Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4666
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPradabrung RUANGDEJen
dc.contributorประดับรุ้ง เรืองเดชth
dc.contributor.advisorSamniang Leurmsaien
dc.contributor.advisorสำเนียง เลื่อมใสth
dc.contributor.otherSilpakorn Universityen
dc.date.accessioned2023-08-11T02:54:48Z-
dc.date.available2023-08-11T02:54:48Z-
dc.date.created2023
dc.date.issued4/7/2023
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4666-
dc.description.abstractThe objectives of this thesis are to translate and rephrase King Śūdraka's Sanskrit play, "Mṛcchakaṭika" generally Acts 1 and 2 from the original Sanskrit language into Thai language, as well as to study and analyze the origin, structure, the aesthetic experience (Rasa) and the figure of speech (Alaṃkara) found in Act 1 and Act 2 of "Mṛcchakaṭika" The study revealed that the play Mṛcchakaṭika (The Little Clay Cart) is a ten-act Sanskrit and Prakrit play in the Prakarana genre (a play of invention), attributed to Śūdraka. Based on information from the prologue of the play itself, it is assumed that Śūdraka had existed between the 3rd to 5th centuries BC. According to the prologue of Mṛcchakaṭika, it describes him as a distinguished wise and brave king with good knowledge and poetic talent. The central story is that of a noble but impoverished young Brahmin, Cārudatta, who falls in love with a wealthy and beautiful courtesan, Vasantasenā. The study and analysis of Act 1 and 2 of the play discovered that it has both prose and verse alternately, consists of 445 dialogues and 78 verses in Sanskrit and Prakrit language according to the caste of the characters, wit, the upper-class characters use Sanskrit whilst the lower caste speak Prakrit language though some lower-class but well-educated characters could speak Sanskrit, such as Vasantasenā, the heroine. The manuscript used by the researcher for this analysis is presented in Sanskrit. While some dialogues were referred on Prakrit language too. In Acts 1 and 2, 14 types of Sanskrit prosodies are used. The prosodies used most to least in descending order are as follow 1) Arya 18 stanzas 2) Anuṣṭubh 13 stanzas 3) Vasantatilakā 10 stanzas 4) Śārdūlavikrīḍita 6 stanzas 5) Vaṃśastha 5 stanzas 6) Puṣpitāgrā 3 stanzas 7) Mālinī 3 stanzas 8) Sragdhara 3 stanzas, 9) Mālabhāriṇī 2 stanzas, 10) Indravaṃśa 1 stanza, 11) Upajāti 1 stanza, 12) Upendravajrā 1 stanza, 13) Vidyunmālā 1 stanza, and 14) Sikhariṇī 1 stanza. The main characters appeared in Acts 1 and 2 are distinguished into male and female characters viz, Male characters are 1) Cārudatta (hero, a noble but poor brahmin), 2) Maitreya or Vidūṣāka (Cārudatta's companion and a clown) 3) Śakāra or Saṅsthānaka (villain, the brother-in-law of King Pālaka of Ujjayinī), 4) Saṅvāhaka (a masseuse who turned into a gambler) and later ordained as a Buddhist monk 10) Karṇapūraka (Vasantasenā's servant who saves monk from an elephant being in must), whilst the female characters are 1) Vasantasenā (the heroine, beautiful