Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/53
Title: การพัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัย
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF ASEAN STORY MULTIMEDIA BY PARENTAL PARTICIPATION METHODS TO ENHANCE COMMUNICATION SKILLS OF EARLY CHILDHOOD STUDENTS
Authors: สุริยาวงษ์, ณัฐิกา
SURIYAWONG, NUTTIKA
Keywords: สื่อประสม
นิทานอาเซียน
การจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม
ทักษะการสื่อสาร
ASEAN STORY
MULTIMEDIA
PARENTAL PARTICIPATION METHODS
COMMUNICATION SKILLS
Issue Date: 1-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของการพัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม 2. พัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 85/85 3. ทดลองใช้สื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม 4. ประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม จากการศึกษาวิเคราะห์ ดังนี้ 4.1) พัฒนาความรู้เรื่องอาเซียนของเด็กปฐมวัยให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 4.2) พัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 4.3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ 4.4) ประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการใช้สื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 11 คน โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 2. ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 11 คน โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดประสบการณ์ 2. สื่อประสมนิทานอาเซียน 3. แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องอาเซียน 4. แบบประเมินทักษะการสื่อสาร 5. แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ 6. แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการใช้สื่อประสมนิทานอาเซียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t-test แบบ One sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของการพัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมมีประเด็นดังนี้ สื่อประสมนิทานอาเซียนประกอบด้วย 1) วิดีโอนิทานอาเซียน 2) สมุดภาพนิทานอาเซียน 3) หุ่นมืออาเซียน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมี 4 วิธี คือ 1) ร่วมคิดและตัดสินใจ 2) ร่วมจัดประสบการณ์ 3) ร่วมประเมินผล 4) ร่วมรับผลประโยชน์ ทักษะการสื่อสารมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านการอธิบายคำศัพท์ 2) ด้านการสร้างประโยค 3) ด้านการสนทนาโต้ตอบ 2. แผนการจัดประสบการณ์และสื่อประสมนิทานอาเซียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.64/93.79 3. การทดลองใช้แผนการจัดประสบการณ์และสื่อประสมนิทานอาเซียน จำนวน 25 แผน ในหน่วยหนูน้อยอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศ ครอบคลุมความรู้หลัก 4 เรื่อง คือ สถานที่สำคัญ ชุดประจำชาติ คำทักทาย ธงชาติ โดยผู้ปกครองร่วมจัดประสบการณ์ที่โรงเรียนและที่บ้าน 4. ผลการประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมดังนี้ 4.1) ผลการทดสอบความรู้เรื่องอาเซียน พบว่า ความรู้เรื่องอาเซียนของเด็กปฐมวัยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) ผลการประเมินทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าเด็กปฐมวัยมีทักษะการสื่อสารสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป อยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือด้านการสร้างประโยค ด้านการสนทนาโต้ตอบ และด้านการอธิบายคำศัพท์ 4.3) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในทุกด้านได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ด้านทักษะการสื่อสารที่เกิดกับเด็กปฐมวัย ด้านบรรยากาศการจัดประสบการณ์ 4.4) ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการใช้สื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยภาพรวมมีความพึงพอใจทุกด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สื่อประสม ด้านบรรยากาศการจัดประสบการณ์ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ The purpose of this research were to: 1. Study the fundamental data and need assessment for development of the ASEAN story multimedia by parental participation methods. 2. Develop the ASEAN story multimedia by parental participation methods to enhance the communication skills of early childhood to reach the efficiency and effectiveness at 85/85. 3. Experiment the ASEAN story multimedia by parental participation methods. 4. Evaluate the effectiveness of the ASEAN story multimedia by parental participation methods including: 4.1) ASEAN knowledge gain of early childhood is above 80 percent. 4.2) Communication skills of early childhood is above 80 percent. 4.3) Parent satisfaction toward the participation methods. 4.4) Early childhood satisfaction toward the ASEAN story multimedia by parental participation methods. The samples used in this study were 11 children of kindergarten 2, studying in the second semester of the academic year 2015, in Wat Sa Si Liam school under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, and 11 parents of children of kindergarten 2, studying in the second semester of the academic year 2015, in Wat Sa Si Liam school under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1. Research instruments comprised: 1. Lesson plans 2. ASEAN story multimedia 3. ASEAN knowledge tests 4. Communication skills assessment forms 5. Parent satisfaction forms toward the participation methods 6. Early childhood satisfaction forms toward the ASEAN story multimedia. The data were analyzed by percentage (%), mean (X ̅), standard deviation (S.D.), t-test one sample and content analysis. The research findings were as follows: 1. The study of the fundamental data and need assessment for development of the ASEAN story multimedia by parental participation methods, using the following: 1) videos about ASEAN story 2) ASEAN story infographics 3) hand puppets. Parents took part in 1) decision-making 2) experience management 3) assessment 4) benefit involvement. Communication skills were 1) words description 2) sentences building 3) conversation. 2. Lesson plans and multimedia were efficient; (E1/E2) at 86.64/93.79. 3. Trying out 25 lesson plans and multimedia of the “Nhu Noi ASEAN” unit in 4 topics including: an important place, national costume, greeting, and national flags were carried out both at school and home. 4. The effectiveness of the ASEAN story multimedia by parental participation methods were as follows: 4.1) ASEAN knowledge gain of early childhood was above 80 percent at .05 level of significance 4.2) Communication skills of early childhood was above 80 percent at .05 level of significance. Which was at high level. When considering of each aspect, found that the communication skills of early childhood was over 80 percent of the set standard. They were very good at sentence building, conversation and words description respectively 4.3) Parent satisfaction toward the participation methods was at high level of all sides which were parent participation, communication skills and experience management. 4.4) Early childhood satisfaction toward the ASEAN story multimedia by parental participation methods was at a good level of all sides. In overall, it was satisfactory in aspects of using multimedia, experience management and benefit involvement.
Description: 56253307 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- ณัฐิกา สุริยาวงษ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/53
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56253307 ณัฐิกา สุริยาวงษ์ .pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.