Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5093
Title: | The Creation of literary works in relation to the royal coronation ceremony in the Rattanakosin Period การสร้างสรรค์วรรณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ |
Authors: | Kae DANGSAKUL เก๋ แดงสกุล PATTAMA THEEKAPRASERTKUL ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล Silpakorn University PATTAMA THEEKAPRASERTKUL ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล pattamathee@hotmail.com pattamathee@hotmail.com |
Keywords: | วรรณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ LITERARY WORKS IN RELATION TO THE ROYAL CORONATION CEREMONY CORONATION CEREMONY IN THE RATTANAKOSIN PERIOD |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aimed to study the characteristics, roles, and relationships between the social context and the creation of literature related to the coronation ceremony in the Rattanakosin period.
The findings revealed that literature related to the coronation ceremony in the Rattanakosin period had the coronation ceremony as the main theme, summarized in 5 characteristics: 1) describing the agenda and importance of the coronation ceremony; 2) the announcement of the ascension to the throne and the right clarification to rule; 3) recording the steps of the royal ceremony and key components in the ceremony; 4) expressing event’s atmosphere in the ceremony with the emotions of participants in the ceremony; and 5) offering blessings and allegiance to the King. Besides, there were outstanding literary strategies including using sound, word choice, and meaning conveying, making the literature exquisite,suitable for use in ceremonies, and recording key royal ceremonies of the King. This method can enhance the reader's imagination and mutual emotions well.
This kind of literature plays a role in the royal ceremonies and the importance of the monarchy in Thai society, such as creating the completeness of the coronation ceremony , being as communicator in the ceremony for smoothness, recording the coronation ceremonies as memories as evidence of the coronation ceremonies in each era and expressing the identity of a nation with culture both inheriting the qualification of the ruler, maintaining the royal tradition of ascension to the throne, and the dissemination of national arts and culture for public awareness.
The creation of this kind of literature is obviously related to the social context of each period. During the reigns of King Rama 1-3, it was an "era for the formation of the new text" since it was a period of building the city for stability. Since the Royal ceremonies were limited within the royal court, the author was therefore a member of the royal family. Few texts were found, and the aim was to present a picture of a righteous monarch to confirm the rights of governance. During the reign of King Rama 4-7, it was a period when the arrival of Western nations made the royal ceremonies more open. Therefore, the literature of this era was “the prosperity and variety of texts” with both Thai and foreign authors. Many texts were found and written in poetry and prose to show a variety of images of the King, especially the image of the King who cultivated friendly relations and modernized the country. During the reign of King Rama 9-10, it was "the era of texts of the people and communication technology". Due to democratic governance, royal ceremonies were more connected to the people. The main authors were therefore citizens. Emphasis was placed on the image of the King who was democratically head of state and responsible for the people. With advances in technology, the coronation ceremony has been increasingly being broadcasted through various media, resulting in fewer text recordings of the ceremony. It can be inferred that the social context led to the creation of literature related to the coronation ceremony in each era with different turning points and details. Therefore, this kind of literature is still occupied in Thai society until the present. วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะ บทบาท และความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคมกับการสร้างสรรค์วรรณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ ผลการวิจัยพบว่าวรรณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์จะมีเรื่องพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นแกนกลางและเป็นเนื้อหาสำคัญ สรุปเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) การบอกวาระและความสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2) การปรารภเหตุการเสด็จขึ้นครองราชย์และการแสดงสิทธิธรรมในการปกครอง 3) การบันทึกขั้นตอนการประกอบพระราชพิธีและองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในพิธี 4) การถ่ายทอดภาพเหตุการณ์ บรรยากาศในพิธี ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกของผู้เข้าร่วมพิธี และ 5) การกล่าวถวายพระพรชัยมงคลและความสวามิภักดิ์แด่พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังมีความดีเด่นด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ ทั้งการใช้เสียง การสรรคำและการสื่อความหมาย ทำให้วรรณคดีที่สร้างสรรค์ขึ้นมีความไพเราะงดงามสมกับแต่งเพื่อใช้ประกอบในพิธีและบันทึกพระราชพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์ สามารถบรรยายให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมได้เป็นอย่างดี วรรณคดีกลุ่มนี้มีบทบาทสัมพันธ์กับการประกอบพระราชพิธีและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ได้แก่ บทบาทต่อการสร้างความสมบูรณ์ของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทำหน้าที่สื่อสารในพิธีช่วยให้ดำเนินพิธีราบรื่นสมบูรณ์ บทบาทต่อการบันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอันจะย้ำเตือนความทรงจำและเป็นหลักฐานการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแต่ละยุคสมัย และบทบาทต่อการแสดงเอกลักษณ์ของชาติที่มีวัฒนธรรม ทั้งการสืบทอดพระคุณสมบัติของผู้ปกครอง การธำรงแบบแผนราชประเพณีการเสด็จขึ้นครองราชย์ และการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้รับรู้โดยทั่วกัน การสร้างสรรค์วรรณคดีกลุ่มนี้สัมพันธ์กับบริบททางสังคมในแต่ละช่วงสมัยอย่างชัดเจน ในช่วงรัชกาลที่ 1-3 เป็น“ยุคก่อร่างสร้างตัวบทใหม่” เนื่องจากเป็นช่วงสร้างบ้านแปลงเมืองให้มั่นคง การพระราชพิธียังจำกัดภายในราชสำนัก ทำให้ผู้แต่งเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ พบตัวบทน้อย และมุ่งนำเสนอภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมเพื่อยืนยันสิทธิธรรมการปกครองพอถึงช่วงรัชกาลที่ 4-7 เป็นช่วงการเข้ามาของชาติตะวันตกทำให้การพระราชพิธีเปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้วรรณคดียุคนี้เป็น “ยุคเฟื่องฟูและความหลากหลายของตัวบท” มีผู้แต่งทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พบตัวบทจำนวนมากทั้งแต่งด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว และนำเสนอภาพพระมหากษัตริย์หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีและปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย ครั้นถึงรัชกาลที่ 9-10 เป็น“ยุคตัวบทของประชาชนและเทคโนโลยีการสื่อสาร” สืบเนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยทำให้การพระราชพิธีเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น ผู้แต่งหลักจึงเป็นประชาชน เน้นนำเสนอภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขตามระบอบประชาธิปไตยและทรงเป็นที่พึ่งของปวงชนด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เรื่องการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้มีตัวบทบันทึกพิธีน้อยลง กล่าวได้ว่าบริบททางสังคมส่งผลให้การสร้างสรรค์วรรณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในแต่ละยุคเกิดจุดเปลี่ยนและมีรายละเอียดต่างกัน อันส่งผลให้วรรณคดีกลุ่มนี้ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5093 |
Appears in Collections: | Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61202801.pdf | 6.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.