Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4488
Title: Real-world effectiveness and safety of dabigatran in geriatric patients with atrial fibrillation
การเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยจากการใช้ยาดาบิกาแทรนในผู้ป่วยสูงอายุโรคหัวใจสั่นพลิ้วในสถานการณ์จริง
Authors: Athitiya SUBSORN
อธิติยา ทรัพย์สอน
Jutathip Supanklang
จุฑาทิพย์ สุพรรณกลาง
Silpakorn University
Jutathip Supanklang
จุฑาทิพย์ สุพรรณกลาง
suphanklang_j@su.ac.th
suphanklang_j@su.ac.th
Keywords: ยาดาบิกาแทรน
ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่
ผู้สูงอายุ
โรคหัวใจสั่นพลิ้ว
โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
ภาวะเลือดออก
DABIGATRAN
NON-VITAMIN K ANTAGONIST ORAL ANTICOAGULANT
GERIATRIC
ATRIAL FIBRILLATION
ISCHEMIC STROKE
BLEEDING
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Dabigatran reduces ischemic stroke risk in patients with atrial fibrillation (AF). Bleeding risk in geriatric patients was higher than in younger patients, especially gastrointestinal bleeding. In this study, to compare the effectiveness and safety of dabigatran between geriatric and younger patients with AF and to study the risk factors of ischemic stroke and bleeding in geriatric patients treated with dabigatran. This was a real-world retrospective study in non-valvular AF patients treated with dabigatran at multicenter. A total of 484 patients included 413 geriatrics patients (85.33%) and 71 younger patients (14.77%). The median of the follow-up period was 1.88 (interquartile range: 0.75-2.00) years. Geriatric patients with dabigatran use had a higher incidence of ischemic stroke than younger patients did (3.97%, 0%, respectively; p-value <0.001). Geriatric patients also had a higher bleeding incidence than younger patients did (18.36%, 8.29% respectively; p-value 0.041). The significantly higher incidences were found in major bleeding, minor bleeding and gastrointestinal bleeding (p-value 0.035, p-value 0.015 and p-value <0.001, respectively). On multivariate analysis, prior stroke or systemic embolism was a risk factor for recurrent stroke in geriatric patients with dabigatran use (p-value 0.004), while prior bleeding was a risk factor for bleeding in geriatric patients with dabigatran use (p-value <0.001). Thus, in geriatric patients with dabigatran use for preventing ischemic stroke from AF should be monitored for ischemic stroke and bleeding, especially geriatric patients with history of stroke or systemic embolism and bleeding.
ยาดาบิกาแทรนเป็นยาที่ใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในโรคหัวใจสั่นพลิ้ว ผู้ป่วยสูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยโดยเฉพาะภาวะเลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาดาบิกาแทรนระหว่างผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยอายุน้อยโรคหัวใจสั่นพลิ้ว และวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันและภาวะเลือดออกในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาดาบิกาแทรน การศึกษานี้มีรูปแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังในสถานการณ์จริงในผู้ป่วยที่ได้รับยาดาบิกาแทรนในข้อบ่งใช้โรคหัวใจสั่นพลิ้วที่ไม่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจในพหุสถาบัน มีผู้ป่วยเข้าการศึกษาทั้งหมด 484 ราย ประกอบด้วยผู้ป่วยสูงอายุ 413 ราย (ร้อยละ 85.33) และผู้ป่วยอายุน้อย 71 ราย (ร้อยละ 14.77) โดยค่ามัธยฐานของการติดตามข้อมูลผู้ป่วย 1.88 ปี (0.75-2.00) ผลการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาดาบิกาแทรนเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 3.97 และ 0 ตามลำดับ, p-value <0.001) และผู้ป่วยสูงอายุเกิดภาวะเลือดออกมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 18.36 และ 8.29 ตามลำดับ, p-value 0.041) ทั้งภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะเลือดออกไม่รุนแรง และภาวะเลือดออกบริเวณทางเดินอาหารที่เกิดมากกว่าผู้ป่วยอายุน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.035, p-value 0.015 และ p-value <0.001 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์หลายตัวแปรร่วมพบว่า การมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองหรือลิ่มเลือดอุดตันเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันซ้ำ และการมีประวัติภาวะเลือดออกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาดาบิกาแทรน (p-value 0.004 และ p-value <0.001 ตามลำดับ) จึงสรุปได้ว่า ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้ยาดาบิกาแทรน เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอุดตันจากโรคหัวใจสั่นพลิ้วควรติดตามการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันและภาวะเลือดออก โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการเกิดภาวะเลือดออกมาก่อน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4488
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640820001.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.