Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/515
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อนุญาหงษ์, บัณฑิต | - |
dc.contributor.author | anuyahong, bundit | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T01:45:17Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T01:45:17Z | - |
dc.date.issued | 2559-06-30 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/515 | - |
dc.description | 52254903 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- บัณฑิต อนุญาหงษ์ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหา และความจำเป็นของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นเกี่ยวกับรูปแบบ การเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2)พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องวัฒนธรรมญี่ปุน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 และ3)เพื่อ ประเมินรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 กรุงเทพมหานคร ที่พัฒนาขึ้นโดย 3.1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้ รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย- ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 และขนาดของผล (Effect Size) ของรูปแบบการเรียนการสอน 3.2)เปรียบเทียบผลการประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจ วัฒนธรรมญี่ปุ่น ของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย สอน สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 และ 3.3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 60 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในภาคเรียนที่3 ปีการศึกษา 2557 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนดำเนินตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การศึกษาบริบทและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 2) การออกแบบและการสร้างรูปแบบการสอน 3) การทดลองใช้และหา ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ระยะเวลาในการทดลอง 35 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการรูปแบบการเรียนการสอน 2)แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามการประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนการ สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติพื้นฐานที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าทีแบบจับคู่ การทำสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพบว่า นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นมีความต้องการรูปแบบการเรียนการ สอนอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก( x = 4.04, S.D.= 0.67) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษที่นักศึกษาต้องการเรียนรู้ ด้านรูปแบบเทคนิคและกลยุทธ์การอ่านเพื่อความเข้าใจ และด้านหัวข้อวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อนำมาสร้างบทเรียนการสอนอ่าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2.รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาชั้นปี ที่1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.83/83.38 และขนาดของผล (Effect Size) มีผลขนาดใหญ่มาก (D=0.87) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 3.1 นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนการอ่านภาษาอังกฤษหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการ สอนการอ่านภาษาอังกฤษหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มีความรู้ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษหัวข้อเกี่ยวกับ วัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับมาก ( xบาร์ = 4.18, S.D.= 0.20) The purposes of this study were 1) to investigate problems and needs of Thai- Nichi Institute of Technology students on English reading instructional model based on Japanese cultures through CALL, 2) to develop an English reading instructional model based on Japanese cultures through CALL for first- year TNI students to reach the set Efficiency Criteria of 75/75, and 3) to assess the effectiveness of the mentioned model by 3.1) comparing students’ English reading proficiency scores before and after using the model and finding its Effect Size, 3.2) comparing their self-assessment of knowledge and comprehension on Japanese culture before and after using the model and 3.3) finding their satisfaction levels with the model. The subjects were 60 first-year Thai-Nichi Institute of Technology students selected by a simple random sampling technique in the third semester of 2014 academic year. This Research and Development Study consisted of 4 phases, namely: 1) A study of needs assessment of TNI students on instructional model; 2) A design and construction of the English reading instruction model; 3) An implementation of the model and finding its efficiency; and 4) An evaluation and improvement of the model. The main study lasted for 35 hours. The research instruments for collecting data were 1) a set of questionnaires on students’ needs of English reading instructional model; 2) an English reading proficiency test; and 3) a set of questionnaires on students’ knowledge and comprehension of Japanese cultures; 4) a set of questionnaires on students’ satisfaction with the English reading instructional model. The data were then analyzed by means of descriptive statistics, content analysis, Paired-Samples t-tests and One-Sample t-tests. The results of this study can be summarized as follows: 1. On average, the students needed English reading instructional model on the topic of Japanese culture very much ( x = 4.04/5.0, S.D.= 0.67). When considering each aspect, it was found that they needed English reading skills, techniques and strategies, and required topics very much. 2. The Efficiency Index of the reading model was 86.83/83.38 (which was higher than the set criteria of 75/75.) 3. The results of implementation of English reading instructional model based on Japanese cultures through CALL for first year TNI students were demonstrated as followings: 3.1 On average, the students’ posttest score from using the reading model was significantly higher than that of their pretest score at p = 0.05 and the effect size of the model was large (d= 0.87). 3.2 On average, the students had significantly more knowledge and comprehension on Japanese culture after using the model at p = 0.05. 3.3 On average, the students were very satisfied with the reading model ( xbar =4.18, S.D. =0.20). | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | รูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ | en_US |
dc.subject | หัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น | en_US |
dc.subject | คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา | en_US |
dc.subject | DEVELOPMENT OF ENGLISH READING INSTRUCTIONAL MODEL | en_US |
dc.subject | JAPANESE CULTURE | en_US |
dc.subject | CALL | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นหัวข้อเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF AN ENGLISH READING INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON JAPANESE CULTURE THROUGH COMPUTER-ASSISTED LANGUAGE LEARNING FOR FIRST YEAR STUDENTS, THAI-NICHI INSTITUTE OF TECHNOLOGY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
52254903 ; บัณฑิต อนุญาหงษ์ .pdf | 52254903 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- บัณฑิต อนุญาหงษ์ | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.