Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4483
Title: | Factors related to sleep quality and quality of life in patients using cannabis oil to treat insomnia at a Thai traditional medical cannabis clinic ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย |
Authors: | Jinjuta SAENGKANOUK จินต์จุฑา แสงกะหนึก NATTIYA KAPOL ณัฏฐิญา ค้าผล Silpakorn University NATTIYA KAPOL ณัฏฐิญา ค้าผล KAPOL_N@su.ac.th KAPOL_N@su.ac.th |
Keywords: | คุณภาพการนอนหลับ คุณภาพชีวิต น้ำมันกัญชา นอนไม่หลับ sleep quality quality of life cannabis oil insomnia |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objective of this study was to investigate sleep quality and quality of life, as well as factors related to sleep quality and quality of life, in patients who used cannabis oil to treat insomnia at a Thai traditional medical cannabis clinic. The samples were 279 patients who used cannabis oil to treat insomnia at a Thai traditional medical cannabis clinic, Thai Traditional Health Promotion Center, the Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine. The data collection tool consists of the general patient record form, Suanprung Stress Test-20, the evaluation forms of physical environment, sleep habits, the Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index and the Thai version of EQ-5D-5L. Descriptive statistics, binary logistic regression, and linear regression analysis were used to analyze the data. The findings revealed that 53.0% of the subjects had poor sleep quality. Educational levels of a bachelor's degree or higher, being paid workers, business owners, commerce, and housekeepers/retirees, those unable to specify specific working hours and those working more than 8 hours in a day, those with chronic diseases, those regularly taking other medications, those taking sedative and sedation inducing drugs, and duration of cannabis oil use were factors significantly affecting poor sleep quality with P<0.05. The utility score when using the EQ-5D-5L and the Visual Analog Scale (VAS) scale was 0.9417 and 75.669.39, respectively. Physical environmental disturbances, housewife/butler/retiree, drug-induced sedation, drug-disrupting sleep, some medications used regularly, bachelor's degree/higher education, some medications used regularly, and moderate to high stress level were statistically significant factors related to the quality of life (utility). These factors could predict the utility score by 52.4% (R2 = 0.524). As a result, Thai traditional medical cannabis clinics should assess the physical environment, medications used on a regular basis, drug-induced sedation, and stress in patients using cannabis oil to treat insomnia and advise to promote appropriate method that patients can apply them effectively in the treatment of insomnia for better sleep quality and quality of life. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยฯ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยทั่วไป แบบประเมินความเครียดสวนปรุง กรมสุขภาพจิต แบบประเมินปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ แบบประเมินสุขนิสัยเกี่ยวกับการนอนหลับ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับฉบับภาษาไทย และแบบประเมินแบบประเมินคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา Binary Logistic Regression และ Linear Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.0 มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P <0.05 คือ ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า อาชีพลูกจ้าง/รับจ้าง ผู้ประกอบการ ค้าขาย และแม่บ้าน/พ่อบ้าน/ผู้เกษียณจากงาน ผู้ที่ระบุเวลาทำงานแน่นอนไม่ได้และผู้ที่ทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมงในหนึ่งวัน ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มียาอื่นที่ใช้ประจำ ผู้ที่ใช้ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงและเสริมการนอนหลับ ระยะเวลาในการใช้น้ำมันกัญชา ผู้ที่มีความเครียดปานกลางและสูง และผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่รบกวนน้อยถึงมาก มัธยฐานคะแนนอรรถประโยชน์เมื่อประเมินด้วยแบบวัด EQ-5D-5L และแบบวัด VAS ของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้น้ำมันกัญชาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับเท่ากับ 0.9417 และ 75.66 ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (อรรถประโยชน์) ของผู้ป่วยที่ใช้น้ำมันกัญชาที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีผลรบกวน อาชีพ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ การได้รับยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงและเสริมการนอนหลับ การได้รับยาที่มีฤทธิ์รบกวนการนอนหลับ มียาที่ใช้เป็นประจำ ระดับการศึกษา ปริญญาตรี/สูงกว่า และมีความเครียดปานกลางถึงสูง โดยปัจจัยนี้สามารถร่วมกันทำนายคะแนนอรรถประโยชน์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ได้ร้อยละ 52.4 (R2 = 0.524) ดังนั้นคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยจึงควรประเมินระดับความเครียด สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของผู้ป่วย และข้อมูลการรักษาตัวของผู้ป่วย ได้แก่ ยาที่ใช้เป็นประจำ รวมถึงการได้รับยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงและเสริมการนอนหลับอื่นๆนอกเหนือจากน้ำมันกัญชา โดยให้คำแนะนำและวิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการนอนไม่หลับให้มีคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4483 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630820005.pdf | 3.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.