Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4362
Title: | THE DEVELOPMENT OF ANALYTICAL READING ABILITIES
OF MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS BY USING PANORAMA
AND SEMANTIC MAPPING การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย |
Authors: | Thunyaluk AIAMNGUANG ธัญลักษณ์ เอี่ยมง้วง Kingkarn Buranasinvattanakul กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล Silpakorn University Kingkarn Buranasinvattanakul กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล Kie-49@hotmail.com Kie-49@hotmail.com |
Keywords: | การอ่านวิเคราะห์, เทคนิคพาโนรามา, แผนภูมิความหมาย ANALYTICAL READING ABILITIES/ PANORAMA/ SEMANTIC MAPPING |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of the research were to 1) compare the analytical reading abilities of Matthayomsuksa 3 students before and after learning through PANORAMA and Semantic Mapping and 2) study student's opinions toward learning Thai language through PANORAMA and Semantic Mapping. The sample was a class of 44 Matthayomsuksa 3 students in semester 1 of academic year 2022 at Saohai Wimolwittayanukul School Saohai district in Saraburi province, derived by cluster sampling. The researcher spent 5 weeks for teaching, 2 periods per week, totaling 10 periods.
The research instruments were 1) lesson plans through PANORAMA and Semantic Mapping, 2) an analytical reading abilities test and 3) a questionnaire survey of student's opinions toward learning Thai language through PANORAMA and Semantic Mapping. The mean, standard deviation and dependent t-test were applied for data analysis.
The findings were as follows
1. The students' analytical reading abilities after learning through PANORAMA and Semantic Mapping were significantly (M = 23.41, SD = 2.81) higher than those before (M = 18.34, SD = 3.52) at .05 level.
2. The students' opinions toward learning Thai language through PANORAMA and Semantic Mapping were at the high agreement level. (M = 4.38, SD = 0.23) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ การเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster sampling) จำนวน 44 คน ดำเนินการทดลอง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมเวลาที่ใช้ในการทดลองทั้งสิ้นจำนวน 10 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (M = 23.41, SD = 2.81) สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (M = 18.34, SD = 3.52) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้เทคนิคพาโนรามาร่วมกับแผนภูมิความหมายอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (M = 4.38, SD = 0.23) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4362 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630620023.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.