Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4471
Title: | Factors Related to Vegetables and Fruits Safety in Packing Sites: A Case Study in Pathumthani Province ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี |
Authors: | Pornpiroon DEESAWAT พรพิรุณ ดีสวัสดิ์ Surasit Lochidamnuay สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย Silpakorn University Surasit Lochidamnuay สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย LOCHID-AMNUAY_S@su.ac.th LOCHID-AMNUAY_S@su.ac.th |
Keywords: | ความปลอดภัยของผักและผลไม้ สถานที่คัดบรรจุผักและผลไม้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช vegetable and fruit safety vegetable and fruit packing site pesticides |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | In the present study an effort has been made to evaluate pesticide residues and determine the factors related to fruit and vegetable safety undertaken at the packing site in Pathumthani Province. 96 samples of fruits and vegetables from 96 packing sites were randomly collected to test for pesticide residues with the GPO-M preliminary test kit and using the information of the operators. The study found that 12.5% of the samples were seen with no labels. History of detecting pesticide residues from Pathumthani Provincial Public Health Office which residues were detected 12.5%. Regarding the safety of fruits and vegetables in the packing sites, washing was the safety process that been followed the least. 12.5% of the test results with the preliminary test found residues at unsafe or toxic levels. The result of the study of knowledge about the fruit and vegetable safety found that the question about pesticides was the question with the least correct answers. While the study of legal knowledge related to the packing sites showed that the question about the offense in case of residue exceeding the standard was the one with the least correct answers. Since pertinent fruit and vegetable safety factors were analyzed, the results of the previously reported data on detecting pesticide residues from the Pathumthani Provincial Public Health Office correlated with the safety of fruits and vegetables at the packing site contained statistically significant (p-value = 0.041). From the results, it is proposed that operators should act according to the process of fruit and vegetable safety. Therefore, display the label, acquire knowledge about fruit and vegetable safety and laws. Continuous monitoring pesticide residues by Pathumthani Public Health Office is recommended. Knowledge in terms of vegetables and fruits safety, legal regulations, labeling and fruit and vegetable safety procedures should be provided to the operators. การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุในจังหวัดปทุมธานี โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ จำนวน 96 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น GPO-M kit และใช้แบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและความรู้ของผู้ประกอบการสถานที่คัดบรรจุ จำนวน 96 แห่ง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุ ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีการแสดงฉลาก ร้อยละ 12.5 ด้านการศึกษาความปลอดภัยของผักและผลไม้ พบว่า ประวัติการตรวจพบการตกค้างจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีเคยพบการตกค้าง ร้อยละ 12.5 กระบวนการด้านความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุที่ดำเนินการน้อยที่สุด คือ การลดการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยการล้าง ผลการทดสอบด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น GPO-M kit พบการตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยหรือเป็นพิษ ร้อยละ 12.5 ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุ พบว่า ข้อคำถามเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดแมลงเป็นข้อที่มีผู้ตอบถูกน้อยที่สุด ส่วนผลการศึกษาความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานที่คัดบรรจุ พบว่า ข้อคำถามเกี่ยวกับความผิดกรณีการตกค้างเกินเกณฑ์มาตรฐานเป็นข้อที่มีผู้ตอบถูกน้อยที่สุด และเมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความปลอดภัยของผักและผลไม้ พบว่า ประวัติการตรวจพบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีมีความสัมพันธ์กับความปลอดภัยของผักและผลไม้ในสถานที่คัดบรรจุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.041) ดังนั้น ผู้ประกอบการควรดำเนินการกระบวนการด้านความปลอดภัยของผักและผลไม้ให้ครบถ้วน จัดทำฉลากให้ครบถ้วน และเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผักและผลไม้และข้อกฎหมาย ส่วนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีควรเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในสถานที่คัดบรรจุที่มักพบการตกค้างและพัฒนาผู้ประกอบการสถานที่คัดบรรจุในด้านความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผักและผลไม้และข้อกฎหมาย การจัดทำฉลาก และกระบวนด้านความปลอดภัยของผักและผลไม้ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4471 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61352306.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.