased in most of the hospitals. It was found that, stock value decreased significantly in 9 hospitals, whereas average purchasing value reduced significantly in 7 hospitals. However, dispending value changed significantly in 4 hospitals. Data revealed that only 1 hospital has significant increment in dispense value. It also showed that in the revision period, purchasing value and dispensing value regarding herbal medicine were significantly lower in comparison to modern medicines. Data comparison between promoting period and revision period for all community hospitals showed that proportion of average herbal purchasing value decreased from 19.57% to 5.85% (p-value <0.001) Likewise, proportion of average herbal dispensing value reduced from 19.61% to 8.13% (p-value <0.001). Moreover, the average stock month was found to be decreased from 2.70 to 2.35 month (p-value <0.001) in revision period as compared to promoting period. These findings indicate that modification in budget system results in change in drug inventory management of community hospitals in Surat thani. However, to promote herbal use, an appropriate and consistent budget system is needed for proper inventory management in the community hospital. |
Description: | 53362209 ; สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม -- โศภิษฐ์ ชุติเวทค |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/423 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
53362209 โศภิษฐ์ ชุติเวทคู.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.