Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/494
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จำปา, ศศิพัชร | - |
dc.contributor.author | champa, sasiphat | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T01:35:57Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T01:35:57Z | - |
dc.date.issued | 2559-08-01 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/494 | - |
dc.description | 54262902 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- ศศิพัช จำปา | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์ 2) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์ 3) ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร จำนวน 36 คน ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการสอน แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แบบประเมินกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์ แบบสอบถามสำนึกรักษ์ท้องถิ่น และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ฯ มีชื่อว่า SSAS Model มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลท้องถิ่น เพื่อวิเคราะห์และกำหนดประเด็นคำถามทางประวัติศาสตร์ (Study Local History Data and Historical Issue Analysis Question) ขั้นที่ 2 การสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลหลักฐาน (Survey and Collecting Data From Historical Learning and Checking Fact of Evidences) ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ตีความข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบด้วยบริบทและมุมมองทางประวัติศาสตร์ (Analysis Interpretation in Causality and Consequences by Historical Perspectives and Context) ขั้นที่ 4 การสังเคราะห์และสรุปข้อมูล เพื่อสร้างองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Synthesis and Summarize Data for Construct Body of Knowledge in Local History) และมีการตรวจสอบรูปแบบ ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯ พบว่า 2.1) ผู้เรียนมีกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์สูงขึ้น 2.2) ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ผู้เรียนมีสำนึกรักษ์ท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2.4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก 3. ผลการขยายผลรูปแบบ พบว่า การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ฯ หลังเรียนตามรูปแบบผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์สูงขึ้น มีสำนึกรักษ์ท้องถิ่นในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to 1) develop and determine the efficiency of the instructional model 2)model implement and evaluated by historical learning sources 3)disseminate the instructional model of local history by historical learning sources. The sample was 36 fourth year students, major in Social Studies, Faculty of Education, Silpakorn University in the second semester of the academic year 2015. The research instruments were the instructional model of local history by historical learning sources, the model’s handbook consisting of the lesson plans, a learning outcome test, an assessment form of historical thinking process, a questionnaire of local consciousness mind, and a questionnaire of the satisfaction of Social Studies teachers towards local history and historical thinking process. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent and content analysis. The research finding revealed that: 1. The instructional model of local history by historical learning sources was named “SSAS Model”. It’s consisted of 4 components: principles, objectives, process and conditions for implementation. The instructional process were comprised of 4 steps, namely 1)study local history data and historical issue analysis question, 2)survey and collecting data from historical learning and checking fact of evidences, 3)analysis interpretation in causality and consequences by historical perspectives and context, and 4) synthesis and summarize data for construct body of knowledge in local history. And the model approve by experts. 2. The study of the effectiveness of the instructional model of local history by historical learning sources revealed that 2.1) students ’s had continuous historical process 2.2) students ’s learning outcome scores on knowledge understanding in local history was significantly higher than the scores before learning at the .05 level. 2.3) students ’s had local consciousness mind at the highest level. And 2.4) students ’satisfaction toward the model was at higher level. 3. The result of disseminating the instructional model of local history by historical learning sources showed that learning outcome scores on knowledge understanding in local history after learning was significantly higher than the scores before learning at the .05 level. The historical thinking process, the local consciousness mind was at higher level and satisfaction of Social Studies teachers toward the model was at higher level. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | รูปแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร | en_US |
dc.subject | กระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์ และ ความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | ความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น | en_US |
dc.subject | INSTRUCTIONAL MODEL OF LOCAL HISTORY | en_US |
dc.subject | HISTORICAL LEARNING SOURCES | en_US |
dc.subject | KNOWLEDGE UNDERSTANDING IN LOCAL HISTORY | en_US |
dc.subject | HISTORICAL THINKING PROCESS | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL OF LOCAL HISTORY BY HISTORICAL LEARNING SOURCES FOR SUPPORTING HISTORICAL THINKING PROCESS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54262902 ; ศศิพัช จำปา .pdf | 54262902 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- ศศิพัช จำปา | 7.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.