Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5028
Title: | The Study of Mode Changing Behavior Pattern and Problemin Feeder Areas of Bangkok Mass Rapid Transit System : A Case Study of Ratchathewi BTS Station การศึกษาแบบแผนพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางและปัญหาในบริเวณพื้นที่ขนส่งมวลชนรองของรถไฟฟ้ากรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี |
Authors: | Saranporn SAKUNDIT ศรัณย์พร สกุลดิษฐ Rujiroj Anambutr รุจิโรจน์ อนามบุตร Silpakorn University Rujiroj Anambutr รุจิโรจน์ อนามบุตร rujianam@gmail.com rujianam@gmail.com |
Keywords: | พื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง, ระบบขนส่งมวลชนรอง, สถานีรถไฟฟ้า Transition area/ Feeder/ Mass Rapid Transit |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objectives of this research are: 1) to examine user behavior pattern of transportation mode changing to and from Ratchathewi BTS station 2) to identify problems arising from mode changing 3) to propose design guidelines that support effective and user-friendly travel mode changes. The study uses systematic observation and interviews to gather data on; physical conditions of the feeder area under the station, user volumes, and feeder vehicles. Guidelines for study improvement to support sustainable and efficient transition area for feeder system are proposed accordingly.
In summary; the study found that the most frequently used modes of public transport are, in order, public buses, taxis, and motorcycle taxis. Peak usage times are weekdays between 8:00-9:00 a.m., with the lowest usage on holidays between 1:00-2:00 p.m. On average, about 3,638 people travel into the area each day, and the volume of feeder vehicles to pick up and drop off passengers is around 1,638 vehicles per day many of which are there.
However, the area lacks essential infrastructure for changing travel modes, such as parking areas, waiting zones for pick-up and drop-off, and amenities for travelers. This results in traffic congestion and poses safety risks for travelers.
Finally, guidelines for improving transitioning travel modes areas are as followings: 1) management of spaces for secondary public transportation systems at BTS stations, 2) designing with environmental considerations in mind, 3) organizing continuous sidewalks, and 4) providing facilities for areas where travel modes change to ensure convenient and safe travel connections. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางสู่ระบบขนส่งมวลชนรอง ที่สถานีรถไฟฟ้าราชเทวี 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าราชเทวี 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสำรวจ สังเกตการณ์อย่างเป็นระบบ และสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลสภาพปัญหาของพื้นที่ ปริมาณของผู้ใช้งานและยานพาหนะของระบบขนส่งมวลชนรอง เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ และเสนอแนวทางพัฒนากายภาพและการจัดการของพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางสู่ระบบขนส่งมวลชนรองอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ สรุปผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าวิธีการเดินทางหรือระบบขนส่งสาธารณะที่มีผู้ใช้ที่มาต่อรถไฟฟ้ามากที่สุดคือ รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง ตามลำดับ ช่วงเวลาที่มีปริมาณรถรับ-ส่ง จำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดคือ วันธรรมดา ช่วงเวลา 08.00-09.00น. และช่วงเวลาที่มีปริมาณรถรับ-ส่ง จำนวนผู้ใช้งานน้อยที่สุดคือ วันหยุด ช่วงเวลา 13.00-14.00 น. ปริมาณของผู้ใช้งานเดินทางเข้า-ออก มากที่สุดในวันธรรมดา มีผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ จำนวน 3,638 คน/วัน และปริมาณยานพาหนะของระบบขนส่งมวลชนรองทุกรูปแบบมากที่สุดในวันธรรมดา จำนวน 1,638 คัน/วัน ซึ่งมีจำนวนมากที่เข้ามาเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสาร ยังขาดพื้นที่สำหรับการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เช่น พื้นที่เทียบจอด พื้นที่รอรับ-ส่ง สำหรับรถสาธารณะ และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางหลายด้าน ส่งผลให้มีการจราจรไม่คล่องตัว และไม่ปลอดภัยแก่ผู้เดินทาง แนวทางในการพัฒนาพื้นที่สำหรับการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางควรพิจารณาเรื่อง 1) การจัดการพื้นที่สำหรับระบบขนส่งมวลชนรองสำหรับสถานีรถไฟฟ้า 2) การออกแบบที่คำนึงถึงเรื่องสภาพแวดล้อม 3) การจัดระเบียบทางเท้าให้มีความต่อเนื่อง 4) การเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางมีความสะดวกสบาย และปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งผู้วิจัยมีความคาดหวังว่าวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟฟ้าที่จะมีการปรับปรุงพื้นที่และก่อสร้างสถานีใหม่ในอนาคตเพื่อให้การเชื่อมต่อเดินทางมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5028 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640220012.pdf | 16.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.