Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4650
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPhoom BURANAen
dc.contributorภูมิ บูรณะth
dc.contributor.advisorSomkid Jiratutsanakulen
dc.contributor.advisorสมคิด จิระทัศนกุลth
dc.contributor.otherSilpakorn Universityen
dc.date.accessioned2023-08-11T02:53:37Z-
dc.date.available2023-08-11T02:53:37Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued4/7/2023
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4650-
dc.description.abstractDhammokhasatharn is an experimental design of the Dhamma-statement retreat in order to formulate a methodological process in designing a spiritual space that creates awareness and understanding of the core philosophy of Buddhism, on the arising and cessation of the suffering cycle or “dependent origination”, for the new generation called Generation Me, which at this time of their life, sufferก from mental distress from comparing themselves with the glamorous images of life on social media, leading to a feeling of neediness that forms a major cause and eventually leads to the further social problem. In addition, the gap in understanding Buddhism is increasing due to inconsistent communication or lack of consistency with the attitude of the new generation in the current Buddhist area. As a result, Buddhist principles began to fade away and were replaced by egotism which become the main way of life for themselves. However, the study has the intention to bring the core principles of Buddhism to interpretation in order to unravel the complexity to be more concise, through a review of psychological theories, principles and definitions in Buddhist philosophy on the arising and cessation of suffering and the unique characteristics of the new generation, such as values, ideas, behaviors, and factors behind an expression as well as their learning behavior. to design architectural spaces that promote awareness (mindfulness), wisdom, and concentration according to Buddhist philosophy for the target group through the experience of each area in the project which is designed to be hierarchical with the learning process at the level of the subject matter and ends with interpretations from the inner understanding, to create a new perspective in the original context. All in order for the user to carry on the set of ideas gained from the project into action in their lives. and see through the old way of life with their wisdom. The study found that there are still Buddhist monasteries and Dhamma areas, that cater their Buddhist teachings towards younger generations. But the various methods that appear still lack an understanding of the problems and unique characteristics of the new generation. Resulting in adaptations that focus on providing comfort from holiness or worshiping, instead of creating an understanding of moral philosophy. Or creating a contemporary space that focuses on learning through different ways of praying. Still, the activity may require a lot of time and level of understanding so it hasn't received reception feedback. Studies have shown that Buddhist philosophy can be adapted to solve mental problems. Because many of the contents are in line with psychological theories, therefore, if one wants to apply the Dhamma as a tool to create understanding toward the cessation of suffering. it is necessary to understand human behavior and psychology in order to see the root cause of each problem. This will then lead to the selection of suitable philosophies as the core in the design of the space.en
