Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเมืองเชียงหวาน, รัตนชนก-
dc.contributor.authorMUEANGCHIENGWAN, RATTANACHANOK-
dc.date.accessioned2017-08-31T01:25:14Z-
dc.date.available2017-08-31T01:25:14Z-
dc.date.issued2559-08-02-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/450-
dc.description54253314 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- รัตนชนก เมืองเชียงหวานen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับ ผลการเรียนรู้ เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ความสามารถด้านภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ผลการเรียนรู้ เรื่องข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร โดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 24 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เป็นเวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี แบบประเมินความสามารถด้านภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องข้อมูลท้องถิ่นราชบุรีและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบ One-Sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาภาษาจีนโดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี คาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาจีนข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ความสามารถด้านภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี และข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี 2. ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรีประกอบด้วย 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) ค าอธิบายรายวิชา 5) ผลการเรียนรู้ 6) โครงสร้างรายวิชา 7) เวลาเรียน 8) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 9) สื่อการเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล 11) แผนการจัดการเรียนรู้ แต่ละหน่วยจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบทางตรง (Direct Instruction) และวิธีสอนการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ซึ่งหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม มีความเหมาะสมและสอดคล้องเท่ากับ x= 4.79, S.D. = 0.38 3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสวนผึ้ง จำนวน 24 คน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง พบว่านักเรียนมีความสนใจในภาษาจีน และข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ มีความกล้าแสดงออกในการพูดภาษาจีนมากขึ้น และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรม 4. ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า 1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี หลังการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอยู่ในระดับดีเยี่ยม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถด้านภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี อยู่ในระดับดีเยี่ยม 3) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ เรื่องข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี หลังการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อยู่ในระดับมากที่สุด The objectives of this research were to 1) study basic information for developing a selective course on Chinese language by integrating local Ratchaburi data for the sixth grade students 2) develop a selective course on Chinese language by integrating local Ratchaburi data for the sixth grade students 3) test the developed selective course on Chinese language by integrating local Ratchaburi data for the sixth grade students 4) evaluate and improve the developed selective course on Chinese language by integrating local Ratchaburi data for the sixth grade students on the issues of learning outcomes related to Chinese vocabulary based on local Ratchaburi data; to obtain skills on Chinese language by integrating local Ratchaburi data; learning outcome on local Ratchaburi knowledge; and students’ satisfaction towards the course. The course was conducted with 24 sixth grade students from Anubansuanphung School, Suan Phueng, Ratchaburi in the first semester of 2015 for 20 hours. Research tools consisted of a test to determine learning outcome on Chinese vocabulary based on local Ratchaburi data; an evaluation form of skills on Chinese language by integrating local Ratchaburi data; learning outcome on local Ratchaburi knowledge; a test to determine learning outcome on local Ratchaburi knowledge; and a questionnaire for student satisfaction towards the course. For the analysis of result, percentage (%), mean (x), standard deviation (S.D.), One-Sample t-test, and content analysis. Research result were as follows: 1. From the study of basic information, it was found that students and relevant personnel thought that it was important and in need to set up a selective course on Chinese language by integrating local Ratchaburi data. Students were expected to learn Chinese vocabulary based on local Ratchaburi data, to obtain skills on Chinese language by integrating local Ratchaburi data, and to gain local Ratchaburi knowledge. 2. The selective course on Chinese language by integrating local Ratchaburi data was comprised of 1) Course background 2) Principle 3) Objective 4) Course description 5) Learning outcome 6) Learning structure 7) Schedule 8) Guidelines on setting up a course 9) Instructional media 10) Measurement and evaluation 11) Lesson plans were set up. Direct instruction and cooperative learning were used in combination. The appropriateness and consistency of the selective course are at x = 4.79, S.D. = 0.38. 3. From the trial of the developed selective course with 24 sixth grade students from Suan Phueng Kindergarten School for 20 hours, it was found that students were interested in Chinese language, and local Ratchaburi knowledge. They also showed interest in participation, fully cooperated in various activities, were more confident in speaking Chinese, and took part in expressing their opinion in every activity. 4. The result from evaluation and improvement of the developed selective course showed that 1) after lessons, the learning outcome of students of Chinese vocabulary based on local Ratchaburi data was excellent,it was a statistically significant at the level of .05 2) to obtain skills on Chinese language by integrating local Ratchaburi data was excellent. 3) after lessons, students’ learning outcome on local Ratchaburi knowledge was higher than the criteria at 80% and was statistically significant at the level of .05 and 4) students were satisfied toward the selective course at the highest level.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมen_US
dc.subjectวิชาภาษาจีนen_US
dc.subjectการบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นen_US
dc.subjectSELECTIVE COURSEen_US
dc.subjectCHINESE LANGUAGEen_US
dc.subjectINTEGRATING LOCAL DATAen_US
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF SELECTIVE COURSES ON CHINESE LANGUAGE BY INTEGRATING LOCAL RATCHABURI FOR SIXTH GRADE STUDENT.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54253314 รัตนชนก เมืองเชียงหวาน.pdf9.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.