Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5023
Title: Architectural encoding from relation of the nine-square grid system
ระบบความสัมพันธ์ของตารางเก้าช่อง สู่การถอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
Authors: Chisanupong WATTANO
ชิษณุพงศ์ วัฒโน
Pattanapakorn Leelaprute
พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์
Silpakorn University
Pattanapakorn Leelaprute
พัฒนปกรณ์ ลีลาพฤทธิ์
pattana_pakorn@hotmail.com
pattana_pakorn@hotmail.com
Keywords: ระบบตาราง
ตารางเก้าช่อง
ระบบความสัมพันธ์
สมมาตร
อสมมาตร
ภาพตัวแทนทางสถาปัตยกรรม
grid system
nine-square grid system
relation in architectural
symmetry
asymmetry
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis originates from a keen interest in the grid system, its historical development, and its application across various artistic disciplines. It undertakes an in-depth examination of the significance of grid systems, with particular emphasis on the nine-square grid system. Later, the relationship between each nine-square grid system was studied, leading to an overall picture of the nine-square grid system. The study revealed that the grid system and the nine-square grid system were involved in various applications and were instrumental in artistic composition in the modern era (1909-1972) for artists, illustrators, and architects.               An analysis of the article reveals the significant impact of historical context on contemporary practices. It demonstrates the varied applications of the nine-square grid system across different eras and by diverse individuals. Nine important architects involved in the grid system in architectural design include Andrea Palladio, Le Corbusier, Louis Kahn, Colin Rowe, Peter Eisenman, John Hejduk, Micharl Graves, Richard Meier, Charles Gwathmey.               The grid system is balanced and symmetrical in the form of an equal nine-square grid. Therefore, the nine-square grid system is interesting as an architectural design and reading tool. As a result, the researcher realized the potential of the nine-square grid system as an architectural representation. and hypothesized in this research that “When realizing the prototype architecture with the nine-square grid system, how can I read architectural representations?               The findings revealed that considering the architectural style through the nine-square grid system could clearly define criteria and meet each condition. The researcher decided to use 2 types of buildings which were a residence and a church, to show a final visual comparison of the styles. It could reveal the nuances and suitability of tools in the nine-square grid system. It reveals the ambiance of the original structure and preserves the relationships between the buildings in a linear arrangement. The numerical designation is still lacking in the connection of each grid in the final image. It is necessary to rely on writing relationships to read the nine-square grid system clearly and continuously.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เกิดจากความสนใจของผู้ศึกษาในระบบตาราง(Grid system)  ความเป็นมา รวมถึงการใช้ระบบตารางในงานด้านศิลปะแขนงต่างๆ เพื่อนำไปสู่การศึกษาความสำคัญ การเกิดขึ้นของระบบตาราง 9 ช่อง (nine-square grid system) ซึ่งต่อมาได้ทำการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของหน่วยย่อย แต่ล่ะหน่วยย่อยของตาราง 9 ช่อง จนนำไปสู่ภาพรวมของตาราง 9 ช่อง จากการศึกษาพบว่า ระบบตาราง และระบบตาราง 9 ช่อง พูดถึง การใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดองค์ประกอบศิลป์ ในยุคโมเดิร์น(1909-1972) ศิลปิน นักวาดภาพ สถาปนิก           จากการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากบทความ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในอดีตที่ส่งผลถึงปัจจุบัน มีการใช้รูปแบบของตาราง 9 ช่อง ที่หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา และการใช้งานของแต่ละบุคคล ซึ่งบุคคลที่สำคัญต่องานสถาปัตยกรรม คือ สถาปนิกทั้ง 9 ท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และใช้รูปแบบของระบบตาราง ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย Andrea Palladio, Le Corbusier, Louis kahn, Colin rowe, Peter Eisenman, John Hejduk, Micharl Graves, Richard Meier, Charles Gwathmey           ระบบตาราง มีความสมดุล สมมาตร ในรูปแบบของสี่เหลี่ยมจัตุรัส 9 ช่อง สี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ละช่องมีขนาดที่เท่ากัน การใช้ตาราง 9 ช่อง จึงมีความน่าสนใจในการใช้เป็น เครื่องมือในการถอดรูปแบบออกแบบสถาปัตยกรรม  และการใช้ระบบตาราง 9 ช่อง ในการอ่านงานสถาปัตยกรรม ผู้ศึกษาเร่งเห็นถึงศักยภาพของตาราง 9 ช่อง ที่จะเป็นภาพตัวแทนทางสถาปัตยกรรม(architectural representation) จึงนำไปสู่สมมติฐานในการวิจัยนี้ว่า “ ในความสัมพันธ์ของตาราง 9 ช่องเมื่อถอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของสถาปัตยกรรมต้นแบบ แล้วจะสามารถมอง หรืออ่านภาพนั้นเป็นภาพ ตัวแทนของสถาปัตยกรรมได้อย่างไร ”           ผลการศึกษาพบว่า การถอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ผ่านความสัมพันธ์ของตาราง 9 ช่อง ได้กำหนดเกณฑ์ในการถอดรูปแบบอย่างชัดเจน เป็นไปตามเงื่อนไขในแต่ละข้อ โดยเลือกกลุ่มอาคารเป็น 2 ประเภท คือ ที่พักอาศัย โบสถ์ เลือกประเภทอาคารที่แตกต่างกันเพื่อแสดงการเปรียบเทียบภาพสุดท้ายของการถอดรูปแบบ ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมาะของเครื่องมือ จากการถอดรูปแบบอาคาร สู่ภาพใหม่ในรูปแบบของตาราง 9 ช่อง แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศของอาคารต้นแบบและยังคงความสัมพันธ์ของอาคารนั้นในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้น การกำหนดตัวเลข ยังขาดการเชื่อมต่อของแต่ละช่องในภาพสุดท้าย จึงต้องอาศัยการเขียนความสัมพันธ์เพื่อการอ่านภาพตาราง 9 ช่องให้เกิดความเข้าใจในการอ่าน และความต่อเนื่องของภาพนั้น
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5023
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630220016.pdf6.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.