Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5292
Title: Guidelines for Developing the Operations of Independent Artists: A Case Study of Renisara
การศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศิลปินอิสระ กรณีศึกษา วงเรนิษรา
Authors: Sahasawat TANSUCHART
สหสวรรษ ตันสุชาติ
Saksit Rachruk
ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์
Silpakorn University
Saksit Rachruk
ศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์
dr.saksit24@gmail.com
dr.saksit24@gmail.com
Keywords: ศิลปินอิสระ
เรนิษรา
การดำเนินงาน
Renisara
operations
independent artists
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research is about studying guidelines for developing the operations of independent artists case study of Renisara. For this purpose, to study problem and obstacle that artist encountering during band operation. Also, the service marketing mix variables that affect employers’ decision to hire artist performance and the service marketing mix variables that affect consumer’s decision of visiting artist music performance.              The methodology of this research is mix method of qualitative and quantitative research including 3 part. First part is qualitative research by in-debt interview the artist. Second part is also qualitative research that in-debt interview 3 employer that have been hire the artist. Third, the quantitative research using online questionnaires collecting from 400 consumers to analyze by statistic tools including distribution of frequency, percentage, mean and standard division           The result showed that a problem of Renisra is lack of performance experience but  has good management team to make efficient operation. The decision of entrepreneurs to select artist are their popularity performance and artist song . From the result ,therefore can create strategy for independent artists to improve operation. The Strategy contained M (Management Team) P (Performances Review) A (Analysis) C (Community) and S (Social media) . These five factor are accorded to the result qualitative research and quantitative research conclude to a “MPACS” strategy
งานวิจัยการศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศิลปินอิสระ กรณีศึกษา วงเรนิษรา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการดำเนินงานของศิลปิน วงเรนิษรา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อว่าจ้าง วงเรนิษรา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการของที่ส่งผลต่อผู้บริโภคในการเข้าชมการแสดงดนตรีของ วงเรนิษรา 4)เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของศิลปินอิสระ กรณีศึกษา วงเรนิษรา ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methodology) รวมกันระหว่าง การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย สัมภาษณ์เชิงลึกจากศิลปินวงเรนิษรา จำนวน 1 ราย ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการ ส่วนที่ 3 เป็นการเกรวิยจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บแบบสอบถามจากผู้บริโภค จำนวน 400 ราย เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          โดยผลจากการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่ศิลปินเรนิษราพบคือยังขาดประสบการณ์การทำงาน เนื่องจากเป็นวงอายุน้อย แต่ยังมีการจัดการที่ดีจากผู้จัดการทำให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบการนั้นจะเลือกศิลปินจากความนิยม การแสดงและเพลงของศิลปิน จากข้อมูลที่ได้มานั้นผู้วิจัยสามารถจะนำเสนอกรอบกลยุทธ์ ได้ 5ข้อ ดังนี้ M (Management Team) หมายถึง มีการแบ่งทีมการทำงานP (Performances Review) หมายถึงการทบทวนแสดง/การทำงาน A (Analysis)หมายถึงการวิเคราะห์ผู้บริโภค C (Community)หมายถึงสร้างชุมชน S (Social media) หมายถึงการดูแลสื่อออนไลน์ ซึ่งกลยุทธ์ ที่ได้กล่าวมา ทั้ง 5 ข้อนี้ มีความสอดคล้องกับผลการวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยสามารถสรุป กรอบแนวคิดกลยุทธ์ในการพัฒนาการดำเนินงานของศิลปินอิสระ กรณีศึกษาเรนิษรา ได้เป็นกลยุทธ์ “MPACS”
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5292
Appears in Collections:Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651020011.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.