Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4423
Title: Development of Problem Solving and Mathematical Communication Abilities on Adding and Subtracting Fractions of Primary IV Students of Watpailom (Poolpracha-upatham) School using the Cooperative Learning Technique TGT combined with Think Pair Square Share Technique
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหาย
Authors: Hattayaporn TUNGYA
หัตถยาภรณ์ ตุ่งยะ
Ratana Srithus
รัตนา ศรีทัศน์
Silpakorn University
Ratana Srithus
รัตนา ศรีทัศน์
srithat_r@su.ac.th
srithat_r@su.ac.th
Keywords: ความสามารถในการแก้ปัญญา
ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
TGT
เพื่อนคู่คิดสี่สหาย
problem solving ability
mathematical communication ability
TGT
Think Pair Square Share
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research aimed to: 1) compare the learning achievements in mathematics on addition and subtraction of fractions before and after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique 2) compare the learning achievements in mathematics on addition and subtraction of fractions after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique with 70 percent criterion 3) compare the problem solving ability of students after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique with 70 percent criterion 4) compare the mathematical communication ability of students after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique with 70 percent criterion and 5) study the satisfaction of the students towards the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique. The sample group consisted of 38 fourth-grade students of Watphailom (Poolpracha-Upatham) School, Mueang District, Nakhon Pathom Province, derived by simple random sampling. The research instruments were: 1) lesson plans 2) an achievement test 3) an ability test on problem solving and mathematical communication abilities and 4) satisfaction evaluation form. Data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The results showed that: 1) the students’ learning achievement after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique was higher than before learning with statistical significance at .05 2) the students’ learning achievement after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique was higher than 70 percent criterion with statistical significance at .05 3) the students’ problem solving  ability  after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique was higher than 70 percent criterion at significant level .05 4) the students’ mathematical communication ability after learning by the cooperative learning technique TGT combined with Think Pair Square Share technique was higher than 70 percent criterion at significant level .05 and 5) the level of satisfaction from the students was the highest level.
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหายก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหายหลังเรียนเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหายหลังเรียนเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหายหลังเรียนเทียบเกณฑ์ร้อยละ 70 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหาย หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหาย มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหาย มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหายอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4423
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61316305.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.