and wealthy courtesan) 2) Madanikā (Vasantasenā's maid) 3) Radanikā (Carutatta's maid). The essence of the aesthetic experience (Rasa) of Act 1 and 2 are Karuṇā Rasa (compassion), often found in Cārudatta's lamentation of poverty followed by Raudara Rasa (anger), Bhayānaka Rasa (fear), and Sṛṅgāra Rasa (love). Beside these Rasas, other are also present but lesser. The figure of speech (Alaṃkāra) both Śabdālaṃkāra (Vocal) and Ārthalaṃkāra (Essence) found in Act 1 and Act 2, namely, Anuprāsa, Upamā, Rūpaka, Atiśyokti, Samāsokti, Utprekṣā, Tulyayogitā, Arthāntranyāsa, Samuccaya, Aparastutaprasamsa Svabhāvokti, Dīpaka and Mālopamā. And from an analysis of general data in Śūdraka's play; Mṛcchakaṭika, the researcher had classified it into 10 major topics, namely 1) the author's biography, 2) the general characteristics of the play, 3) the strategy of the play, 4) the origin of the play, 5) the summary of the play, 6) the characteristics and personalities of the characters of the play, 7) Linguistics of the play 8) Chanda (Stanzas) used in the play 9) Social and Cultural structure 10) Proverbs found in the play. From these aforementioned topics, we can figure out the overview of Act 1 and Act 2 of the play, Mṛcchakaṭika and clearly reflect the sentiments and notions of the characters of the play allowing the audiences and readers to completely recognize the values and sentiments that the author yearns to pass on.en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและแปลความบทละครสันสกฤตเรื่องมฤจฉกฏิกะของศูทรกะในองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 จากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย รวมทั้งเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นมา ลักษณะของบทละคร รส และอลังการ ที่ปรากฏในบทละครสันสกฤตเรื่องมฤจฉกฏิกะของศูทรกะในองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า บทละครเรื่องมฤจฉกฏิกะเป็นบทละครสันสกฤต และปรากฤต มีความยาวทั้งหมด 10 องก์ เป็นบทละครสันสกฤตรูปกะ ประเภทปรกรณะ ประพันธ์โดยศูทรกะซึ่งสันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 3 - 5 ก่อนคริสต์ศักราช จากบทเกริ่นนำของบทละครกล่าวว่าศูทรกะเป็นกษัตริย์ มีความเก่งกล้า มีร่างกายสง่างาม เป็นนักปราชญ์ และมีความสามารถด้านกวี เนื้อหาของบทละครเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักระหว่าง ‘จารุทัตตะ’ พราหมณ์หนุ่มผู้ยากไร้จิตใจประเสริฐ กับ ‘วสันตเสนา’ หญิงงามเมืองผู้งดงามร่ำรวย จากการศึกษาวิเคราะห์เฉพาะองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 ปรากฏบทสนทนาร้อยแก้วและร้อยกรองสลับกัน โดยมีบทสนทนาจำนวน 445 ครั้ง และบทร้อยกรองจำนวน 78 บท มีการใช้ภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤตตามวรรณะของตัวละคร กล่าวคือ ตัวละครที่เป็นชนชั้นสูงใช้ภาษาสันสกฤต ตัวละครที่เป็นชนชั้นต่ำใช้ภาษาปรากฤต แต่ตัวละครชนชั้นต่ำบางตัวที่ได้รับการเล่าเรียนสามารถพูดภาษาสันสกฤตได้ เช่น นางเอกวสันตเสนา ต้นฉบับที่ผู้วิจัยใช้ศึกษาวิเคราะห์ในครั้งนี้ได้แสดงไว้เป็นภาษาสันสกฤตและมีการอ้างอิงภาษาปรากฤตบางช่วงของบทสนทนา บทละครมฤจฉกฏิกะในองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 ใช้ฉันท์ทั้งหมด 14 ชนิด ฉันท์ที่นิยมใช้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ฉันท์อารยา 