Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/454
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. |
Other Titles: | THE PRACTICE OF PEER ASSISTED LEARNING IN BLENDED LEARNING WITH SOCIAL NETWORK TO PROMOTE PROGRAMMING SKILLS FOR MATAYOMSUKSA 5 STUDENTS. |
Authors: | ตันติธีระศักดิ์, สุพิชชา TANTITHEERASAK, SUPICHA |
Keywords: | การเรียนแบบผสมผสาน เครือข่ายสังคมออนไลน์ การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน PEER ASSISTED LEARNING BLENDED LEARNING SOCIAL NETWORK |
Issue Date: | 3-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อนก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมของนักเรียน เมื่อเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน เมื่อเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสายธรรมจันทร์ โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายมา 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 14 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน รวมทั้งสิ้น 28 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งสร้างขึ้นโดยผู้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน 2) เว็บไซต์เพื่อการจัดกิจกรรมแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น 4) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรม 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดี ( x=18.23, S.D. = 2.30) 3) พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อนที่พบมากที่สุดคือ การตอบคำถาม (ร้อยละ 97.70) ส่วนพฤติกรรมที่พบน้อยที่สุดคือการโพสต์ แชร์เนื้อหา (ร้อยละ 3.69) และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ในระดับมาก ( x= 4.15, S.D.= 0.74) The purposes of this research were 1) to compare the students’ learning achievement before and after using the peer assisted learning in blended learning with social network, 2) to assess students’ programming skills after using the peer assisted learning in blended learning with social network, 3) to study the behavior of students While using the peer assisted learning in blended learning with social network, and 4) to study student’s satisfaction of studying. The sample group of the research consisted of 8 Grade 31 students of Saithammachan School in the second semester of the 2016 academic year, selected by simple random sampling. The duration of the experimental research covered 28 hour sessions a fourteen-week period. The instruments consisted of 1) lesson plan peer assisted learning in blended learning with social network, 2) website to learning activities, 3) pre-post learning achievement tests, 4) programming skills test, 5) behavior observation form the peer assisted learning in blended learning with social network., and 6) a questionnaire for studying the students’ satisfaction towards the peer assisted learning in blended learning with social network. The results of the research were as follows: 1) the students’ learning achievement after using the peer assisted learning in blended learning with social network was significantly differences that before using at 0.01 level, 2) the students’ programming skills was found at a good level ( X =18.23, S.D. = 2.30) , 3) the behavior of students found that most behavior is to answer questions (97.70%) and least behavior is to to post content sharing (3.69%) , and 4) the students’ satisfaction was found at a high level ( X= 4.15, S.D.= 0.74) |
Description: | 54257338 ; สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา -- สุพิชชา ตันติธีระศักดิ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/454 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54257338 สุพิชชา ตันติธีระศักดิ์.pdf | 5.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.