Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4418
Title: | THE CRIME SCENE MANAGEMENT OF THE CENTRAL POLICE FORENSIC SCIENCE DIVISION การบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุโดยตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐานกลาง |
Authors: | Jularat RUNGRUANGMEESAP จุฬารัตน์ รุ่งเรืองมีทรัพย์ Sirirat Choosakoonkriang ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง Silpakorn University Sirirat Choosakoonkriang ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง CHOOSAKOONKRIAN_S@SU.AC.TH CHOOSAKOONKRIAN_S@SU.AC.TH |
Keywords: | การตรวจสถานที่เกิดเหตุ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง การบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุ Crime Scene Investigation The Central Police Forensic Science Division Crime Scene Management |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of this thesis is to study the current situation in crime scene management and to study the problems and obstacles arising from crime scene management. In this regard, a questionnaire was used as a data collection tool. The researcher has analyzed the data using basic statistical methods and for testing the hypothesis, the Chi-square test was used. The results showed that the majority of the samples in this research were 25 males, representing 80.65%. In addition, the age range of the officers working in crime scene inspection of the Central Police Forensic Science Division were 31 - 40 years old, 14 people, representing 45.16%. Being single, representing 61.29%, graduated with a bachelor's degree with 20 people, representing 64.52%, most of the ranks are police captains with 11 people representing 35.48% and having the most work experience in forensics at 11 years or more with 10 people representing 32.26%.
The results of the hypothesis test at the significance level of 0.05 out of 240 hypotheses showed that the hypotheses were consistent with the demographic variables, namely age, current status, the level of work experience in forensics science was statistically correlated with present status studies in crime scene management with a total of 21 hypotheses.
As for the problems and obstacles, it was found that the budget was the most common problem, followed by problems related to the outdated equipment and the problem caused by the responsible of investigator personnel not coming to the scene. วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุและเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุ ในการนี้ได้มีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ ทางผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติพื้นฐาน และสำหรับการทดสอบสมมติฐานได้มีการใช้สถิติทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square) ซึ่งผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 80.65 นอกจากนี้ ช่วงอายุของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านตรวจสถานที่เกิดเหตุของกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ส่วนใหญ่อายุ 31 - 40 ปี จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 45.16 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 61.29 จบการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 64.52 ระดับชั้นยศตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นร้อยตำรวจเอกมากที่สุด จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 35.48 และมีประสบการณ์การทำงานด้านการพิสูจน์หลักฐานมากที่สุดอยู่ที่ 11 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 32.26 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จาก 240 สมมติฐาน พบว่าสมมติฐานที่มีความสอดคล้องกันกับตัวแปรทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพในปัจจุบัน ระดับชั้นยศตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานด้านการพิสูจน์หลักฐานมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการศึกษาสถานภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุรวมทั้งสิ้น 21 สมมติฐาน ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคพบว่าด้านงบประมาณเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด รองลงมาจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความไม่ทันสมัยของอุปกรณ์ ถัดมาจะเป็นปัญหาที่เกิดจากบุคลากรพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบไม่ได้มาที่เกิดเหตุ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4418 |
Appears in Collections: | Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61312305.pdf | 5.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.