Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4489
Title: | Effectiveness and safety of angiotensin receptor-neprilysin inhibitor plus standard treatment versus standard treatment in heart failure ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยากลุ่ม angiotensin receptor-neprilysin inhibitor ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐานเปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว |
Authors: | Pamonwadee SRIPRATUM ภมรวดี ศรีประทุม Piyarat Pimsi ปิยรัตน์ พิมพ์สี Silpakorn University Piyarat Pimsi ปิยรัตน์ พิมพ์สี PIMSI_P@SU.AC.TH PIMSI_P@SU.AC.TH |
Keywords: | ภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง Angiotensin receptor-neprilysin inhibitor ยาตามการรักษามาตรฐาน การเสียชีวิตทุกสาเหตุ การนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว Heart failure with reduced ejection fraction Angiotensin receptor-neprilysin inhibitor Standard treatment All-cause mortality Hospitalization for heart failure |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The main objective of this study was to compare the effectiveness between angiotensin receptor-neprilysin inhibitor (ARNI) plus standard treatment and standard treatment in heart failure with reduced ejection fraction (HFrEF) in term of all-cause mortality, heart failure hospitalization, and length of stay for heart failure admission. Secondary objectives were to; 1) Study the effectiveness of all-cause mortality or heart failure hospitalization or length of stay for heart failure admission in different dose of ARNI, 2) Study the changes of Left Ventricular Ejection Fraction (LVEF) and New York Heart Association Class (NYHA class) at baseline and 12-month following the treatment of ARNI plus standard treatment compared to standard treatment, and 3) Study the incidence of adverse drug reactions in patients receiving ARNI plus standard treatment compared to those who received standard treatment. This retrospective cohort study collected data from January 1st 2016 to June 30th 2021 with 12-month following at Central Chest Institute of Thailand. A total of 240 patients were included, 111 patients were in ARNI plus standard treatment group and 129 patients were in standard treatment group. There was statistical different in all-cause mortality (P = 0.008) between two groups. As no death was found in ARNI plus standard treatment group, but, 8 patients (6.2%) in standard treatment group died. 54 patients admitted due to heart failure with 10 patients (9%) in ARNI plus standard treatment group and 44 patients (34.1%) in standard treatment group. This difference showed statistically significant (Hazard ratio; HR 0.20; 95%CI 0.10-0.40; P <0.001). However, there was no statistical difference in length of stay for heart failure admission. Secondary outcomes revealed no significant difference in all-cause mortality, heart failure hospitalization, and length of stay for heart failure admission among different doses. LVEF improvement showed significantly difference median (IQR) = 11% (18.0%) in ARNI plus standard treatment group and median (IQR) = 4% (13.6%) in standard treatment group (P <0.001). Comparison of NYHA class improvement at 12 months follow-up indicated by percentage of patients showed a significant difference between two groups (P <0.001). Incidence of adverse drug reactions in patients receiving ARNI plus standard treatment was lower than that was found in the standard treatment group, including symptomatic hypotension (P <0.001), dizziness (P = 0.037), and dry cough (P = 0.009). การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างยากลุ่ม angiotensin receptor-neprilysin inhibitor (ARNI) เมื่อให้ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐาน และการรักษามาตรฐาน ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังชนิด heart failure with reduced ejection fraction (HFrEF) ในด้านการเสียชีวิตทุกสาเหตุ การนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว วัตถุประสงค์รอง คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการลดการเสียชีวิตทุกสาเหตุ หรือการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังชนิด HFrEF ที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ในขนาดยาที่แตกต่างกัน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่า left ventricular ejection fraction (LVEF) และ New York Heart Association class (NYHA class) ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังชนิด HFrEF หลังได้รับยา ARNI ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐาน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาตรฐานเพียงอย่างเดียว ในระยะเวลา 12 เดือน และ 3) เพื่อศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังชนิด HFrEF ที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐาน เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาตรฐานเพียงอย่างเดียว เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (retrospective cohort study) ณ สถาบันโรคทรวงอก เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ติดตามต่อเนื่องนาน 12 เดือน ในผู้ป่วยจำนวน 240 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยา ARNI ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐาน 111 ราย และกลุ่มที่ได้รับยารักษาตามมาตรฐานแต่ไม่ได้รับยา ARNI 129 ราย ผลลัพธ์หลัก ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตในกลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐาน พบจำนวนผู้เสียชีวิตทุกสาเหตุทั้งหมด 8 ราย ในกลุ่มที่ได้รับยารักษาตามมาตรฐาน (ร้อยละ 6.2) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P = 0.008 พบจำนวนผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งหมด 54 ราย อยู่ในกลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐานจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 9) และกลุ่มที่ได้รับยารักษาตามมาตรฐาน 44 ราย (ร้อยละ 34.1) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Hazard ratio; HR 0.20; 95% CI 0.10– 0.40; P <0.001) ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม มีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวไม่แตกต่างกัน (P = 0.163) ผลลัพธ์รอง เมื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์การเสียชีวิตทุกสาเหตุ การนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลว และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวตามขนาดยากลุ่ม ARNI พบว่าไม่แตกต่างกัน ผลการเปลี่ยนแปลงค่า LVEF เริ่มต้นกับเมื่อรักษาไปนาน 12 เดือน พบว่ากลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ร่วมกับยาตามการรักษามาตรฐานมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงค่า LVEF เพิ่มขึ้นด้วยค่ามัธยฐาน (median) 11 และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ (Interquartile Range: IQR) 18.0 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยารักษาตามมาตรฐาน มีร้อยละการเปลี่ยนแปลงค่า LVEF เพิ่มขึ้นด้วย median (IQR) เท่ากับ 4 (13.6) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.001) การเปรียบเทียบร้อยละของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลง NYHA class ในเดือนที่ 12 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ร่วมกับการรักษามาตรฐาน กับกลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐาน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.001) ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยากลุ่ม ARNI ร่วมกับการรักษามาตรฐานเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐาน โดยพบว่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเรื่องภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า (P <0.001), อาการเวียนศีรษะ (P = 0.037) และ ไอแห้ง (P = 0.009) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4489 |
Appears in Collections: | Pharmacy |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640820004.pdf | 3.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.