dc.description.abstractธัมโมกขษถาน เป็นโครงการออกแบบธรรมสภาวะสถานเชิงทดลอง เพื่อศึกษาถึงวิธีการออกแบบพื้นที่ทางจิตวิญญาณที่สร้างการตระหนักรู้และเข้าใจหลักปรัชญาอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา อันว่าด้วยเรื่องการเกิดขึ้นและดับลงของวงจรแห่งทุกข์ หรือปฏิจจสมุปบาท แก่คนรุ่นใหม่ในนิยามของกลุ่ม Generation Me ที่ในเวลานี้กำลังประสบปัญหาความทุกข์ทางใจจากการเปรียบเทียบตนเองกับภาพชีวิตที่สวยหรูในสื่อสังคมออนไลน์ จนนำไปสู่ความรู้สึกขาดแคลนที่พึ่งทางใจจนก่อตัวเกิดเป็นชนวนสำคัญซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสังคมต่อไปในที่สุด อีกทั้งช่องว่างทางความเข้าใจต่อพระพุทธศาสนาที่เพิ่มมากขึ้นจากการสื่อสารอย่างไม่ตรงประเด็น หรือขาดความสอดคล้องกับทัศนคติคนรุ่นใหม่ของพื้นที่ทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน จนส่งผลให้หลักการทางพระพุทธศาสนาเริ่มเลือนลางและถูกแทนที่ด้วยความคิดแบบอัตตนิยมขึ้นมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของตน อย่างไรก็ดีผู้ศึกษาได้มองเห็นแนวทางที่จะนำพาเอาหลักธรรมอันเป็นแก่นสาระสำคัญทางพระพุทธศาสนามาตีความเพื่อคลี่คลายความซับซ้อนให้กระชับลงและตรงประเด็นยิ่งขึ้น ผ่านการทบทวนทฤษฎีทางจิตวิทยา หลักการและนิยามทางพุทธปรัชญาที่ว่าด้วยการเกิดและดับแห่งทุกข์ คุณลักษณ์เฉพาะของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น ค่านิยม ความคิด ปัจจัยเบื้องหลังการแสดงออกพฤติกรรม ตลอดจนพฤติกรรมการเรียนรู้ สู่การทดลองออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างความตระหนกรู้ (สติ) ความเข้าใจจริง (ปัญญา) และความตั้งมั่นของจิต (สมาธิ) ตามหลักพุทธปรัชญาแก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ผ่านการใช้งานในแต่ละพื้นที่ของโครงการที่ออกแบบให้มีความสอดคล้องกันอย่างมีลำดับขั้นตอน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ไล่ระดับของสาระแล้วจะจบลงด้วยการตีความจากความเข้าใจภายในสู่การสร้างมุมมองใหม่ในบริบทเดิม โดยคุณลักษณ์ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้สอยนำเอาชุดของความคิดที่ได้รับจากโครงการนำไปปฏิบัติประกอบการดำเนินชีวิตต่อไป ภายใต้วิถีชีวิตแบบเดิมได้อย่างสัมฤทธิ์ผลอีกครั้งหนึ่ง การศึกษาครั้งนี้พบว่าในปัจจุบันยังมีพื้นที่ทางพระพุทธศาสนาหรือพื้นที่ทางธรรมที่ต้องการจะเชื้อเชิญให้คนรุ่นใหม่หันมาทำความเข้าใจพระพุทธศาสนาอยู่พอสมควร หากแต่วิธีการต่างๆที่ปรากฏขึ้นนั้นยังขาดความเข้าใจถึงปัญหาและคุณลักษณ์ทางการรับสาส์นของคนรุ่นใหม่ ทำให้เกิดเป็นการปรับตัวที่มุ่งเน้นเพียงให้บังเกิดความสบายใจจากมิติของความศักดิ์สิทธิ์หรือการกราบไหว้บูชารูปวัตถุ แทนที่การสร้างความเข้าใจในสาระปรัชญาธรรม หรือการสร้างพื้นที่แบบร่วมสมัยที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยวิธีการภาวนาในรูปแบบต่างๆ  แต่ทว่ากิจกรรมอาจต้องการเวลาและระดับความเข้าใจที่มากจึงทำให้ยังไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร เช่นเดียวกันการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าหลักปรัชญาทางพระพุทธศาสนานั้นสามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาทางจิตใจได้ เนื่องจากเนื้อหาหลายส่วนเป็นไปในทิศางที่สอดคล้องกันกับทฤษฎีทางจิตวิทยา เพราะฉะนั้นหากต้องการจะประยุกต์หลักธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้าใจสู่ความดับทุกข์แล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงพฤติกรรม และลักษณะทางจิตวิทยาของมนุษย์เพื่อมองเห็นถึงปัญหาในเบื้องต้น จากนั้นจึงจะนำไปสู่การหยิบยกเลือกใช้ธรรมปรัชญาที่เหมาะสมมาเป็นแกนหลักในการจัดการออกแบบพื้นที่ต่อไปth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectปฏิจจสมุปบาทth
dc.subjectพระพุทธศาสนาth
dc.subjectธรรมสภาวะสถานth
dc.subjectสถาปัตยกรรมไทยth
dc.subjectเจเนอเรชั่นมีth
dc.subjectDependent originationen
dc.subjectBuddhismen
dc.subjectDhamma-statement retreaten
dc.subjectThai architectureen
dc.subjectGeneration Meen
dc.subject.classificationEngineeringen
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreationen
dc.titleDhammokhasatharnen
dc.titleธัมโมกขษถานth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSomkid Jiratutsanakulen
dc.contributor.coadvisorสมคิด จิระทัศนกุลth
dc.contributor.emailadvisorsomkid@su.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsomkid@su.ac.th
dc.description.degreenameMaster of Architecture (M.Arch)en
dc.description.degreenameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineArchitecture and Related Artsen
dc.description.degreedisciplineศิลปสถาปัตยกรรมth
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630220027.pdf15.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.