Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/514
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ไกรนรา, ธิรารัตน์ | - |
dc.contributor.author | Krainara, Thirarat | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T01:44:39Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T01:44:39Z | - |
dc.date.issued | 2559-08-02 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/514 | - |
dc.description | 54252310 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- ธิรารัตน์ ไกรนรา | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม จำนวนทั้งสิ้น 71 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลัก ธรรมาภิบาล ตามแนวคิดของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและระบบที่ดี พ.ศ.2542 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า: 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ หลัก นิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ และหลักความมีส่วนร่วม 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงครามมีแนวทางดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ภายใต้การปกครองให้ทุกคนเห็นเป็นแบบอย่าง และคอยกระตุ้นครูและบุคลากรทางการศึกษาให้พัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพในโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม เมื่อครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดความรู้และเข้าใจในการบริหารงานสถานศึกษาและบริบทต่างๆ ก็จะมีความเข้าใจที่ดีอันก่อให้เกิดการบริหารงานและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม ด้านหลักคุณธรรม การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้ครูและบุคลากร มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยันอดทน มีระเบียบ มีวินัย ด้านหลักความโปร่งใส ผู้ปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจน ด้านหลักการมีส่วนร่วม การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ แนะนำ ปรึกษาร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ ด้านหลักความรับผิดชอบ การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง ด้านหลักความคุ้มค่า การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ในโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม The purposes of this research were to study ; 1) The School Administration of the Principles for Good Governance in Sarasas Witaed SAmutsongkhram School. 2) Administration’s guidelines of the Principles for Good Governance in Sarasas Witaed Samutsongkhram School’s development. The participants to this survey were to the school director, the deputy directors and the teachers for a total of 71 individuals. The research instrument was a questionnaire about the Principles for Good Governance in accordance with the Policy statement of Parliament 1999. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean and standard deviation. The finding reveal that : 1. The School Administration of the Principles for Good Governance in Sarasas Witaed Samutsongkhram School was at high level in overall view and in each aspect by rule of law, cost-effectiveness, morality, accountability, responsibility and participation. 2. According to the School Administration of the Principles of Good Governance in Sarasas Witaed Samutsongkram School should meet the following : 1) The teachers may be provided with information, asked for their opinions, given the opportunity to make recommendations or be a part of the actual process. 2) The school director should be an example to all teachers and encourage them to develop their teaching skills. If the teachers are well informed about school management and context, it will make everyone work together more efficiently. There must be current policies, systems and structures so that the school director can effectively and efficiently guide the direction and operations of the school. It is the director’s primary responsibility to serve in the best interests of the school to ensure its development and growth. 3) Transparency indicates the ability of the school’s employees, students and parents to easily get school information and to follow and understand the decision-making process. The opportunity for anyone to participate in the decision-making process, the school director should implement decisions and follow processes that make the best use of the available teachers, resources and time to ensure the best possible results for Sarasas Witaed Samutsongkhram School. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การบริหารโรงเรียน | en_US |
dc.subject | หลักธรรมาภิบาล | en_US |
dc.subject | SCHOOL ADMINISTRATION | en_US |
dc.subject | GOOD GOVERNANCE | en_US |
dc.title | การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศสมุทรสงคราม | en_US |
dc.title.alternative | THE SCHOOL ADMISTRATION OF THE PRINCIPLES FOR GOOD GOVERNANCE IN SARASAS WITEAD SAMUTSONGKHRAM SCHOOL | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54252310 นางสาวธิรารัตน์ ไกรนรา.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.