18 บท 2) ฉันท์อนุษฏุภ 13 บท 3) ฉันท์วสันตติลกา 10 บท 4) ฉันท์ศารทูลวิกรีฑิ-ตะ 6 บท 5) ฉันท์วังศัสถะ 5 บท 6) ฉันท์ปุษปิตาครา 3 บท 7) ฉันท์มาลินี 3 บท 8) ฉันท์สรัคธรา 3 บท 9) ฉันท์มาลภาริณี 2 บท 10) ฉันท์อินทรวังศา 1 บท 11) ฉันท์อุปชาติ 1 บท 12) ฉันท์อุเปนทรวัชรา 1 บท 13) ฉันท์วิทยุนมาลา 1 บท และ14) ฉันท์ศิขริณี 1 บท ตัวละครสำคัญในองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 ได้แก่ ตัวละครชาย คือ 1) จารุทัตตะ (พระเอก พราหมณ์ผู้ประเสริฐและยากไร้) 2) ไมเตรยะ หรือวิทูษกะ (สหายร่วมทางของจารุทัตตะ และเป็นตัวตลก) 3) ศการะหรือสัง-สถานกะ (ตัวร้าย น้องเขยราชาปาลกะแห่งเมืองอุชชยินี) 4) สังวาหกะ (หมอนวดที่กลายเป็นนักพนันและบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา) 10) กรรณปูรกะ (คนรับใช้ของวสันตเสนาผู้ช่วยภิกษุจากช้างตกมัน) ตัวละครหญิง ได้แก่ 1) วสันตเสนา (นางเอก หญิงงามเมืองที่งดงาม และร่ำรวย) 2) มทนิกา (สาวรับใช้ของวสันตเสนา) 3) รทนิกา (สาวรับใช้ของจารุทัตตะ) รสสำคัญที่ปรากฏในองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 ได้แก่ กรุณารส (ความสงสาร) มักพบในคำกล่าวตัดพ้อถึงความยากจนของจารุทัตตะ รองลงมาคือเราทรรส (ความโกรธ) ภยานกรส (ความกลัว) และศฤงคารรส (ความรัก) ส่วนรสอื่นๆ นั้นมีไม่มากนัก อลังการที่ปรากฏมีทั้งศัพทาลังการ (อลังการทางเสียง) และอรรถาลังการ (อลังการทางความหมาย) ได้แก่ อนุปราสะ อุปมา รูปกะ อติศโยกติ สมาโสกติ อุตเปรกษา ตุลยโยคิตา อรรถานต-รันยาสะ สมุจจยะ อปรัสตุตประศังสา สวภาโวกติ ทีปกะและมาโลปมา และจากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปในบทละครมฤจฉกฏิกะของศูทรกะ ผู้วิจัยสามารถจำแนกหัวข้อได้ 10 หัวข้อ คือ 1) ประวัติของผู้ประพันธ์ 2) ลักษณะทั่วไปของบทละคร 3) กลวิธีการดำเนินเรื่อง 4) ที่มาของโครงเรื่อง 5) เนื้อหาโดยย่อของบทละคร 6) ตัวละคร และบุคลิกของตัวละคร 7) ภาษาที่ใช้ 8) การใช้ฉันท์ หรือฉันทะ (ฉนฺท) 9) สภาพสังคม และวัฒนธรรม 10) สุภาษิต จากหัวข้อดังที่กล่าวมาแล้วนี้จะสามารถมองเห็นภาพโดยรวมของบทละครมฤจฉกฏิกะในองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 ผ่านการสะท้อนความรู้สึกต่างๆ ของตัวละครได้อย่างชัดเจน รวมทั้งทำให้ผู้ชมและผู้อ่านสามารถรับรู้ถึงคุณค่าและอารมณ์ที่กวีต้องการจะสื่อสารออกมาได้อย่างสมบูรณ์อีกด้วยth
dc.language.isoth
dc.publisherSilpakorn University
dc.rightsSilpakorn University
dc.subjectบทละครสันสกฤตth
dc.subjectมฤจฉกฏิกะth
dc.subjectศูทรกะth
dc.subjectSanskrit playen
dc.subjectMṛcchakaṭikaen
dc.subjectŚūdrakaen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationForeign languagesen
dc.titleAn Analytical Study of the Sanskrit Drama Mṛcchakaṭika of Śūdrakaen
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์บทละครสันสกฤตเรื่องมฤจฉกฏิกะ ของศูทรกะth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorSamniang Leurmsaien
dc.contributor.coadvisorสำเนียง เลื่อมใสth
dc.contributor.emailadvisorsamniang@su.ac.th
dc.contributor.emailcoadvisorsamniang@su.ac.th
dc.description.degreenameMaster of Arts (M.A.)en
dc.description.degreenameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineOriental Languagesen
dc.description.degreedisciplineภาษาตะวันออกth
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60116204.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.