Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5285
Title: A Study of the Clarinet Sonata No. 2 in E-flat Major by Johannes Brahms and the Clarinet Sonata by Francis Poulenc for Performance
การศึกษาบทประพันธ์คลาริเน็ตโซนาตา หมายเลข 2 ใน บันไดเสียงอีแฟลตเมเจอร์ประพันธ์โดย โยฮันเนส บรามส์ และคลาริเน็ตโซนาตา ประพันธ์โดย ฟร็องซิส ปูแลงเพื่อใช้ในการแสดง
Authors: Thanabodee MANEENAI
ธนบดี มณีนัย
Tasna Nagavajara
ทัศนา นาควัชระ
Silpakorn University
Tasna Nagavajara
ทัศนา นาควัชระ
tasanaga@gmail.com
tasanaga@gmail.com
Keywords: คลาริเน็ต
โซนาตา
การแสดง
Clarinet
Sonata
Performances
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this study is to perform a solo clarinet recital at the graduate level. The researcher has chosen two pieces of music: Clarinet Sonata No. 2 composed by Johannes Brahms and Clarinet Sonata composed by Francis Poulenc. Afterwards, the researcher collected information from related documents, including interviews with expert clarinet teachers. Then, the data was used to prepare for the solo clarinet recital. During the rehearsal process for the solo clarinet recital, the researcher encountered two main problems, which can be divided into two general approaches: 1. Interpretation of Harmony Concepts: This involved interpreting the performance of Clarinet Sonata No. 2 in E-flat major by Johannes Brahms through the lens of harmony concepts. The challenge was to apply knowledge of harmonic principles to the performance effectively. 2. Technical Challenges in Composition: This encompassed addressing various technical challenges within the composition of the Clarinet Sonata by Francis Poulenc. These challenges led to errors during performance, prompting the creation of exercises to tackle these issues in different passages of the piece. The researcher discovered strategies for addressing practice problems that were suitable for the individual by integrating knowledge gained from studying, researching, and interviewing expert clarinet instructors. These strategies involved interpreting the performance of Clarinet Sonata No. 2 in E-flat major by Johannes Brahms through the lens of acquired knowledge and creating practice exercises to address issues that led to errors during performance in the composition of the Clarinet Sonata by Francis Poulenc. Furthermore, these strategies aimed to enhance solo performance skills more effectively.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการแสดงเดี่ยวคลาริเน็ต โดยผู้วิจัยได้เลือกบทเพลง ทั้งหมด 2 บทประพันธ์ คือ คลาริเน็ตโซนาตาหมายเลข 2 ในบันไดเสียงอีแฟลตเมเจอร์ ประพันธ์โดย โยฮันเนส บรามส์ และคลาริเน็ตโซนาตาประพันธ์โดย ฟร็องซิส ปูแลง จากนั้นผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคลาริเน็ต นำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้ในการแสดงเดี่ยวคลาริเน็ต จากการฝึกซ้อมเพื่อจัดเตรียมการแสดงผู้วิจัยได้ค้นพบปัญหาโดยแบ่งออกเป็น 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ 1. การนำความรู้การแก้ปัญหาทางเสียงประสานมาตีความการแสดงบทประพันธ์คลาริเน็ตโซนาตาหมายเลข 2 ในบันไดเสียงอีแฟลตเมเจอร์ ประพันธ์โดย โยฮันเนส บรามส์ 2. การแก้ปัญหาเทคนิคต่าง ๆ ในบทประพันธ์คลาริเน็ตโซนาตาประพันธ์โดย ฟร็องซิส ปูแลง ที่ทำให้เกิดการผิดพลาดในการแสดงนำมาสู่การสร้างแบบฝึกหัดสำหรับการแก้ปัญหาในตำแหน่งต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญหาในการฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับผู้วิจัยจากการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลและการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคลาริเน็ต มาตีความบทประพันธ์คลาริเน็ตโซนาตาหมายเลข 2 ในบันไดเสียงอีแฟลตเมเจอร์ ประพันธ์โดย โยฮันเนส บรามส์ และสร้างแบบฝึกหัดสำหรับการแก้ปัญหาในตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดในระหว่างการบรรเลงในบทประพันธ์คลาริเน็ตโซนาตาประพันธ์โดย ฟร็องซิส ปูแลง ตลอดจนสามารถพัฒนาการแสดงเดี่ยวไปในทิศทางที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5285
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621020018.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.