Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/488
Title: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ
Other Titles: A PARTICIPATORY ACTION RESEARCH IN CONSERVING AND PASSING ON THAI SONG DUM’S CLOTH WEAVING WISDOM
Authors: โตภาณุรักษ์กุล, เอื้อมพร
Topanurakkun, Uamporn
Keywords: การอนุรักษ์และสืบทอด
ภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ
Issue Date: 8-Mar-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของผ้าทอไทยทรงดำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ (3) เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญา ผ้าทอไทยทรงดำ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลในการวิจัยภาคสนามโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) และศึกษาสภาพปัญหา ความสัมพันธ์จากปรากฏการณ์ต่างๆ วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ไทยทรงดำและผ้าทอไทยทรงดำ การวิเคราะห์และสังเคราะห์บทบาท แนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ ขั้นที่ 2 การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และ สืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำและขั้นที่ 3 การนำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ ผลการวิจัย พบว่า 1. ไทยทรงดำหรือไทดำเป็นคำเรียกขานกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีต้นกำเนิดและถิ่นอาศัยในดินแดนสิบสองจุไทประเทศเวียดนามเหนือ ชุมชนไทยทรงดำในตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นต้นกำเนิดแหล่งแรกของการตั้งชุมชนไทยทรงดำในประเทศไทย สิ่งที่ยึดโยงความเป็นไทยทรงดำคือพิธีกรรมและความเชื่อการนับถือผี ซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วทางวัฒนธรรมทำให้ผ้าทอไทยทรงดำ ดำรงอยู่ ผ้าทอไทยทรงดำมี 3 ประเภทคือ 1) ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) ผ้าที่ใช้ในงานพิธีกรรมประเพณี 3) ผ้าเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ลักษณะลวดลายผ้าทอไทยทรงดำแบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1) ลายพันธุ์พฤกษา 2) ลายสัตว์ในจินตนาการ 3) ลายผสมอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำประกอบด้วยด้านสังคมและเศรษฐกิจ ด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพและความเจริญด้านคมนาคมและเทคโนโลยี 2. วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศโดยศึกษาพื้นที่กรณีตัวอย่าง 4 แห่งคือ1) กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย 3) ศูนย์ทอผ้าจกไท-ยวน (จิปาถะภัณฑ์สถานบ้าน คูบัว) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 4) ศูนย์ผ้าทอพื้นเมืองลายโบราณบ้านผาทั่ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยการนำเสนอข้อมูล 2 ส่วนคือ ข้อมูลและบริบทของพื้นที่ และการวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ปัจจัยความสำเร็จได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ 2) การมีส่วนร่วม 3) วัฒนธรรมองค์กร 4) สำนึกชาติพันธุ์ 5) การสร้างแรงจูงใจในการสืบทอด 6) สร้างองค์ความรู้ 7) ศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ส่วนปัญหาและอุปสรรคคือเรื่องงบประมาณและการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำพบว่าชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดท าแผนโครงการ กิจกรรมต่างๆ และอาศัยความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างองค์ความรู้ 2) การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 3) ปราชญ์ชาวบ้าน 4) กระบวนการสืบทอดและหลักสูตร 5) กิจกรรมงานประเพณี 6) การสร้างเครือข่าย 7) การจัดตั้งกลุ่มทอผ้า 8) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และมียุทธศาสตร์การสร้างแนวทางเชิงพื้นที่มีดังนี้ 1) การระดมความร่วมมือ 2) การกระตุ้นผู้นำ 3) การสร้างแรงจูงใจในการสืบทอด ปัจจัยและเงื่อนไขสู่ความสำเร็จคือปัจจัยภายในประกอบด้วย 1) สำนึกทางชาติพันธุ์ 2) ทุนทางวัฒนธรรม 3) สมาชิกในชุมชน 4) ผู้นำชุมชน และปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 1) ภาครัฐ 2) ภาคเอกชน 3) ภาควิชาการ The objective of this research are:(1) to investigate the circumstances of his wisdom woven of the Thai Shong Dam from the past to the present.(2) to study the best practices in conservation and to relay the wisdom woven of the Thai Shong Dam. (3) to study and to conservation of Thailand’s wisdom woven of the Thai Shong Dam. There are 3 Research Methodologies, Step1 Study of the forecast and the wisdom woven of the Thai Shong Dam. Step 2 Analysis and Synthesis the role of the conservation practices and wisdom woven of the Thai Shong Dam. Step 3 Proposal of the Guidelines for the Conservation and wisdom woven of the Thai Shong Dam. The results are as follows: 1. The Thai Shong Dam or Thai Dam is called for the ethnic group originating in the territories and habitats of Sib Song Ju Thai, North Vietnam. The Thai Shong Dam community in Tambon Nong Prong, YoiDistrict, Phetchaburi Province. The first source is considered as the origin of the Thai Shong Dam community in Thailand. The linked to the rituals and beliefs of animism. This is the cultural roots that make the Thai Shong Dam community existence. The Thai Shong Dam has three types of fabrics. 1) The fabric which used in routine’s life. 2) The fabrics for use in rituals. 3) The other miscellaneous fabrics. We can divide the Thai Shong Dam’s pattern style into 3 categories. 1) Flora species 2 )An imaginary animals 3) Other Mixtures The changes affect the conservation and transmission. The Thai Shong Dam consists of the society and the economy, education and occupation, and the growth in the communications and technology. 2. Best Practices Case Study Area are in the 4 areas.1) The women weaving group called “Baan Hua Kao Chin” Pak Tho ,Ratchaburi Province. 2) The Thai Shong Dam’s Cultural Centre, Kao Yoi, Petchaburi Province. 3) Textile Center, Ltd., Tai - Yuan. (Miscellaneous packaging facility of Baan Ku Bua) Muang, Ratchaburi Province. 4) The Woven fabric pattern ancient cliff houses, Uthaithani Province. There are two parts of the presentations of data and contextual information of the area and to analyse what are the best practices. Success factors” are 1).leadership 2).participation 3).organisation’s cultures 4).ethnic consciousness 5).Motivation in succession 6). Creating the knowledge 7).the community’s learning center, the problem and the barriers are the budget and the supporting from the local administration 3.The Participatory Action Research in Conservation and inherited wisdom of the Thai Shong Dam.The community, awareness and participation in the preparation of project plans and activities with the cooperation of the organization and local agencies. The guidelines are as follows: 1)The creation of knowledge 2) Participation 3) The succession process 4) Events and Festival 5) The establishment of a museum 6) The establishment of a textile group 7) Partners 8) Communications And generate spatial strategy are as follows: 1) The Rally 2) the stimulation lead 3) motivation for succession . Factors and criteria for success are 1) the realization of ethnic 2) cultural capital 3) member in the community 4) the community’s leader and the external factors which are 1) the government section 2) the private section 3) the academic section
Description: 54260907 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/488
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54260907 เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล.pdf54260907 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล20.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.